กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ฉันจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นนานเท่าไหร่หลังจากเริ่มรับประทานอาหารที่ไม่มีสารกลูเตน?

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฉันจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นนานเท่าไหร่หลังจากเริ่มรับประทานอาหารที่ไม่มีสารกลูเตน?

คำถาม : ฉันจะเริ่มรู้สึกดีขึ้นนานเท่าไหร่หลังการเริ่มรับประทานอาหารที่ไม่มีสารกลูเตน?

คำตอบ : หากคุณกำลังจะเริ่มรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตน จากประสบการณ์ ที่พบว่าคนจำนวนมากกว่าครึ่งเริ่มรู้สึกดีขึ้นภายในเวลาไม่กี่วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตามนี่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะกลับไปรู้สึกแข็งแรงเหมือนปกติภายในไม่กี่สัปดาห์ ยังต้องอาศัยเวลานานพอสมควรเพื่อให้ร่างกายของคุณฟื้นฟู โดยเฉพาะเมื่อคุณเป็นโรคเซลิแอคระดับรุนแรงก่อนการวินิจฉัย

ผู้ป่วยหลายคนบอกว่าอาการทางระบบทางเดินอาหารดีขึ้นในเวลาไม่กี่วันหลังหลีกเลี่ยงสารกลูเตนในอาหาร และอาการอ่อนเพลียหรือมึนงงจะเริ่มค่อย ๆ ดีขึ้นในสองสัปดาห์ โดยอาการอื่น ๆ เช่น ผื่นคันแบบ Dermatitis Herpetiformis อาจใช้เวลานานกว่าจะหายสนิท

บางสิ่งที่คุณอาจสังเกตเห็น

คุณอาจรู้สึกหิวตลอดเวลาในช่วงสัปดาห์แรกของการเริ่มรับประทานอาหารแบบปราศจากกลูเตน และมีความอยากรับประทานตลอดเวลาซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ ร่างกายของคุณต้องการได้รับพลังงานชดเชยจากการที่ดูดซึมอาหารไม่ได้ และอาการนี้จะค่อย ๆ  ดีขึ้นเรื่อย ๆ

คุณอาจรู้สึกดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายในไม่กี่วันหลังเริ่มรับประทานอาหาร แต่อาจเกิดอาการซ้ำได้หลังจากนั้น หากคุณมีอาการดังกล่าว โปรดตรวจสอบรายการอาหารของคุณอีกครั้งว่ามีกลูเตนผสมอยู่หรือไม่ เพราะคุณอาจเผลอรับประทานไปโดยไม่ได้ตั้งใจ

นอกจากนี้ คุณอาจมีอาการต่ออาหารที่มีกลูเตนรุนแรง เมื่อคุณได้เริ่มรับประทานอาหารแบบที่ไม่มีกลูเตนแล้ว คุณจึงควรระมัดระวังการปนเปื้อนของกลูเตนในอาหารของคุณตลอดเวลา ซึ่งนี่จะกลายเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติของคุณในเวลาต่อมา

ต้องการเน้นเรื่องโภชนาการสำหรับอาหารที่ไม่มีกลูเตน

หากคุณต้องการรู้สึกดีขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณอาจจะต้องระวังเรื่องปัญหาทุพโภชนาการที่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคเซลิแอคได้

ผู้ป่วยโรคเซลิแอคจำนวนมากพบว่าตนเองมีภาวะขาดวิตามัน และแร่ธาตุบางตัวขณะที่วินิจฉัยโรคเซลิแอค ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยได้ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาหารเสริมที่อาจต้องรับประทานเพิ่มเติม และต้องให้แน่ใจว่ากำลังรับประทานวิตามินที่ไม่มีส่วนผสมของกลูเตนเท่านั้น

ถึงแม้ว่าคุณอาจเริ่มรู้สึกดีขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังจากการเปลี่ยนอาหาร แต่ก็ยังคงต้องใช้เวลานานหลายเดือนกว่าที่จะกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง ดังนั้น อย่ารู้สึกหมดกำลังใจหากว่าอาการคุณยังไม่ได้ดีขึ้นมากในทันที แต่ขอให้รับประทานอาหารแบบนี้ต่อเนื่องเพื่อดูอาการว่าค่อย ๆ ดีขึ้นหรือไม่ หากรู้สึกว่าไม่ดีขึ้น คุณอาจปรึกษาแพทย์อีกครั้งเกี่ยวกับอาการที่ยังคงเป็นอยู่


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Zanwar, V. G., Pawar, S. V., Gambhire, P. A., Jain, S. S., Surude, R. G., Shah, V. B. ... Rathi, P. M. (2016, October). Symptomatic improvement with gluten restriction in irritable bowel syndrome: a prospective, randomized, double blinded placebo controlled trial. Intestinal Research. 14(4): 343–350 (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5083263/)
Volta, U., Caio, G., Karunaratne, T. B., Alaedini, A., & De Giorgio, R. (2016, November 23). Non-coeliac gluten/wheat sensitivity: advances in knowledge and relevant questions [Abstract]. Expert Review of Gastroenterology & Hepatology (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/27852116)
Uhde, M., Ajamian, M., Caio, G., De Giorgio, R., Indart, A., Green, P. H ... Alaedini, A. (2016, March 31). Intestinal cell damage and systemic immune activation in individuals reporting sensitivity to wheat in the absence of coeliac disease. The BMJ (http://gut.bmj.com/content/early/2016/07/21/gutjnl-2016-311964.full)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การลดน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารคีโต หรือการทำ "คีโตเจนิกไดเอท (Ketogenic diet)"
การลดน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารคีโต หรือการทำ "คีโตเจนิกไดเอท (Ketogenic diet)"

ไม่ใช่ทุกคนที่ลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้ได้ ศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจทำเพราะผลลัพธ์ที่ได้อาจร้ายแรงกว่าที่คิด

อ่านเพิ่ม