กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การแท้ง

เผยแพร่ครั้งแรก 23 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การแท้ง

การแท้ง คือ การสูญเสียทารกในครรภ์ไปก่อนระยะเวลา 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ การแท้งในที่นี้จะหมายถึงการแท้งที่เกิดขึ้นเอง (spontaneous abortion) ซึ่งไม่รวมถึงการยุติการตั้งครรภ์ด้วยวิธีอื่น

ในผู้หญิงที่รู้ตนเองว่ากำลังตั้งครรภ์ พบการแท้งประมาณ 15-25% โดยมากกว่า 80% ของการแท้งจะพบในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) การแท้งจะพบได้น้อยหากการตั้งครรภ์เลยระยะเวลา 20 สัปดาห์ไปแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของการแท้งมีอะไรบ้าง?

อาการของการแท้งมีดังนี้:

หากคุณมีอาการข้างต้นเกิดขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที

สาเหตุของการแท้งมีอะไรบ้าง?

สาเหตุส่วนใหญ่ของการแท้งเกิดจากทารกในครรภ์มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ร้ายแรงถึงชีวิตเกิดขึ้น โดยทั่วไปปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ไม่สัมพันธ์กับมารดา

สาเหตุอื่นๆ ของการแท้ง ได้แก่:

  • การติดเชื้อ
  • โรคที่มารดาเป็น เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคไทรอยด์
  • ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน
  • การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ปัญหาทางกายภาพของมารดา
  • ความผิดปกติของมดลูก

หญิงตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการแท้ง ถ้า:

  • มีอายุมากกว่า 35 ปี
  • เป็นโรคบางชนิด เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคไทรอยด์
  • เคยแท้งมาแล้วตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป

ภาวะปากมดลูกหลวม (Cervical Insufficiency)

บางครั้งการแท้งเกิดจากสาเหตุของปากมดลูกอ่อนแอ หรือเรียกว่าปากมดลูกหลวม (incompetent cervix) หมายถึง ภาวะที่ปากมดลูกเปิดโดยที่ไม่ได้มีการเจ็บครรภ์คลอด ซึ่งการแท้งที่เกิดจากภาวะนี้มักพบได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การแท้งที่เกิดจากปากมดลูกหลวมมักมีอาการเพียงเล็กน้อย อาจมีความรู้สึกคล้ายมีแรงดัน ปวดหน่วงๆ, มีของเหลวไหลออกจากช่องคลอด,  และอาจพบเนื้อเยื่อของทารกและรกที่ถูกขับออกมาโดยไม่มีอาการปวด

ภาวะปากมดลูกหลวม สามารถรักษาได้ด้วยการเย็บผูกปากมดลูกในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป โดยมักจะทำในช่วง 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ การเย็บผูกปากมดลูกสามารถทำได้แม้ว่าจะไม่เคยมีการแท้งมาก่อน หากตรวจพบภาวะปากมดลูกหลวม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการแท้งขึ้น

วิธีวินิจฉัยและรักษาการแท้ง

แพทย์จะทำการตรวจภายใน ตรวจอัลตราซาวด์ และตรวจเลือดเพื่อยืนยันว่ามีการแท้งเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าหากการแท้งเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์และมดลูกไม่มีอะไรตกค้าง กรณีเช่นนี้มักไม่ต้องการการรักษาเพิ่มเติม แต่ในบางครั้งมดลูกอาจมีบางอย่างหลงเหลืออยู่ ซึ่งต้องได้รับการขูดมดลูก ในขั้นตอนการขูดมดลูก ปากมดลูกจะถูกขยายออกและชิ้นส่วนทารกหรือเนื้อเยื่อของรกที่หลงเหลืออยู่จะถูกขูดออกจากมดลูกอย่างอ่อนโยน สำหรับทางเลือกอื่นที่สามารถทำแทนการขูดมดลูกได้คือ การใช้ยาเพื่อช่วยให้ร่างกายขับสิ่งตกค้างในมดลูกออกมา โดยทางเลือกนี้อาจเป็นทางเลือกที่ดีในผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการผ่าตัดและสภาวะต่างในร่างกายคงที่ดีแล้ว

การตรวจเลือดจะวัดปริมาณของฮอร์โมนการตั้งครรภ์ (hCG) เพื่อติดตามการดำเนินไปของการแท้ง

เมื่อเลือดของคุณหยุดไหลจากช่องคลอด โดยทั่วไปคุณจะสามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ ถ้าปากมดลูกของคุณขยาย คุณอาจได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะปากมดลูกหลวม ซึ่งอาจได้รับการรักษาด้วยการเย็บผูกปากมดลูก (cerclage) ถ้ายังสามารถตั้งครรภ์ถัดไปได้อยู่ 

