อาการกระสับกระส่าย คือความรู้สึกอยู่ไม่สุขหรือรำคาญที่เกิดขึ้นได้ทั้งแบบที่มีเหตุยั่วยุหรือไม่มีสาเหตุใดๆ อาการนี้สามารถเป็นสัญญาณของภาวะทางการแพทย์หรือภาวะทางจิตวิทยาก็ได้
ความรู้สึกอยู่ไม่สุข เป็นอารมณ์ปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้เป็นครั้งเป็นคราว บางครั้งอาจเกิดจากความเครียด บางครั้งก็อาจเกิดจากความวิตกกังวล แต่หากมีอาการกระสับกระส่ายหรือไม่เป็นสุขขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาต้นตอและรับการรักษาตามความจำเป็นจะดีที่สุด
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สาเหตุของอาการกระสับกระส่าย
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย ได้แก่
- ความเครียดจากที่ทำงาน หรือโรงเรียน
- การเจ็บไข้ได้ป่วย
- ความเหนื่อยล้า
- การถูกกดดันจากคนรอบข้าง
- ความโศกเศร้า
บางครั้งอาจพบอาการกระสับกระส่ายที่เกิดจากภาวะทางการแพทย์ดังต่อไปนี้
- ภาวะผิดปกติด้านวิตกกังวลหรือผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้า (Depression) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
- ภาวะที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism)
- ภาวะติดสุราหรืออาการถอนแอลกอฮอล์
- ออทิสซึม (Autism)
การรักษาอาการกระสับกระส่าย
แผนการรักษาที่แพทย์จะใช้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการกระสับกระส่าย เช่น
- ความเครียด แพทย์จะแนะนำให้ลองใช้เทคนิคเพื่อการผ่อนคลาย ซึ่งอาจมีทั้งการหายใจลึกๆ การทำโยคะ หรือการทำสมาธิ
- การป่วยทางจิต หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะวิตกกังวลหรือภาวะผิดปกติทางอารมณ์ แพทย์อาจแนะนำให้รักษาโดยการใช้ยา เข้ารับการบำบัดพูดคุย หรือใช้ทั้งสองวิธีพร้อมกัน
- ฮอร์โมนไม่สมดุล หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะที่ส่งผลให้ฮอร์โมนไม่สมดุล แพทย์อาจจัดให้มีการบำบัดชดเชยฮอร์โมนหรือใช้ยารักษา
- เนื้องอกในสมอง แผนการรักษาจะขึ้นอยู่กับขนาด ชนิด และตำแหน่งของเนื้องอก ในบางกรณีแพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการบำบัดเคมีเพื่อลดขนาดเนื้องอกลง และหากเป็นเนื้องอกที่สามารถผ่าตัดออกได้ แพทย์อาจส่งตัวไปพบศัลยแพทย์เพื่อดำเนินการผ่าตัดรักษาทันที
อาการกระสับกระส่าย เหงื่อซึม ผิวหนังเย็นและชื้น เกิดได้อย่างไร