May 26, 2019 21:06
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการดังกล่าวอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่
1.การขาดทักษะในการจัดการอารมณ์ ทำให้ไม่สามารถควบตัวตัวเองเมื่อมีอารมณ์โกรธได้ วิธีแก้ไข อาจลองฝึกจัดการกับอารมณ์โกรธด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น เมื่อโกรธให้เดินออกจากเหตุการณ์นั้นก่อน หรือ นับเลขในใจไปเรื่อยๆจนอารมณ์เย็นลง ฝึกปรับความคิดในแง่บวกบ่อยๆ ฝึกทำสมาธิ เป็นต้น
2.จากการมีความเครียดความกดดันที่ไม่ถูกระบายออกมาอย่างเหมาะสม เมื่อถึงเวลาจะระเบิดออกมา
3.จากอาการของโรคซึมเศร้า หรือจากความผิดปกติทางบุคลิกภาพและการปรับตัว
ดังนั้นในกรณีนี้อยากให้ลอบฝึกด้วยตัวเองดูก่อน หากปรับแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย เช่น นอนไม่หลับ เบื่อหน่ายท้อแท้ คิดลบ หรือ กระทบต่อความสัมพันธ์ที่มีต่อคนรอบข้าง ในกรณีเช่นนี้ ควรพบจิตแพทยื ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมตามแนวทางนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ตรงนี้อาจจะต้องดูนะครับว่าอารมณ์โกรธของคุณที่มีอยู่นี้เป็นผลมาจากความเครียด หรือเหตุการณ์เดิมๆที่สะสมและเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนทำให้คุณรูืสึกว่าคุณไม่สามารถทำอะไรได้ และเกิดการระเบิดอารมณ์ออกมาในลักษณะของการร้องไห้ตรงนี้นะครับ จริงๆแล้วอาจจะเป็นเรื่องของการบริหารอารมณ์ หรือการควบคุมความรู้สึกโกรธตรงนี้มากกว่านะครับที่น่าจะเป็นประเด็น แต่ถ้าหากคุณรู้สึกว่าอารมณ์หรืออาการที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจัดการได้ ก็อยากจะแนะนำว่าให้ลองเข้าปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อลองหาแนวทางปรับตัวหรือได้รับตัวช่วยเพิ่มเติมเช่นการทานยานะครับ
อย่างไรก็ตาม นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญ ผมขอเพิ่มเติมว่า คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความตึงเครียดในตัวคุณลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการฝึกเพื่อให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งแต่ยังไม่ต้องการที่จะพบกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ และหากมีคำถามอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้เลยนะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
เวลาโกรธ โมโห จะร้องไห้ แบบ เกือบควบคุมไม่ได้ ตัวสั่นด้วย แต่ยังควบคุมได้อยู่แต่ตอนมีภาวะกดดันมากๆจะควบคุมไม่ได้จนร้องไห้แบบหนักเลยแบบนี่มีภาวะเสี่ยงอะไรมั้ยครับ หรือเป็นปกติ ถ้าพบแพทย์ควรเป็นที่ไหน ค่าใช้จ่ายถ้าเป็นโรงพยาบาลรัฐจะแพงมั้ยครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)