January 23, 2017 21:54
ตอบโดย
ชมชนัท ทับเจริญ (พญ.)
"ในความคิดและความเข้าใจของคุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คน คือ ตอนท้องต้องกินนมเยอะ ๆ กระดูกจะได้แข็งแรง ลูกจะได้ตัวสูง ผิวจะขาว คุณแม่หลายคนมักมีความเชื่อแบบนี้ เมื่อตั้งท้องจึงเน้นกินนมต่าง ๆ มากเกินไปซึ่งในความเป็นจริงการที่คุณแม่ได้รับโปรตีนมากเกินไปขณะที่ตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ ลูกแพ้นมวัวตั้งแต่แรกเกิด เพราะการได้รับโปรตีนมากเกินไปร่างกายลูกก็จะต่อต้านหรือเกิด การแพ้โปรตีนในนมวัว พวกนี้นั่นเองค่ะ
นมต่าง ๆ ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนมากชอบดื่ม คือ นมวัว น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง หรืออาหารเสริมพวกโปรตีนชงพร้อมดื่ม อาหารเหล่านี้ให้ประโยชน์กับคุณแม่ตั้งครรภ์ก็จริงค่ะ แต่ควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ อย่างเช่น ถ้าต้องการดื่มนมวัวก็ควรดื่มไม่เกิน 2-3 แก้วต่อวัน เพื่อไม่ให้ร่างกายรับโปรตีนมากเกินความจำเป็น
สาเหตุหลักที่ทำให้ ลูกแพ้นมวัว ได้แก่
1.เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของลูกผิดปกติ ทำให้มีการแพ้นมวัวหรือพวกโปรตีนต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าเด็กคนอื่น
2.ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ดื่มนมมากเกินไป จึงทำให้ลูกแพ้นมวัว
3.พันธุกรรม คุณพ่อคุณแม่ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือ มีประวัติแพ้นมวัว ลูกก็อาจจะแพ้นมวัวไปด้วย
4.ไม่ให้ลูกกินนมแม่ หรือ หย่านมแม่เร็วเกินไป หากลูกไม่เคยกินนมแม่เลยหรือการที่เปลี่ยนมาให้ลูกกินนมวัวเร็วเกินไป ลูกน้อยก็จะไม่มีภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ
5.หลังคลอดคุณแม่บำรุงร่างกายตัวเองด้วยการดื่มนมมากเกินไปทำให้ลูกได้รับโปรตีนมากเกินไปจากดูดนมแม่ จึงทำให้ลูกแพ้นมวัวได้
คุณแม่ทุกคนเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ก็ต้องการบำรุงครรภ์ให้ดีและสมบูรณ์ที่สุด และสิ่งสำคัญของการบำรุงครรภ์คือการกินอาการที่ดีมีประโยชน์ แต่คุณแม่ไม่ควรเน้นทานอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไป อะไรที่มากเกินไปมักส่งผลเสียมากกว่าผลดีนะคะ คุณแม่ควรรับประทานอย่างพอดี หรือ เน้นอาหารแต่ละมื้อให้ครบ 5 หมู่ "
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
รัฐวิชญ์ สุนทร (นพ.)
ปกติหญิงตั้งครรภ์ต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และถูกสัดส่วน โดยหนึ่งในนั้นคือแคลเซียมโดยหญิงตั้งครรภ์มีความต้องการแคลเซียมวันละ 1100-1200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแหล่งอาหารแคลเซียมคือ นมจากสัตว์(300มิลลิกรัม/แก้ว) โยเกิร์ต(200 มิลลิกรัม/ช้อนโต๊ะ) ปลาตัวเล็กที่ทานทั้งตัว(300 มิลลิกรัม./ช้อนโต๊ะ) กุ้งแห้ง (300 มิลลิกรัม./ช้อนโต๊ะ) กะปิ(250 มิลลิกรัม/ช้อนโต๊ะ) งา (200 มิลลิกรัม./แก้ว) น้ำเต้าหู้(100 มิลลิกรัม./แก้ว) แต่มีหลักฐานงานวิจัยพบกว่าการรับประทานนมจากสั้ตว์เช่นนมวัวในปริมาณที่มากจนเกินไปจะส่งผลให้ทารกหลังคลอดแพ้นมวัวได้ ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้หลากหลาย และทานนมจากสัตว์ไม่ควรเกิน 2 แก้วต่อวันโดยประมาณ ที่เหลือสามารถรับประทานอาหารอื่นๆที่มีแคลเซียมได้ หรือยาแคลเซียมที่สูติแพทย์ให้รับประทานครับ ส่วนน้ำนมถั่วเหลือง หรือน้ำเต้าหู้ ไม่ได้มีหลักฐานว่าก่อให้เกิดการแพ้ครับ แต่อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารทุกอย่างควรรับประทานให้ถูกสัดส่วน ไม่โหมรับประทานอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไป
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
กี่สัปดาห์ถึงจะได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้นค่ะได้6สัปดาห์ไปตรวจไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกเลยค่ะ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ไม่สนับสนุนให้ใครทำแต่ถ้ามีความจำเป็นจริงๆเราสามารถแนะนำได้ค่ะไอดีไลน์pimjai2538
พร้อมส่ง พร้อมช่วยเหลือ คนที่ไม่พร้อมจริงๆ
-ยาได้มารตราฐาน ปลอดภัย
-มีการควบคุมดูแลขณะใข้
-อยู่เคียงข้างตลอดการทำ
-ใช้เวลาทำ 2 วันรู้ผล
มีข้อสงสัย ทักสอบถามที่
Line ; thaiabortion
หรือศึกษารายละเอียดได้ที่เว็ปไซด์
www.cytotank.org
***ของจริงต้องมีหน้าเว็ปเชื่อถือได้***
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
กำลังตั้งครรภ์อยู่คะ จำเป็นไหมที่จะต้องกินทั้งนมวัวและนมถั่วเหลือง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกในครรภ์แพ้ถ้่วเหลือหรือแพ้นมวัวคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)