กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ทันทีหลังเพิ่งแท้งบุตร

นักวิจัยกล่าวว่าไม่เป็นไร แต่เรามาทำความเข้าใจกันว่าทำไมแพทย์ถึงแนะนำให้รอ
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ทันทีหลังเพิ่งแท้งบุตร

คำถาม: แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้หญิงที่เพิ่งแท้งบุตรรอหนึ่งถึงสามเดือนก่อนที่จะตั้งครรภ์อีกครั้ง แล้วการตั้งครรภ์เร็วเกินไปจะทำให้ความเสี่ยงการแท้งบุตรเพิ่มขึ้นหรือไม่?

คำตอบ: ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันว่าการตั้งครรภ์หลังการแท้งบุตรไม่นานจะเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตรในครั้งต่อไป แต่แพทย์ก็มักจะแนะนำให้รอเป็นเวลาหนึ่งถึงสามเดือนก่อนจะตั้งครรภ์อีกรอบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เรามาทำความเข้าใจกับผลการศึกษาเรื่องนี้กัน

ทำไมคุณอาจไม่ต้องรอ

เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2002 ได้มีการศึกษาสตรีมีครรภ์ 64 คนที่ตั้งครรภ์ จากนั้นได้ไม่นานหลังจากมีการแท้งบุตร และไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ถึงภาวะแทรกซ้อน ของการตั้งครรภ์ในสตรีที่ตั้งท้องทันที และสตรีที่รอสองเดือนหลังการแท้งบุตร นอกจากนี้แล้ว เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2003 ได้มีการศึกษาที่พบว่าสตรีที่เพิ่งแท้งบุตรได้ไม่นานอาจจะมีภาวะ เจริญพันธุ์เพิ่มขึ้น

ทำไมคุณอาจจะต้องรอ

เมื่อปี 2005  มีการศึกษาที่พบว่า เมื่อมีการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป สตรีที่เคยแท้งบุตรจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากผลกระทบจากข้อบกพร่องของท่อประสาท (neural tube defects) หรือข้อบกพร่องหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart defects) นักวิจัย แนะนำให้เว้นช่วงเวลาซักพักหนึ่งหลังการแท้งบุตร และบำรุงร่างกายด้วยกรดโฟลิค (folic acid) อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้อาจจะไม่มีผลกับสตรีที่ได้รับสารอาหารที่มีกรดโฟลิค (folic acid) เพียงพออยู่แล้วก่อนที่จะแท้งบุตร​ (มักจะให้เป็นวิตามินกินทุกวัน)
อย่างไรก็ตาม หากสตรีผู้นั้นแท้งบุตรเนื่องจากมีการเจ็บป่วย เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome) ปัญหาต่อมไทรอยด์ (thyroid problem) โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ (uncontrolled diabetes) ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน (immunological disorder) ความผิดปกติของมดลูก (uterine abnormality) ภาวะปากมดลูกหลวม (incompetent cervix) หรือว่า มีปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เช่น การสูบบุหรี่ การใช้ยาเสพติด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการบริโภคคาเฟอีนจำนวนมาก หากมีการตั้งครรภ์ทันทีโดยไม่รักษาโรคให้หาย หรือการติดยาเสพติด อาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตรอีกครั้ง
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่จะต้องพิจารณา อย่างแรกคือรอให้รอบประจำเดือนของคุณกลับเป็นปกติก่อน ซึ่งอาจจะให้ว่าเลาหนึ่งถึงสองเดือน นอกจากนี้คุณยังต้องรอให้เยื่อบุมดลูก (uterine lining) ของคุณรักษาตัวเองให้พร้อมก่อนที่จะรับตัวอ่อนที่ปฏิสนธิอีกครั้ง (fertilized  embryo)

คุณควรจะรอจนกว่าระดับฮอร์โมน HCG (human chorionic gonadotropin) ลดเหลือศูนย์ หรืออยู่ในระดับที่ตรวจไม่พบถึงจะมีการตั้งครรภ์อีกครั้ง ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้ จะถูกผลิตขึ้นมาเมื่อมีการตั้งครรภ์และสามารถวัดระดับได้ จากการตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะ หากคุณไม่รอจนกว่าฮอร์โมนตัวนี้ลดลง การตรวจการตั้งครรภ์อาจเจอผลบวกลวง (false positive) ซึ่งหมายความว่าคุณไม่ได้ตั้งครรภ์อยู่จริงๆตามที่ผลตรวจแสดง นอกจากนี้แล้ว การฮอร์โมน HCG ของคุณยังอยู่ในระดับที่ตรวจได้ และกำลังลดลง แพทย์อาจจะตีความ ตัวเลขหล่าวนี้ว่าคุณกำลังแท้งบุตรอีกครั้ง ซึ่ง ไม่เป็นความจริง
คุณอาจจะรู้สึกเศร้าและเสียใจหลังการแท้งบุตร มันเป็นเรื่องธรรมดาที่หลายๆคนรู้สึกเช่นกัน เพื่อไม่ให้คุณเครียดเกินไป คุณควรจะให้เวลาตัวเองประเมินเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ซึ่งผู้หญิงหลายคน พบว่าการปลงกับเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นไปได้ยาก หากต้องรอหลายเดือนกว่าจะตั้งครรภ์ได้อีกครั้ง

คุณควรทำอย่างไรต่อไป

ปรึกษาแพทย์ว่าควรทำยังไงต่อไป เพราะผู้หญิงแต่ละคนและการตั้งครรภ์ไม่เหมือนกัน หากคุณสามารถรอได้หนึ่งถึงสามเดือนก็ควรจะรอ แต่หากคุณอยากจะตั้งครรภ์ทันที ควรปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะหาช่วงเวลาที่ปลอดภัยที่สุด


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Getting Pregnant Again Right After Miscarriage. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/getting-pregnant-again-right-after-miscarriage-2371819)
Study: No Need to Delay Pregnancy After Miscarriage. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/news/20100805/study-no-need-delay-pregnancy-after-miscarriage#1)
Ovulation after miscarriage: When it might restart and signs. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325642)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม