August 05, 2019 13:43
ตอบโดย
ปวริศ ยืนยง (นพ.)
สวัสดีครับ สำหรับสาเหตุอื่นที่ทำให้ประจำเดือนไม่มาเช่น
1.ความผิดปกติที่ธาลามัส เช่น มีการทำงานของฮอร์โมนบางอย่างทำงานผิดปกติ หรือ เนื้องอก ซึ่งธาลามัสเป็นตัวควรคุม การทำงานของฮอร์โมนต่างๆครับ ถ้าทำงานผิดปกติจะส่งผลต่อต่อมใต้สมองได้ครับ
2.ความผิดปกติที่ต่อมใต้สมอง เช่น ผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ prolactin มากไป จะทำให้มีน้ำนม เวลามีน้ำนม จะไม่มีประจำเดือน ครับ ซึ่งโรคนี้ต้องไปตรวจกับอายุรแพทย์เพื่อทำการ x ray คอมพิวเตอร์ สมองครับ
3.ความผิดปกติที่รังไข่ เช่น ถุงน้ำในรังไข่ จะมีประจำเดือนมาไม่ปกติ มาบ้างไม่มาบ้าง เพราะว่าในบ้างเดือนไข่ก็จะไม่ตก กลายเป็นถุงน้ำในรังไข่ ซึ่งพบได้บ่อยในเพศหญิงโรคนี้จะตรวจต้องไปตรวจกับ สูตินารีแพทย์ ครับ
4.ความผิดปกติที่ฮอร์โมนจากร่างกายตัวอื่นๆ เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ หรือไทรอยด์ต่ำ ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์ ต่ำไป สูงไป ก็จะทำให้ ประจำเดือนไม่มาได้ครับ เป็นต้นครับ
5.ความเครียด และ น้ำหนักตัวที่มากอาจจะทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้ครับ
เพราะฉะนั้นแนะนำให้ไปโรงพยาบาลตรวจหาโรคเพิ่มเติมดีกว่าครับ การที่ประจำเดือนไม่มามีหลายสาเหตุมากครับ
ผลเชื้อได้ 99% ครับ ถ้าตรวจหลังมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 14 วันครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
ถ้าหากได้ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องตลอดเวลาที่มีเพศสัมพันธ์ โอกาสที่จะผิดพลาดตั้งครรภ์ได้ก็มีเพียง 2% เท่านั้นครับ
ทั้งนี้หมอแนะนำให้ประเมินวิธีตรวจการตั้งครรภ์ที่ผ่านมาก่อนว่าได้ตรวจอย่างถูกต้องหรือไม่ การตรวจการตั้งครรภ์ที่จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้นั้นจะต้องตรวจห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ ก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ
ถ้าหากยังตรวจได้ไม่ถูกต้องหมอก็แนะนำให้ลองตรวจใหม่อีกครั้งเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม แต่ถ้าหากได้ตรวจการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องแล้วประจำเดือนก็อาจมาช้าได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น
- ไม่มีการตกไข่ในรอบเดือนที่ผ่านมา
- ระดับฮอร์โมนในเลือดที่ผิดปกติ
- ภาวะมีถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS)
- ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
- การออกกำลังกายอย่างหักโหม
- น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป
- ความเครียด
- ผลข้างเคียงของยาบางชนิด
ซึ่งในกรณีนี้ก็อาจรอประจำเดือนต่อไปก่อนได้ แต่ถ้าหากประจำเดือนขาดหายไปนานกว่า 3 เดือนหรือมีปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมออยู่บ่อยๆก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
ถ้าตรวจอย่างถูกวิธีแล้วได้ผลลบถือว่าความน่าเชื่อถือสูงมากๆครับ
————————
สาเหตุของการขาดประจำเดือน เป็นได้หลายสาเหตุครับ เช่น
- กำลังตั้งครรภ์อยู่
- กำลังให้นมบุตรอยู่
- ความเครียด
- การมีพังผืดในมดลูก (Asherman’s syndrome) มักจะสัมพันธ์กับประวัติเคยขูดมดลูกมาก่อน
- การมีระดับฮอร์โมนเพศชายที่สูงกว่าปกติ (Hyperandrogenism) มักสัมพันธ์กับการมีหน้ามัน สิวมาก มีขนขึ้นมากผิดปกติ เช่น โรค Polycystic ovarian syndrome
- การมีระดับฮอร์โมนเพศต่ำกว่าปกติ (Hypogonadism) เช่น รังไข่เสื่อม ไม่มีการตกไข่
- การเป็นโรคไทรอยด์
สาเหตุต่างๆที่ได้กล่าวไปเป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ซึ่งการวินิจฉัยต้องอาศัยการซักประวัติ และตรวจร่างกายเพิ่มเติมครับ ดังนั้นถ้าสงสัยหรือกังวลแนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจและให้การรักษาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อยากสอบถามคุณหมอค่ะว่าดิฉันมีเพศสัมพันธ์กับแฟนแบบสอดใส่แต่ใส่ถุงยางอนามัยและแฟนก็ไม่ถึงจุดสุดยอดและได้เอาออกมาก่อน อยากทราบว่ามีโอกาสตั้งครรภ์มากน้อยเพียงใดคะ ดิฉันประจำเดือนขาดประมาณ3อาทิตย์แล้ว ลองตรวจดูด้วยที่ตรวจก็ขึ้นขีดเดียว ผลน่าเชื่อถือได้กี่เปอร์เซ็นคะ ตอนนี้มีอาการคัดหน้าอกและรู้สึกเหมือนประจำเดือนจะมาแต่ก็ไม่มาสักทีค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)