November 13, 2019 17:23
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
หมอขอตอบไล่ไปทีละคำถามนะครับ
1. ถ้าหากมีการตั้งครรภ์อยู่ก็จะไม่มีการตกไข่เกิดขึ้นอีกครับ
2. ในช่วงที่ตั้งครรภ์รังไข่จะยังไม่ลักษณะเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงครับ
3. การตรวจการตั้งครรภ์ที่จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้นั้นไม่ได้ดูจากว่าตรวจห่างจากวันที่ขาดประจำเดือนกี่วัน แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตรวจการตั้งครรภ์คือตรวจเมื่อห่างจากการมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้ายอย่างน้อย 14 วันและใช้ปัสสาวะแรกหลังตื่นนอนตอนเช้าในการตรวจ ก็จะให้ผลตรวจที่เชื่อถือได้ 97-99% ครับ ถ้าหากที่ผ่านมาไม่ได้ตรวจการตั้งครรภ์ในช่วงเวลานี้ก็ควรตรวจใหม่อีกครั้งเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม แต่ถ้าหากได้ตรวจอย่างถูกต้องแล้วก็จะสามารถเชื่อถือผลตรวจดังกล่าวได้ครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
สุวพัชญ์ พิศาลมงคล (นพ.)
สวัสดีครับ
ในเพศหญิงมีการสร้างไข่เก็บไว้ตั้งแต่แรกเกิดแล้วครับ ไข่ที่อยู่ในรังไข่จะค่อยๆพัฒนาแล้วเกิดการตกไข่ในวัยเจริญพันธ์ุครับ ในขณะที่เพศหญิงมีการตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนเพศจะสูงกว่าปกติและระดับฮอร์โมนที่สูงนี้จะยับยั้งการตกไข่ครับ โดยสรุปคือมีการสร้างไว้ตั้งแต่แรกแล้วแต่ไม่มีการตกไข่ในระหว่างการตั้งครรภ์ครับ
ส่วนเรื่องการตรวจครรภ์หากตรวจอย่างถูกวิธีและตรวจหลังการมีเพศสัมพันธ์ไปแล้วอย่างน้อย 14 วัน ผลการตรวจที่ได้มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือสูงครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
อยากสอบถามคุณหมอค่ะว่า ขณะที่ตั้งครรภ์รังไข่จะมีการสร้างไข่หรือเปล่าคะ แล้วลักษณะของรังไข่ขณะตั้งครรภ์จะมีลักษณะอย่างไรหรือคะ อีกคำถามหนึ่งคือประจำเดือนไม่มา 20 วันตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองไม่พลการตั้งครรภ์เชื่อถือผลได้แล้วใช่ไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)