ในกรณีที่เลือดของคุณเป็นหมู่ Rh ลบ (Rh negative) แพทย์อาจพิจารณาให้ผลิตภัณฑ์จากเลือดที่เรียกว่า Rh immune globulin (Rhogam) ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายของคุณสร้างสารภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ซึ่งรวมถึงการตั้งครรภ์ถัดๆ ไปด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจเลือด การตรวจทางพันธุกรรม หรือการใช้ยาอาจจำเป็นในผู้หญิงที่แท้งลูกติดต่อกันมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป เราเรียกว่า การแท้งซ้ำ (recurrent miscarriage) มีการตรวจบางอย่างที่จะช่วยในการประเมินสาเหตุของการแท้งซ้ำได้ ได้แก่ การตรวจอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน (pelvic ultrasound), การตรวจเอกซเรย์โพรงมดลูกและท่อนำไข่ (hysterosalpingogram) และการส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก (hysteroscopy) โดยแพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปทางช่องคลอดและปากมดลูกเพื่อตรวจดูภายในโพรงมดลูก

ฉันจะทราบได้อย่างไรว่าฉันเคยมีการแท้ง

อาการเลือดออก และอาการไม่สบายตัวเล็กน้อย คืออาการที่พบได้บ่อยหลังจากแท้ง ถ้าคุณมีเลือดออกทางช่องคลอดปริมาณมากร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น หรือปวด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อได้

ฉันจะสามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากแท้งหรือไม่

ได้ อย่างน้อย 85% ของผู้หญิงที่แท้งสามารถตั้งครรภ์ถัดไปให้และกำเนิดลูกได้ตามปกติ หากเกิดการแท้งขึ้นไม่ได้หมายความว่าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยาก ในทางกลับกัน ประมาณ 1-2% ของผู้หญิงอาจมีการแท้งซ้ำ (ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป) นักวิจัยบางรายเชื่อว่ากรณีนี้สัมพันธ์กับภาวะภูมิต้านทานตนเอง (autoimmune response)

หากคุณมีการแท้งติดต่อกันตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป คุณควรหยุดพยายามที่จะมีลูก, คุมกำหนด และให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุของการแท้งที่เกิดขึ้น

ฉันต้องรอนานเท่าใดถึงจะพยายามตั้งครรภ์อีกครั้งได้

ให้สอบถามระยะเวลาที่เหมาะสมในการตั้งครรภ์อีกครั้งกับแพทย์ที่ดูแลท่าน แพทย์บางรายจะแนะนำให้คุณเว้นระยะเวลาออกไปช่วงหนึ่ง (ตั้งแต่ 1 รอบประจำเดือนจนถึง 3 เดือน) ก่อนที่จะพยายามตั้งครรภ์อีกครั้ง

ในการป้องกันไม่ให้เกิดการแท้งซ้ำในครั้งถัดไป แพทย์อาจแนะนำให้คุณรักษาด้วยฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน (progesterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน และช่วยสนับสนุนมดลูกในช่วงแรกของการตั้งครรภ์

การให้เวลาในการรักษาทั้งทางร่างกายและทางจิตใจภายหลังการแท้งถือเป็นเรื่องสำคัญ เหนือสิ่งอื่นใด อย่าตำหนิตัวเองเกี่ยวกับการแท้ง คุณสามารถขอรับคำปรึกษาจากผู้ให้คำปรึกษาซึ่งจะช่วยเหลือคุณได้เมื่อมีการแท้งเกิดขึ้น ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์และบุคลาการทางการแพทย์เกี่ยวกับการขอรับคำปรึกษาต่างๆ ภายหลังการแท้ง

สามารถป้องกันการแท้งได้หรือไม่

โดยทั่วไปการแท้งไม่สามารถป้องกันได้ และมักจะเกิดขึ้นเมื่อการตั้งครรภ์นั้นไม่ปกติ ถ้าการตรวจเพิ่มเติมแล้วพบปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น ก็อาจมีทางเลือกในการรักษาในกับคุณ

ในบางครั้งการรักษาโรคที่มารดาเป็นจะสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ประสบความสำเร็จ

https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-miscarriage#1


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Are the Types of Abortion Procedures? WebMD. (https://www.webmd.com/women/abortion-procedures#1)
Abortion - Medical Abortion. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/abortion.html)
Abortion - What happens. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/abortion/what-happens/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
โอกาสเกิดภาวะแท้งบุตรหลังจากตรวจพบการเต้นของหัวใจทารกจากอัลตราซาวด์
โอกาสเกิดภาวะแท้งบุตรหลังจากตรวจพบการเต้นของหัวใจทารกจากอัลตราซาวด์

จะตรวจพบการเต้นของของหัวใจทารกในครรภ์ครั้งแรกที่อายุครรภ์ประมาณ 6 สัปดาห์

อ่านเพิ่ม
หลังภาวะแท้งบุตร ทำไมฉันยังมีอาการเหมือนคนท้อง?
หลังภาวะแท้งบุตร ทำไมฉันยังมีอาการเหมือนคนท้อง?

หลังภาวะแท้งบุตร ร่างกายอาจใช้เวลาฟื้นคืนสภาพค่อนข้างนาน ทีเดียวจนเกือบอารมณ์เสียได้

อ่านเพิ่ม