กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การรับประทานยาลามิกทอลกับการตั้งครรภ์

แหล่งข้อมูลยารักษาโรคคอารมณ์สองขั้ว
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การรับประทานยาลามิกทอลกับการตั้งครรภ์

การรับประทานยาลามิกทอล (Lamictal) ระหว่างตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่? แล้วการใช้ยานี้หรือยาทั่วไปที่ชื่อ ลาโมไตรจีน (Lamotrigine) ปลอดภัยระหว่างการให้นมบุตรหรือไม่? ยาลามิกทอลทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิดของทารกจริงหรือ? ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังมีข้อมูลที่สามารถนำมาตอบคำถามเหล่านี้ได้ไม่เพียงพอ แต่นักวิจัยก็ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติออกมา

การรับประทานยาลามิกทอลขณะตั้งครรภ์

จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานว่าการรับประทานยาลามิกทอลขณะตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดของทารก มีข้อมูลบางส่วนที่แสดงว่าอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ แต่ข้อมูลอื่นๆ ไม่ได้มีข้อมูลในเรื่องนี้ องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้กล่าวว่าควรใช้ยาลาโมไตรจีนขณะตั้งครรภ์หากได้รับประโยชน์จากยา ซึ่งก็คือสุขภาพจิตของมารดามากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับทารก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ. 2009 ของนายแพทย์ Ruta M. Nonacs ได้ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงหลายคนที่เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) อาจต้องการยาเพื่อควบคุมอารมณ์ระหว่างตั้งครรภ์ ยาตัวอื่นที่อาจใช้แทนยาลามิกทอล นั้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่าเดิม เช่นยา Depakote สามารถทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิดได้สูงถึง 10% และอาจเป็นความผิดปกติที่รุนแรงได้; ยา Topamax อาจทำให้เกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่ได้; ยา Tegretol (Carbamazepine) ยา Trileptal (oxcarbazepine) และ ยา lithium ก็เป็นยาที่จัดว่าน่าจะส่งผลเสียต่อทารกมากกว่ายาลามิกทอล

ยาที่ช่วยควบคุมอารมณ์ (Mood Stabilizers) ที่มีความเสี่ยงต่อหญิงตั้งครรภ์เท่ากับยาลามิกทอล ประกอบด้วย

ยาลามิกทอลและยาอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงในระดับเท่ากันนั้นถูกจัดอยู่ใน Catageory C ขององค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งหมายถึงมีการพบผลข้างเคียงต่อตัวอ่อนจากงานวิจัยในสัตว์ทดลอง ยังไม่มีหลักฐานและงานวิจัยที่มากพอที่ทำการศึกษาในมนุษย์จึงควรใช้ยากลุ่มนี้อย่างระมัดระวังในผู้หญิงตั้งครรภ์ แม้จะได้รับประโยชน์จากยากลุ่มนี้ก็ตาม ยาลามิกทอลนั้นมีการศึกษาในสัตว์ทดลองที่พบว่าไม่ได้ทำอันตรายต่อตัวอ่อนในสัตว์ทดลองมากนัก แต่ก็ยังต้องใช้ยาอย่างระมัดระวังตามการจัดกลุ่มยาที่อยู่ใน Category C

การใช้ยาลามิกทอลขณะให้นมบุตร

ยาลามิกทอลสามารถผ่านเข้าสู่น้ำนมนได้ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้จ่ายยาลามิกทอลหรือยาลาโมไตรจีนไม่ว่าในรูปแบบใดให้แก่หญิงที่กำลังให้นมบุตร อย่างไรก็ตามพบว่า ปัญหาที่เกิดในทารกที่ได้รับนมการมารดาที่กำลังรับประทานยาลามิกทอลนั้นพบได้น้อย หากคุณเลือกที่จะให้นมบุตรระหว่างที่ใช้ยาลามิกทอล จำเป็นจะต้องมีการดูผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในทารกอย่างใกล้ชิด เช่น มีการหยุดกินนม มีผื่น ดูดนมน้อย หรือซึมลง ควรหยุดให้นมทารกหากพบว่ามีผื่นขึ้นจนกว่าจะสามารถหาสาเหตุได้ เนื่องจากว่ายาลามิกทอลมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดผื่นชนิดรุนแรงได้ ดังนั้นหากทารกมีผื่นควรพาไปพบแพทย์ทันที


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Marcia Purse , How to Take Lamictal If You Have Bipolar Disorder (https://www.verywellmind.com/manufacturers-recommended-lamictal-dosages-380254), August 08, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)