April 16, 2017 21:54
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ตะคริวสามารถรักษาอาการได้ด้วยตัวเอง เช่น การประคบร้อนประคบเย็นเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดบริเวณกล้ามเนื้อที่เจ็บ หดเกร็ง หรือกล้ามเนื้อกระตุก ซึ่งสามารถใช้ผ้าร้อน แผ่นทำความร้อน ผ้าเย็นหรือน้ำแข็งประคบ นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นตะคริวสามารถรักษาได้ด้วยการบริหารร่างกาย ได้แก่
-บริหารกล้ามเนื้อขณะที่เกิดตะคริวเพื่อบรรเทาความเจ็บและหยุดตะคริว คือการยืดเส้นหรือการนวดที่กล้ามเนื้อที่เกิดตะคริว เช่น การเหยียดเท้าไปด้านหน้าและยกเท้าขึ้นแล้วดัดข้อเท้าให้นิ้วเท้าเข้ามาทางหน้าแข้ง และใช้ส้นเท้าเดินไปรอบ ๆ
- การบริหารเพื่อป้องกันการเกิดตะคริว เพื่อลดโอกาสเป็นตะคริว ควรบริหารร่างกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อวันละ 3 ครั้ง เช่น หากมักเป็นตะคริวที่น่อง ให้ยืนห่างจากกำแพง 1 เมตร เอนตัวไปข้างหน้าให้มือแตะโดนกำแพง โดยวางเท้าให้แบนราบไปกะพื้น ทำค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ทำไปเรื่อย ๆ ให้ครบ 5 นาที เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดควรทำให้ได้วันละ 3 ครั้ง
วิธีที่จะช่วยป้องกันการเกิดตะคริวได้ง่ายที่สุด คือหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายจนทำให้เกิดการตึงของกล้ามเนื้อมาก ๆ ดื่มน้ำให้มากพอในแต่ละวัน อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่อุดมไปด้วยแคลเซียม โปแตสเซียมและแมกนีเซียม
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
ตะคริวเป็นอาการที่กล้ามเนื้อมีการหดตัวอย่างรุนแรง ทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยมากเป็นตะคริวไม่เกิน 10นาที มักจะเกิดกับกล้ามเนื้อขา เป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ ส่วนใหญ่จะเกิดขณะ หรือ หลังการออกกำลังกาย บางคนเกิดขณะว่ายน้ำ หรือ บางคนเกิดขณะนอน ตะคริวเป็นการที่กล้ามเนื้อ มีการเกร็งทำให้เกิดอาการปวด มักจะเป็นชั่วครู่ก็หาย แต่บางคนก็อาจจะปวดนานหรือเป็นซ้ำๆ กล้ามเนื้อที่มักจะเกิดตะคริวได้แก่กล้ามเนื้อน่อง ต้นขา แต่อาจจะเกิดกับกล้ามเนื้ออื่นๆก็ได้ สาเหตุของการเกิดตะคริวได้แก่
1. การขาดน้ำ จากการศึกษาพบว่า การขาดน้ำจะทำให้เกิดตะคริวและเป็นรุนแรง
2. ภาวะเกลือแร่ไม่สมดุลโดยเฉพาะ sodium และ potassium ภาวะที่ทำให้เกลือแร่เสียสมดุลได้แก่ ท้องร่วง อาเจียน เสียเหงื่อ หรือรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล
3. กล้ามเนื้ออ่อนร้าหรือได้รับบาดเจ็บ เพื่อป้องกันการได้รับบาดเจ็บ
4. แร่ธาตุเสียสมดุลโดยเฉพาะเกลือแคลเซียม แมกนีเซียม อาหารที่แร่ธาตุสองตัวไม่สมดุลจะทำให้เกิดตะคริว
5.กล้ามเนื้อขาดการยืดหยุ่น กล้ามเนื้อที่ตึงจะเกิดตะคริวได้บ่อย
6. กล้ามเนื้อที่อ่อนแรงหากต้องทำงานหนักจะเกิดตะคริวได้บ่อย
7. กล้ามเนื้อขาดเลือด หากท่านออกกกำลังกายอย่างหนักโดยที่ไม่ได้ warm up จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอจะเกิดตะคริว
การป้องกันตะคริว
1. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ อาจจะดื่มน้ำธรรมดาหรือน้ำแร่ก็ได้
2.ปรับกล้ามเนื้อโดยการบริหารให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นสูงจะป้องกันตะคริว
3. รับประทานอาหารที่มีเกลือแรโปแทสเซียมสูง เช่นกล้วย ผลไม้ผัก
4. การออกกำลังกายจะทำให้กล้ามเนื้อและร่างกายแข็งแรง
5.ก่อนออกกำลังกายให้ warm up ทุกครั้ง
6. ให้ยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว กล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เวลานอนชอบเป็นตะคริวที่ขา. มีวิธีรักษาไหมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)