ประโยชน์ต่อสุขภาพของอัลมอนด์สำหรับคนเป็นเบาหวาน

เคล็ดลับในการเพิ่มอัลมอนด์ในอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ประโยชน์ต่อสุขภาพของอัลมอนด์สำหรับคนเป็นเบาหวาน

อาหารจำพวกถั่วมักจะมีไขมันสูง และไม่ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีเท่าไรนักสำหรับอาหารแบบ Low Fat และอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แต่อัลมอนด์นั้นถือเป็นข้อยกเว้น 

ความหมายและที่มาของอัลมอนด์

อัลมอนด์ (Almonds) เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับแอพพริคอท ลูกพีช ลูกพรุนและเชอรี่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบตะวันออกกลาง อินเดียและแอฟริกาเหนือ มีทั้งรสชาติขมและหวานตามสายพันธุ์ที่ต่างกันไป แต่ด้วยคุณค่าทางโภชนาการที่สูง สามารถนำไปดัดแปลงทำเป็นอาหารได้หลายชนิด รวมถึงทำเป็นส่วนผสมเครื่องสำอางต่างๆ ได้ จึงทำให้อัลมอนด์กลายเป็นถั่วที่ได้รับความนิยมทั้งสำหรับอาหารทานเล่น และอาหารเพื่อสุขภาพ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณค่าทางสารอาหารของอัลมอนด์ 

ในอัลมอนด์อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย เช่น ไฟเบอร์ โปรตีน วิตามิน ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม วิตามินอีและบี สังกะสี ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เมื่อเปรียบเทียบกับถั่วชนิดอื่นแล้ว อัลมอนด์ถือเป็นตระกูลถั่วที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูงมาก

ประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

อัลมอนด์มีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหลายประการ โดยสรรพคุณจะส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย ดังต่อไปนี้ 

ลดน้ำตาลและอินซูลิน

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานนั้น การใส่อัลมอนด์ลงในแผนการบริโภคอาหารก็เพื่อช่วยลดน้ำตาลและอินซูลินที่จะเพิ่มขึ้นหลังมื้ออาหารนั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น การทานอัลมอนด์ควบคู่กับอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูง (High-glycemic-index food) จะช่วยลดดัชนีน้ำตาลจากอาหารมื้อนั้นได้เป็นอย่างมาก และยังทำให้การเพิ่มขึ้นของน้ำตาลในเลือดหลังการทานอาหารลดต่ำลงอีกด้วย

ข่าวดีอีกอย่างคือ มีการศึกษาพบว่าการทานอัลมอนด์เพื่อทดแทนแคลลอรี่ของอาหาร 20% จะทำให้มีภาวะความไวต่ออินซูลินดีขึ้นและมีระดับคอเรสเตอรอลต่ำลง

ป้องกันโรคหัวใจ และภาวะหัวใจวาย

อัลมอนด์มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวในปริมาณสูง หรือมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพสูง ซึ่งมีส่วนในการลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระวิตามินอี อาร์จีนีน และแร่แมกนีเซียม (ซึ่งช่วยในการไหลเวียนของเลือด ออกซิเจน และสารอาหารต่าง ๆ ทั่วร่างกาย) และโพแทสเซียม (ซึ่งเป็นอิเล็กโทรไลสำคัญที่เกี่ยวกับสารสื่อประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ) นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในอัลมอนด์จะช่วยป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว มะเร็ง และโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดีด้วย

ควบคุมน้ำตาลในเลือด 

การทานอัลมอนด์จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้เลือดให้สมดุล เนื่องจากอัลมอนด์เป็นอาหารที่มีดัชนีน้ำตาล (GI score) เท่ากับ 0 ซึ่งหมายถึงว่าอัลมอนด์เป็นอาหารที่จะค่อยๆ ปล่อยน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดอย่างช้าๆ จึงไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงเกินไป ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ข้อควรระวัง

แม้จะมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย แต่หากกินเยอะเกินไปก็อาจส่งเสียได้เช่นกัน ดังต่อไปนี้

น้ำหนักขึ้น 

ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การควบคุมน้ำหนักถือเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลามของโรค และถึงแม้อัลมอนด์จะมีประโยชน์มากมาย แต่อย่าลืมว่าหนึ่งในสารอาหารที่อัลมอนด์มีก็คือไขมันและแคลอรี่ที่สูงไม่น้อย อัลมอนด์ 100 กรัมจะให้ไขมันถึง 50 กรัม แต่ข้อดีก็คือเป็นไขมันประเภทไม่อิ่มตัวซึ่งยังมีประโยชน์ต่อหัวใจ

แต่ด้วยวิถีชีวิตคนในปัจจุบันที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกายมากนัก และมักจะนั่งอยู่ที่เป็นเวลานานๆ ไม่มีการออกกำลังกาย ดังนั้นการเผาผลาญที่เกิดขึ้นอาจจะไม่เพียงพอที่จะเผาผลาญไขมันที่ได้รับจากการบริโภคอัลมอนด์ให้หมดไปได้และอาจะจะทำให้ไขมันนั้นเปลี่ยนเป็นไขมันที่ไปสะสมตามร่างกายจนน้ำหนักตัวขึ้นได้ 

แทรกแซงการทำงานของยาบางชนิด 

ศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกว่า "อันตรกิริยาระหว่างยา" ความหมายคือ คุณสมบัติของยาที่เปลี่ยนไปเพราะฤทธิ์ของอาหาร ยา หรือสารเคมีที่ผู้ป่วยรับเข้าไปพร้อมกับยาที่ทานเป็นประจำ ซึ่งแร่ธาตุในอัลมอนด์ที่สามารถทำให้เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาก็คือ แมงกานีส

ในอัลมอนด์ 100 กรัม จะมีแมงกานีสอยู่ถึง 2.3 มิลลิกรัม ถือเป็นปริมาณที่เยอะเกินกว่าที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน เพราะร่างกายของคนต้องการแมงกานีสเพียง 1.3-2.3 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ยังมีอาหารบางชนิดที่คุณอาจทานเป็นประจำทุกวันและมีแมงกานีสร่วมอยู่ในอาหารนั้นด้วย เช่น ชา ผักใบเขียว ธัญพืชโฮลเกรน 

ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือร่างกายจะได้รับแมงกานีสมากเกินไป จนเข้าไปเปลี่ยนคุณสมบัติของยารักษาโรคต่างๆ ที่คุณอาจต้องทานเป็นประจำเช่น ยาระบาย ยาลดความดันโลหิต และยาปฏิชีวนะ

เคล็ดลับในการเพิ่มอัลมอนด์ในอาหารของคุณ

  • มีอัลมอนด์ซักหนึ่งกำมือเป็นอาหารว่างกับผลไม้
  • ใช้เนยอัลมอนด์แทนเนยถั่วลิสงทาบนขนมปัง whole-wheat หรือขนมปังธรรมดา
  • โรยหน้าสลัดด้วยอัลมอนด์ที่อบในเตาอบเล็กน้อย
  • ใส่อัลมอนด์สับในข้าว พาสต้า หรืออาหารผัดน้ำมันน้อยเพื่อเพิ่มการขบเคี้ยว
  • ใช้อัลมอนด์สับละเอียดแทนเกล็ดขนมปังโรยบนหน้า Casseroles

4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Joe Leech, 9 Evidence-Based Health Benefits of Almonds, (https://www.healthline.com/nutrition/9-proven-benefits-of-almonds#section4), 6 September 2018
Christine Case-Lo and Ana Gotter, Thirteen foods that won't raise blood glucose, (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318625.php), 8 March 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)