April 04, 2019 07:59
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
เบื้องต้นแนะนำให้กลับไปหาคุณหมอแล้วลองพูดคุยถึงเรื่อง side effect ของยาที่เกิดขึ้นที่ทำให้ นน. เพิ่มขึ้นนะครับ เพราะยาต้านซึมเศร้านั่นมีด้วยกันหลากหลายตัว การพูดคุยกับคุณหมอเพื่อร่วมกันเปลี่ยนยา น่าจะเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ซึ่งน่าจะดีกว่าการที่ต้องหยุดการใช้ยาแล้วทำให้เรามีอาการต่างๆกลับมานะครับ
นอกจากนั้นอาจจะต้องมาดูว่าอาหารคลีนหรือวิธีการในการออกกำลังกายของเราถูกวิธีหรือเปล่าด้วยนะครับ ในระยะเวลา 1 ปี ที่ขึ้นมา 10 กิโลกรัม การที่จะค่อยๆลดน้ำหนักลงก็จะต้องใช้เวลา และความสม่ำเสมอเช่นกันนะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ทานอาหารคลีนอย่างละ1มื้อ เน้นโปรตีน ลดคารโบไฮเดรตและไขมันเป็นหลักค่ะ ตอนเยน เล่นฟิตเนส วิ่ง แพลงค์ สควอต วันละ 1 ชม น้ำหนักลดมากค่ะ เพราะช่วงที่ลดนี้ คือช่วงที่ไม่ได้ทานยาหมอแล้ว จะลองกลับไปหาคุณหมอเรื่องเปลี่ยนตัวยาที่มีผลต่อน้ำหนัก และนักษาอาการของโรคควบคู่กันไปด้วยค่ะ แต่เกรงว่ามันใช้สิทธิ์รักษาประกันสังคม คุณหมออาจจะไม่มีตัวยาอื่นเปลี่ยนให้ เพราะนอกบัญชียาหลักหรือไม่คะ
คุณหมอพอจะมียาตัวไหนที่ใช้รักษาได้ โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงต่อน้ำหนักตัวไหมคะ
เพราะตอนนี้ ทาน ซาแนค,hadol,tryptanal,artane,sertarline ซึ่งยาแทบทุกตัวมีผลต่อน่ำหนักตัวหมดเลยยกเว้นซาแนค ตอนนี้สิ่งที่เครียดและมีปัญหาต่อจิตใจและสมองหนูมากที่สุดคือเรื่องน้ำหนักตัว ออกกำลังกายจนเปนลม ทานอาหารคลีนแทบทุกมื้อ งดแป้ง งดทอด งดของหวานทงดน้ำมัน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
ในส่วนของยา ตรงนี้ผมอาจจะไม่ได้มีข้อมูลเพิ่มเติมเนื่องจากไม่ใช่จิตแพทย์นะครับ แต่ว่าอย่างไรก็๖ามการพยายามลดน้ำหนักอย่างหักโหมตรงนี้นอกจากอาจจะไม่ช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนักแล้วอาจจะทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลงได้ ในเรื่องยา ตรงนี้อาจจะต้องลองปรึกษาคุณหมอดูนะครับ เพราะแม้ว่ายาบางตัวถึงแม้ว่าจะเป็นยานอกบัญชีแต่ก็อาจจะมีราคาที่ไม่ได้สูงมากนักอาจจะต้องลองคุยกับคุณหมอในเรื่องนี้ดูเลยได้
นอกจากนั้นในเรื่องของการลดน้ำหัก การงดของทอดหรือของหวานมัก มากๆ ก็เป็นเรื่องที่ดีนะครับแต่ไม่ควรที่จะงดแป้ง หรือออกกำลังกายอย่างหักโหมครับ การเข้าฟิตเนสติดต่อกันประมาณ 1 ชม. ก็ถือว่าเหมาะสมแล้วครับ หลังจากนั้นจึงจะลองหาวิธี หรือโปรแกรมที่เหมาะสมกับเราในการออกกลังกายในแต่ละครั้ง ด้านล่างนี้เป็นบทความที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายและการงดแป้งที่น่าจะทำให้คุณได้เข้าใจถึงหลักการในการทานอาการคลีนหรือลดน้ำหนักมากขึ้นนะครับ
https://www.honestdocs.co/dough-weight-loss
https://www.honestdocs.co/10-fitness-myths-and-half-truths
https://www.honestdocs.co/run-to-lose-weight
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
คุณหมอคะตอนนี้รักษาโรคซึมเศร้าอยู่ที่ รพ.รัฐแห่งหนึ่งได้ยามา 5 ตัว xanax,sertarlIne,tryptano,artane,hadol รักษามาจะ1ปี น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10 กว่ากก.หนูเครียดและกังวลมากกว่าเดิม ทั้งที่ ออกกำลังกายวันวันละ 2 ขม. ควบคุมอาหาร แบะทานอาคารคลีน ก็แทบไม่ช่วยให้นน.ลดลงเลย พอจะมียาตัวไหนรักษาโรคนี้โดยที่ไม่มีผลข้างเคียงเรื่องนน.ตัวไหมคะ หนูไม่กล้ากินยารักษามา 3 เดือนแล้วเพราะกลัวจะหนักกว่าเดิม แล้วเครียดกังวลเศร้ามากกว่าเดิม เวลานอน จะนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย กังวล ระแวงกลัวคนคิดทำไม่ดีกับเราตลอดเวลา ชัวินไม่เคยสบายใจหรือมีควาทสุขเลย ตื่นมากลางดึกทุกคืน ต้องลุกขึ้นมากรี้ดระบายความเครียดเพราะอยากนอนหลับ ปัจจุบันกินยานอนหลับ0.5 3 เมด แก้แพ้เมดเหลือง 3 เมด พาราอีก3 เมด ถึงจะหายปวดหัวเราพจะปวดแต่ตอนกลางคืนเหมือนหัวแทบระเบิด เป็นแบบนี้มา2 เดือนแล้ว ไปออกกำลังกายใจก้สั่งหน้ามืด หายใจไม่ทัน เหนื่อยจะเปนลมทุกครั้งเลยค่ะ คุณหมอพอมียาตัวไหนที่หนูสามารถกินรักษาโรคซึมเศร้าต่อไป โดยไม่มีผลค้างเคียงต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นไหมคะ ถ้าตัวยาทุกตัวมีผล หนูก้จะไม่รักษาโรคนี้ค่ะ เพราะหนุซีเรียสเรื่องน้ำหนักตัวมากกว่า
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)