กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การตั้งครรภ์หลังการทำ LEEP ปลอดภัยหรือไม่?

ความเสี่ยงที่คุณควรต้องระวังและสิ่งที่ควรสอบถามแพทย์
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การตั้งครรภ์หลังการทำ LEEP ปลอดภัยหรือไม่?

LEEP (ลีป) ย่อมาจาก Loop Electrosurgical Excision Procedure คือการตัดปากมดลูดด้วยห่วงไฟฟ้า ซึ่งเป็นหัตถการที่ทำเพื่อรักษาการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติบริเวณปากมดลูก โดยจะใช้ขดลวดไฟฟ้าเข้าไปตัดเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกออกภายใต้ยาชาเฉพาะที่ และมักเป็นหัตถการที่สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล

การตั้งครรภ์หลังจากการทำ LEEP ปลอดภัยหรือไม่?

ผู้หญิงที่กำลังจะเข้าสู่การทำ LEEP อาจรู้สึกกังวลว่าการทำหัตถการนี้จะส่งผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคตหรือไม่ สิ่งแรกที่ผู้หญิงทุกคนพบเมื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ LEEP คือ ภาวะมีบุตรยาก การแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนดได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว LEEP ส่งผลต่อการตั้งครรภ์และทำให้เกิดการแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนดจริงหรือ?

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ความเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นหลังการทำ LEEP

  • ภาวะปากมดลูกหลวม (Cervical Incompetence) คือ ภาวะที่ปากมดลูกไม่ปิดสนิทรระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจนำไปสู่การแท้งบุตรหรือการคลอดก่อนกำหนด อาจพิจารณาทำ Cervical Cerclage เพื่อให้ปากมดลูกปิดตลอดการตั้งครรภ์ โดยการทำ Cervical Cerclage หมายถึง การเย็บปากมดลูกให้ปิดระหว่างการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามมีผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลังจากการทำ LEEP ไม่มากที่จำเป็นต้องทำ Cerclage ระหว่างตั้งครรภ์
  • ปากมดลูกตีบ (Cervical Stenosis) หมายถึง การตีบแคบของปากมดลูก ซึ่งทำให้ปากมดลูกเปิดได้ยากขึ้นขณะเข้าสู่กระบวนการคลอด
  • เป็นหมัน (Infertility) LEEP อาจทำให้ผู้หญิงเป็นหมันได้แม้ว่าจะพบได้ในจำนวนที่น้อยมาก อย่างไรก็ตามมีงานวิจัยเกี่ยวกับการทำ LEEP กับการเป็นหมันยังมีปริมาณจำกัด ผลกระทบของ LEEP ที่มีต่อการตั้งครรภ์นั้นขึ้นกับปริมาณเนื้อเยื่อของปากมดลูกที่ถูกตัดออกไป ไม่เฉพาะจากการทำ LEEP แต่ยังรวมถึงการผ่าตัดบริเวณปากมดลูกอื่นๆ ที่เคยทำด้วยเช่นกัน ผู้ป่วยที่เคยทำ LEEP มาก่อนจะมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดประมาณ 10% แต่ผู้ป่วยหลายคนก็สามารถตั้งครรภ์และคลอดตามกำหนดได้ตามปกติ

คำถามอะไรบ้างที่ควรถามแพทย์?

หากคุณวางแผนจะตั้งครรภ์ต่อในอนาคต คุณควรถามคำถามเกี่ยวกับการทำ LEEP กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ดังต่อไปนี้

  • การทำ LEEP จะส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์อย่างไร
  • วิธีการรักษาอื่นนอกจาก LEEP หรือไม่
  • ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่กว่าที่ปากมดลูกจะฟื้นตัวกลับมา
  • จะสามารถเริ่มมีเพศสัมพันธ์ได้เมื่อไหร่
  • สามารถเริ่มพยายามตั้งครรภ์ได้เมื่อไหร่หลังจากการทำ LEEP

ระหว่างการตั้งครรภ์

คุณจำเป็นต้องแจ้งแพทย์ว่าเคยทำ LEEP มาก่อนตั้งแต่การฝากครรภ์ครั้งแรก รวมถึงรายละเอียดของการทำและผลชิ้นเนื้อจากการทำ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจได้ว่าจะดูแลการตั้งครรภ์นี้อย่างไรให้ดีที่สุด


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Yamini Ranchod, Ph.D., M.S. , LEEP procedure: What to expect (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323972.php), December 12, 2018
Debra Rose Wilson, What to Expect from a LEEP Procedure (https://www.healthline.com/health/womens-health/leep-procedure) 22 January 2019
my.clevelandclinic, Loop Electrosurgical Excision Procedure (LEEP) (https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/4711-loop-electrosurgical-excision-procedure-leep)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)