โรคปากนกกระจอก หรือภาวะมุมปากอักเสบ (Angular cheilitis, Perleche, Angular stomatitis) อาจเกิดการอักเสบลักษณะแดง บวม หรือเป็นปื้นที่บริเวณมุมปาก
สามารถเกิดที่มุมปากข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
นอกจากอาการบวมแดงแล้วยังอาจมีอาการอื่นๆ ได้อีกหลายอย่าง เช่น เลือดออก พองเป็นตุ่มน้ำ มุมปากแตก เป็นสะเก็ด เป็นขุย คัน เจ็บ มีสีออกขาวได้โดยเฉพาะหากติดเชื้อรา ฯลฯ
นอกจากนี้ผู้เป็นปากนกกระจอกยังอาจมีความรู้สึกไม่สบายปาก ปากแห้ง แสบร้อน หรือรู้สึกมีรสชาติแปลกๆ เกิดขึ้นในปาก
หากอาการระคายเคืองมีมาก อาจทำให้รับประทานอาหารลำบาก หรือน้ำหนักลดได้
ปากนกกระจอกสามารถเกิดในคนได้ทุกช่วงอายุ รวมทั้งในทารก โดยอาจเกิดในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน หรืออาจเป็นเรื้อรังก็ได้
ปากนกกระจอก เกิดจากอะไร?
สาเหตุของปากนกกระจอก มักเกิดจากน้ำลายที่ขังบริเวณมุมปาก จากนั้นทำให้ผิวบริเวณมุมปากแห้งแตก
อาการแห้งมักทำให้ยิ่งเลียริมฝีปาก และเกิดอาการระคายเคืองมากขึ้น
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
นอกจากนี้การที่มีน้ำลายที่ขังอยู่ในบริเวณที่เป็นซอกอย่างมุมปาก อาจทำให้เชื้อราเจริญเติบโตขึ้นมา
การติดเชื้อราจึงเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของปากนกกระจอก โดยเฉพาะเชื้อราประเภทยีสต์ ที่ชื่อแคนดิดา (Candida)
บางครั้งปากนกกระจอกยังอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย เข่น สตาฟิโลคอกคัสออเรียส (Staphylococcus aureus) เบตาเฮโมลีติกสเตรปโตคอกคี (β-hemolytic streptococci)
ใครบ้างที่เสี่ยงที่จะเป็นปากนกกระจอก?
ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นปากนกกระจอก ได้แก่ผู้ที่มุมปากมักมีความชื้นหรือน้ำลายขังอยู่ เช่น ผู้มีพฤติกรรมหรือภาวะต่อไปนี้
- ผู้ที่ใส่เหล็กดัดฟัน โดยเฉพาะเหล็กดัดฟันที่ทำจากสารนิเกิล
- ผู้ที่ใส่ฟันปลอมไม่พอดี
- ผู้ที่เลียริมฝีปากบ่อยๆ
- ผู้ที่บ้วนปากบ่อยๆ
- ผู้ที่มีน้ำลายมากในช่องปาก
- เด็กทารกที่ใช้จุกหลอกหรือชอบดูดนิ้ว
- ผู้ที่ฟันสบกันไม่ดีหรือมีฟันเก
- ผู้ที่ที่มีมุมปากหย่อนคล้อยตามวัยหรือหลังลดน้ำหนัก
- ผู้ที่ต้องสวมใส่หน้ากากบ่อยๆ
- ผู้ที่สูบบุหรี่
- ผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น ขาดธาตุเหล็ก ขาดวิตามินบีบางชนิด (วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 หรือวิตามินบี 12) ขาดสังกะสี หรือขาดโปรตีน (Marasmus)
- ผู้ที่เป็นเชื้อราในช่องปากอยู่เดิม
- ผู้ที่ใช้สเตียรอยด์หรือยาปฏิชีวนะบ่อยๆ
- ผู้ที่ผิวแพ้ง่าย (Seborrheic dermatitis) หรือเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) ก็มีอาการแสดงหนึ่งคือปากนกกระจอกได้
นอกจากนี้ยังมีโรคประจำตัวบางอย่างที่ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นปากนกกระจอกมากขึ้น ได้แก่
- โลหิตจาง
- มะเร็งเม็ดเลือด
- เบาหวาน
- ดาวน์ซินโดรม
- ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เอชไอวี (มักพบในผู้ป่วยที่มี CD4+ 350–499 cells/mm3)
- โรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันที่ทำให้ปากแห้งได้ เช่น Sjogren’s syndrome, Lupus, Crohn’s disease, Ulcerative colitis
- มะเร็งที่ไต ตับ ปอด หรือตับอ่อน (Glucagonoma syndrome)
- โรคดักแด้หรือโรคทางพันธุกรรมบางชนิด เช่น Epidermolytic ichthyosis, Ichthyosis follicularis alopecia and photophobia syndrome, Mal de Meleda, Pachyonychia Congenita อาจจะมีภาวะปากนกกระจอกเป็นอาการแสดงได้
การใช้ยาบางตัวที่ทำให้ปากแห้ง เช่น ยาไอโซเตรตินอยน์ (Isotretinoin) ที่ใช้รักษาสิว ยาเคมีบำบัดบางชนิด ก็ทำให้เป็นปากนกกระจอกได้เช่นกัน
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
วิธีการรักษา ปากนกกระจอก ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร?
เนื่องจากภาวะปากนกกระจอกอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย
ดังนั้นเมื่อมีมุมปากอักเสบ ไม่ควรทำการรักษาเอง ควรปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อไม่ให้การติดเชื้อกระจายออกไป เช่น อาจนำไปสู่การติดเขื้อราในช่องปากได้ หากได้รับการรักษาไม่เหมาะสม
และเนื่องจากปากนกกระจอกบางครั้งอาจดูคล้ายภาวะอื่นได้ เช่น เริมที่ริมฝีปาก (Herpes labialis) หรือการอักเสบอื่นๆ (Erosive lichen planus) ดังนั้นในบางครั้งที่สงสัย แพทย์อาจทำการส่งตรวจเพิ่มเติมโดยป้ายบริเวณมุมปากไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
หลักการรักษาปากนกกระจอก จะเน้นที่การกำจัดการติดเชื้อ และหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการขังของน้ำลายที่มุมปาก เพื่อไม่ให้การติดเชื้อกลับเป็นซ้ำ
มักทำการรักษาโดยใช้ยาทาตามเชื้อที่พบ เช่น
- หากเป็นปากนกกระจอกจากเชื้อรา มักใช้ยาทาฆ่าเชื้อรา เช่น Nystatin, Ketoconazole, Clotrimazole, Miconazole
- หากเป็นปากนกกระจอกจากเชื้อแบคทีเรีย จะใช้ยาทาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น Mupirocin, Fusidic acid
- หากปากนกกระจอกไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แพทย์อาจทำการรักษาโดยให้ยาทาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ รวมถึงมักให้ปิโตรเลียมเจล (Petroleum jelly) ทาเคลือบบริเวณที่มีการอักเสบ และป้องกันการระคายเคืองจากน้ำลาย ทำให้อาการเจ็บอักเสบมีการสมานแผลได้ดีขึ้น
- หากเหตุเกิดจากมุมปากที่หย่อนหรือเกิดรอยพับย่น แพทย์อาจทำการรักษาปากนกกระจอกโดยการฉีดสารเติมเต็ม (Fillers) ในบางกรณี
นอกจากนี้ หากภาวะปากนกกระจอกสัมพันธ์กับความเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้น หรือการขาดสารอาหาร แพทย์ก็จะทำการรักษาสาเหตุภายในต่อไป เพื่อไม่ให้เกิดการกลับมาเป็นซ้ำ
ปากนกกระจอก รักษาด้วยสมุนไพร ยาทา หรือยาม่วงได้หรือไม่?
หลายคนอาจพยายามรักษาปากนกกระจอกด้วยการใช้สมุนไพร ยาทา หรือยาม่วง แต่ความจริงแล้วสมุนไพรและยาทาที่ขายกันทั่วไปมีหลากหลายชนิด ไม่ควรเสี่ยงใช้ยาที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองมากยิ่งขึ้นไปอีก
ทั้งนี้เนื่องจากโดยปกติบริเวณริมฝีปากก็เป็นผิวที่บอบบางระคายเคืองได้ง่ายอยู่เดิม
สิ่งที่แนะนำว่าผู้เป็นปากนกกระจอกอาจใช้ได้เอง ได้แก่ การทาลิปบาล์ม (Lip balm) ปิโตรเลียมเจล (Petroleum jelly) น้ำมันมะพร้าว ที่บริเวณมุมปาก จะช่วยป้องกันการระคายเคืองจากน้ำลายได้ในเบื้องต้น
ปากนกกระจอก หายเองได้หรือไม่?
หากปากนกกระจอกไม่ได้เกิดจากเหตุโรคภายในร่างกาย หรือเมื่อความชื้นที่ขังที่มุมปากอันเป็นเหตุนำมาซึ่งการติดเชื้อหายไป ปากนกกระจอกก็อาจหายได้
อย่างไรก็ตาม หากมีการทาครีมเพื่อเคลือบป้องกันดังกล่าวแล้วยังไม่ดีขึ้นที่ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็ควรปรึกษาแพทย์
นอกจากนี้การดูแลสุขอนามันของช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android