9 สาเหตุที่ทำให้คุณปวดท้อง

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
9 สาเหตุที่ทำให้คุณปวดท้อง

อาการ “ปวดท้อง” สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย และพบได้ทั่วไป ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องจะรู้สึกไม่สบายตัวหรืออึดอัด ทำให้กระทบต่อการทำงาน หรือการดำเนินชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่มักปวดท้องเป็นประจำ มันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณควรรู้ว่ามีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้คุณปวดท้อง เพื่อที่คุณจะได้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมหลากสาเหตุที่เป็นไปได้มาให้คุณอ่านดังนี้

1. แพ้แลคโตส

ร่างกายของเราจำเป็นต้องผลิตแลคเตสเพื่อย่อยสลายนม แต่มีคนกว่า 40% ที่ร่างกายหยุดผลิตแลคเตสตั้งแต่อายุประมาณ 2 ขวบ หากคุณเป็นหนึ่งในคนกลุ่มนี้ คุณอาจพบว่าตัวเองมีอาการปวดท้อง ท้องอืด มีก๊าซ หรือท้องเสียหลังจากดื่มนม ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลในนม ทำให้นมไปสะสมอยู่ในลำไส้ใหญ่ และทำให้ก๊าซก่อตัวขึ้นได้ในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. ความเครียด

ระบบประสาทที่อยู่ในผนังของทางเดินอาหาร (Enteric nervous system) มีความเชื่อมโยงกับระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อคุณเครียด เลือดจะไหลออกจากลำไส้ไปยังสมองและแขน ส่งผลให้อาหารย่อยได้ช้าลง และนั่นอาจทำให้เกิดปัญหาบริเวณท้องได้ในที่สุด

3. ผลข้างเคียงของยา

ยาบางชนิดที่คุณทานสามารถทำให้ท้องไส้ปั่นป่วนได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น อาการปวดท้องสามารถเป็นผลมาจากการท้องเสีย ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของการทานยาปฏิชีวนะ ในขณะที่ยาบางชนิดสามารถทำให้ท้องผูก ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดความรู้สึกปวดท้อง นอกจากนี้การทานยาไอบูโพรเฟนยังทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารต้านทานกรดได้ยากขึ้น และทำให้เยื่อเกิดการอักเสบ

4. แพ้กลูเตน

กลูเตนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบได้มากในข้าวสาลี บาร์เลย์ และไรย์ ซึ่งมันสามารถทำให้เกิดผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพ ทั้งนี้บางคนอาจรู้สึกไม่สบายตัวเพราะท้องอืด ท้องเสีย และท้องผูก หากคุณไม่แน่ใจว่าแพ้กลูเตนหรือไม่ ให้คุณลดการทานกลูเตน หรือเลิกทานกลูเตนชั่วคราว แล้วลองสังเกตว่าอาการดีขึ้นหรือไม่

5. โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ทางเดินปัสสาวะจะมีความยาวเริ่มตั้งแต่ไต และไปสิ้นสุดที่ท่อปัสสาวะ ทั้งนี้การเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะสามารถส่งผลต่อทางเดินปัสสาวะ ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง และผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้อง โดยเฉพาะบริเวณเชิงกราน รวมถึงอาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย ส่งผลให้ท้องไส้ปั่นป่วนได้ในที่สุด

6. อาหารไม่ย่อย

คนที่มีอาการอาหารไม่ย่อยมักจะเกิดความรู้สึกอิ่ม แม้ว่าจะทานอาหารไปได้ไม่นาน รวมถึงมีอาการท้องอืด ทั้งนี้อาการอาหารไม่ย่อยสามารถเป็นผลข้างเคียงของโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ซึ่งคุณอาจรักษาตัวโดยปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้เหมาะสม

7. โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อนเกิดขึ้นเมื่อกรดในกระเพาะอาหารไหลมายังหลอดอาหาร ซึ่งเกิดขึ้นเพราะหูรูดตรงกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแสบร้อนกลางอก หากเกิดร่วมกับอาการปวดท้อง คุณก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

8. ท้องผูก

คนที่เผชิญกับภาวะท้องผูกจะขับถ่ายได้ยากลำบากกว่าเดิม ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง และเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ความเครียด ภาวะขาดน้ำ การทานอาหารที่มีไฟเบอร์ไม่เพียงพอ ฯลฯ นอกจากจะมีปัญหาในการขับถ่ายแล้ว ผู้ป่วยก็อาจรู้สึกปวดท้องเช่นกัน

9. ก๊าซ

การมีก๊าซในร่างกายสามารถทำให้คุณปวดท้องได้เช่นกัน ซึ่งมันสามารถทำให้ท้องของคุณดูบวมขึ้น อย่างไรก็ตาม ก๊าซไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยไม่มีที่มาที่ไป เพราะมันมักมีตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดก๊าซในร่างกาย สำหรับสาเหตุที่เป็นไปได้ เช่น การเป็นโรคกรดไหลย้อน ท้องผูก การแพ้แลคโตส การแพ้กลูเตน ฯลฯ

จากที่กล่าวไป คุณจะเห็นได้ว่าอาการปวดท้องสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากคุณรู้ตัวว่าปวดท้องบ่อยจนผิดสังเกต การไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายก็เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Abdominal pain: Common and uncommon causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318286)
William C. Shiel Jr., MD, FACP, FACR, Abdominal Pain (https://www.medicinenet.com/abdominal_pain/symptoms.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป