November 15, 2019 14:20
ตอบโดย
จินตนา แสงโพธิ์ (เภสัชกร)
1. โอกาสตั้งครรภ์
สำหรับการมีเพศสัมพันธ์ที่ป้องกันด้วยถุงยาง ถ้าใช้ถุงยางถูกต้อง และตรวจสอบแล้วว่าไม่มีปัญหารั่วซึมหรือฉีกขาด จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียงแค่ 2% ซึ่งถือว่าน้อยมากจนไม่น่าจะกังวลนะคะ
ส่วนการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย แต่ใช้เฉพาะการหลั่งนอกในการป้องกัน โดยทั่วไปถือว่ามีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 22% ค่ะ ซึ่งแม้ว่าจะเสี่ยงน้อยกว่าการหลั่งใน แต่ก็เสี่ยงสูงกว่าการใช้ถุงยางหรือวิธีคุมกำเนิดมาตรฐานหลายเท่านะคะ
ดังนั้น หกกไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีใด ๆ อยู่ และยังไม่พร้อมจะมีบุตร ต่อไปจึงควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ซึ่งถ้าใช้ถุงยางถูกต้องและไม่รั่วซึมหรือฉีกขาด จะหลั่งนอกช่องคลอด (โดยหลั่งในถุงยาง) หรือจะหลั่งในช่องคลอด (โดยหลั่งในถุงยาง) ก็ไม่แตกต่างกัน เพราะมีผลป้องกันจากถุงยางที่ใช้อยู่นั่นเองค่ะ
2. การอ่านผลตรวจตั้งครรภ์ทางปัสสาวะ
ถ้าผู้ถามใช้ชุดทดสอบถูกวิธีตามที่ระบุไว้ในฉลาก และตรวจในเวลาที่เหมาะสม นั่นคือ ตรวจในตอนเช้าหลังตื่นนอน ปัสสาวะแรกของวัน ห่างจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งล่าสุดอย่างน้อย 14 วัน เมื่อได้ผลตรวจออกมาเป็น 1 ขีด ก็เชื่อมั่นได้มากกว่า 99% (หรือตามที่ชุดทดสอบที่ใช้ให้การรับรอง) ว่าไม่มีการตั้งครรภ์ค่ะ
แต่ถ้าใช้ชุดทดสอบไม่ถูกวิธี หรือเวลาที่ตรวจไม่เหมาะสม แนะนำให้ตรวจใหม่ให้ถูกต้องนะคะ
..
..
..
และถ้าไม่มีประจำเดือนมาติดต่อกันตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปทั้งที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ หรือถ้าผู้ถามมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติอยู่เรื่อย ๆ ควรไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมหาสาเหตุที่แท้จริง และพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สอบถามคะ ปจด ขาดมา. 18 วัน นับเริ่มตั้งเเต่วันที่ ครบรอบ ปจด ทีจะต้องมาคะ มีเพศสัมพันธ์แบบ ไม่ได้กินยาคุม ใส่ถุงยางบางครั้งแต่หลั่งนอกทุกครั้ง ตรวจทุกๆ 6 วัน ขึ้น 1 ขีดทั้ง 3 ครั้ง แบบนี้ จะมีโอกาสตั้งครรภ์สูงไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)