February 05, 2017 13:33
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
ไมเกรนเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดค่ะ แต่สามารถป้องกันไม่ให้อาการกำเริบได้ โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นการเกิดไมเกรน ได้แก่ การกินอาหารบางชนิด เช่น ชีส ไวน์แดง ช็อคโกแล็ต น้ำตาลเทียม ผงชูรส ชา และกาแฟ หรือการกระตุ้นจากกลิ่นบุหรี่ แสงจ้า เสียงดัง การนอนที่ผิดปกติ เช่นนอนดึก นอนมากเกินไป ขาดนอน จากฝุ่น ควัน จากยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด จากความเครียด เป็นต้นค่ะ และถ้ามีอาการปวดให้กินยาบรรเทา เช่น Paracetamol หรือถ้าไม่ได้ผลอาจกิน Ibuprofen Tamadol เป็นต้นค่ะ ถ้าเป็นบ่อยครั้งเป็นมากอาจต้องกิน Ergotamine Sumatriptan ป้องกัน แต่ควรกินตามคำแนะนำแพทย์ค่ะ ไม่ควรซื้อมากินเองค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
Danuchar Chaichuen (พว.)
โรคนี้มักมีอาการปวดศีรษะกำเริบเป็นครั้งคราว ทุกครั้งที่กำเริบ มักจะมีสาเหตุกระตุ้นล่วงหน้า เป็นชั่วโมงถึง 2วันเสมอ ผู้ป่วยควรสังเกตว่ามีอะไรเป็นเหตุกำเริบ หรือสิ่งกระตุ้นบ้าง (มักมีได้มากกว่า 1 อย่าง) เช่น
+ ทางตา : แสงแดด แสงจ้า แสงระยิบระยับ การใช้สายตาเคร่งเครียดหรือลายตา (เช่น จ้องจอ คอมพิวเตอร์ หรืออ่านหนังสือนาน ๆ)
+ ทางหู : เสียงดัง เสียงจอแจ
+ ทางจมูก : กลิ่นต่าง ๆ รวมทั้งกลิ่นน้ำหอม ควันบุหรี่
+ ทางลิ้น : อาหาร (เช่น เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล หมูแฮม ไส้กรอก ถั่ว กล้วยหอม ช็อกโกแลต ผงชูรส น้ำตาลเทียม-แอสพาร์เทม (aspartame) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มกาแฟมาก เป็นต้น) ยาเม็ดคุมกำเนิด ยานอนหลับ
+ ทางกาย (กายภาพ) : อากาศร้อนจัด เย็นจัด อบอ้าว หิวจัด อิ่มจัด อดนอน นอนมาก (ตื่นสาย) ร่างกายเหนื่อยล้า ประจำเดือนมา มีไข้สูง มีอาการเจ็บปวดที่ต่าง ๆ (เช่น ปวดประจำเดือน ปวดฟัน)
+ ทางใจ : เครียด กังวล คิดมาก ซึมเศร้า
---- การรักษา-----
1. รีบกินยาบรรเทาปวด (เช่น พาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด) ทันทีที่เริ่มมีอาการ อย่ารอให้ปวดนานเกิน 30 นาที จะได้ผลน้อย ผู้ป่วยจำเป็นต้องพกยาแก้ปวดติดตัว จะได้กินทันทีที่เริ่มมีอาการ
2. หาทางนอนพัก หรือนั่งพัก
3. หลีกเลี่ยงที่ที่อบอ้าว มีแสงจ้าหรือเสียงดัง หยุดการเคลื่อนไหวร่างกาย และการเดินขึ้นลงบันได
ถ้าคลื่นไส้มาก ให้กินยาแก้คลื่นไส้อาเจียน (ตามคำแนะนำของหมอ) ควบไปด้วย ในกรณีที่ใช้พาราเซตามอลไม่ได้ผล (พบได้ประมาณร้อยละ 20-30) แพทย์อาจให้ยาบรรเทาชนิดอื่น เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) ทามาดอล (tamadol) เออร์โกทามีน (ergotamine) ) เป็นต้น ซึ่งควรกินเป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาปวด
การป้องกัน
ควรสังเกตว่ามีอะไรเป็นเหตุกำเริบหรือสิ่งกระตุ้น (มักมีมากกว่า 1 อย่าง) แล้วหาทางหลีกเลี่ยงเสีย
ถ้าเป็นบ่อยหรือรุนแรงจนเสียงาน แพทย์จะให้ยากินป้องกันนาน ครั้งละ 3-6 เดือน ยาป้องกัน เช่น อะมิทริปไทลีน (amitriptyline) นอร์ทริปไทลีน (nortriptyline) โพรพราโนลอล (propranolol) อะทิโนลอล (atenolol) โทพิราเมต (topiramate) ยาเหล่านี้อาจมีข้อระวังในการใช้ จึงต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งใช้ให้เหมาะกับผู้ป่วย แต่ละรายที่อาจมีภาวะสุขภาพหรือมีการใช้ยาอื่น ๆ อยู่ก่อน ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
สมทรง นิลประยูร (นพ.)
การรักษาไมเกรน
วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับความถี่และความรุนแรงของการปวดศีรษะ รวมไปถึงข้อบ่งชี้ทางการแพทย์อื่น ๆ ซึ่งการรักษาบางชนิดอาจไม่เหมาะกับผู้ที่ตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร และเด็ก โดยแพทย์จะหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ผู้ป่วย ดังนี้
ยาบรรเทาอาการปวด หากผู้ป่วยเป็นไมเกรนที่ไม่รุนแรงหรือปานกลาง สามารถใช้แอสไพริน (Aspirin) หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และอื่น ๆ รวมไปถึงยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ก็สามารถช่วยลดอาการปวดไมเกรนได้ในบางราย แต่หากใช้ยาประเภทนี้บ่อย ๆ และเป็นเวลานาน สามารถทำให้เกิดแผลเปื่อยหรือแผลอักเสบได้ อาจเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือโรคปวดศีรษะเรื้อรังที่มีเหตุมาจากการใช้ยาแก้ปวด
ยาเออร์กอต (Ergots) เป็นยาที่ผสม 2 ตัวระหว่างยาเออร์โกตามีน Ergotamine และคาเฟอีน (Caffeine) ผลข้างเคียงจากการใช้ยานี้อาจทำให้เกิดอาหารคลื่นไส้และอาเจียน และหากใช้ติดต่อกันมากจนเกินไปอาจทำให้เป็นโรคปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดติดต่อกันนานเกินไปได้ และอาจทำให้เกิดอาการเลือดไม่ไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายได้อีกด้วย
ยากลุ่มทริปแทน (Triptans) ยาชนิดนี้นิยมใช้ในการบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไมเกรน เช่น อาการคลื่นไส้ หรือไวต่อแสงและเสียง ซึ่งยากลุ่มนี้มีทั้งแบบยาเม็ด ยาพ่น และยาฉีดครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปวดหัวไมเกรนรักษาได้อย่างไรบ้าง
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)