May 16, 2017 21:46
ตอบโดย
วิภา สุวรรณชีวะศิริ (พญ.)
-หลีกเลี่ยงการนั่งเก้าอี้ต่ำ หรือโซฟาที่ไม่มีพนักเท้าแขน
-หลีกเลี่ยงการนั่งไขว้ห้าง หรือการยืนโดยไขว้ขาข้างที่ได้รับการผ่าตัดข้ามแนวกลางลำตัว
-หลีกเลี่ยงการหมุนสะโพกเข้าหาลำตัวขณะที่นั่งหรืองอสะโพกลีกเลี่ยงการไขว้ขา
-ใช้หมอนแทรกระหว่างขาเวลานอนหลับตอนกลางคืนจนกว่าแพทย์จะอนุญาตว่าไม่ต้องใช้
-ป้องกันการล้ม โดยใช้ไม้เท้าหรืออุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน จนกว่าข้อสะโพกจะแข็งแรงพอและเคลื่อนไหวได้ดี
-หลีกเลี่ยงการงอข้อสะโพกมากกว่า 90 องศา เช่นการนั่งยอง ๆ นั่งเตี้ยๆ หรือโน้มตัว ก้มเก็บของจากพื้น
-ห้ามบิดหมุนเท้าเข้าใน หรือออกนอกมากเกินไป
-หลีกเลี่ยงการวิ่ง หรือ กระโดด เพราะทำให้ข้อหลุดหลวม หรือแตกหักได้
-หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การดันสิ่งของ และการหมุนตัวอย่างแรง
-หลี่กเลี่ยงการก้มพร้อมกับยันลงน้ำหนัก เช่น การปีนเขา หรือบันไดที่ชัน
ข้อควรปฏิบัติ
-ควรมาพบแพทย์ตามนัดเสมอ
-ควรออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อตามที่ฝึกปฏิบัติขณะอยู่โรงพยาบาล อย่างต่อเนื่อง
-ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่อ้วน
-ต้องแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบทุกครั้งก่อนทำฟันว่าท่านมีข้อสะโพกเทียม เพื่อจะได้รับยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟัน
-ผู้ป่วยควรนำบัตรแสดงการมีข้อเทียมโลหะอยู่ในร่างกายติดตัวไปด้วย เมื่อต้องผ่านอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย เช่น ที่สนามบิน
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เราใส่ ข้อสะโพกเทียม ไม่ควรทำกิจกรรมอะไรบ้างค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)