5 สมุนไพรแก้เบาหวาน แบบปลอดภัย

แนะนำ 5 สมุนไพรแก้เบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 28 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
5 สมุนไพรแก้เบาหวาน แบบปลอดภัย

นอกจากการรักษาโรคเบาหวานตามวิธีทางการแพทย์และธรรมชาติบำบัดแล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่ง คือ การรับประทานสมุนไพรที่มีสรรพคุณป้องกัน และรักษาอาการของโรคเบาหวานให้ทุเลาลงได้ ในบทความนี้ จะกล่าวถึงสมุนไพรแก้เบาหวาน 5 ชนิด

1. มะระขี้นก

มะระขี้นกเป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารชาแรนติน (Charantin) มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการผลิตอินซูลิน (Insulin) ของตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล เพิ่มความไวต่ออินซูลิน เพิ่มความทนต่อกลูโคส (Glucose tolerance) และยังช่วยยับยั้งการหลั่งกลูโคสในลำไส้เล็ก และยับยั้งเอนไซม์กลูโคไซเดส จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างดีเยี่ยม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ มะระขี้นกยังเปี่ยมด้วยคุณประโยชน์ต่อร่างกายอีกมากมาย เช่น มีวิตามินเอ ไนอะซิน (Niacin) และมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจก ชะลอความเสื่อมของไต เรียกได้ว่า เป็นสมุนไพรที่มากไปด้วยประโยชน์อย่างแท้จริง

ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรบริโภคมะระขี้นกเป็นอาหาร หรือในรูปน้ำคั้นเป็นอาหารเสริม เพื่อช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้ปกติ และชะลออาการต่างๆ ที่เป็นผลเสียจากโรคเบาหวานที่เป็นมานาน

แนะนำวิธีรับประทานมะระขี้นก

นำผลมะระขี้นกสด 100 กรัม มาผ่าครึ่ง ขูดไส้ในและเมล็ดออก หั่นเนื้อผลเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในเครื่องปั่นแยกกาก จะได้น้ำมะระขี้นกประมาณ 40 มิลลิลิตร ให้ดื่มหลังอาหารเช้า หรือเย็น หรือหั่นเนื้อมะระขี้นกตากแห้งเพื่อใช้ชงน้ำดื่มเป็นชาสมุนไพรก็ได้

2. อบเชย

อบเชยเป็นสมุนไพรที่มีสารไฮดรอกซีชาลโคล (Hydroxychalcone) ที่สามารถช่วยเพิ่มและเสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างดีเยี่ยม

แนะนำวิธีรับประทานอบเชย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ใช้ผงอบเชยครึ่งช้อนชาผสมกับน้ำร้อน 1 ถ้วย ปิดฝาทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วกรองเอาผงอบเชยออก จากนั้นใช้ดื่มเป็นชาก่อนอาหารในช่วงเช้าและเย็น

3. ตำลึง

สมุนไพรหาง่ายที่มักจะพบตามข้างรั้วบ้าน หรือขึ้นเป็นเถาพันต้นไม้อื่นๆ ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติอร่อย รับประทานง่ายแล้ว ตำลึงยังมีส่วนช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย

แนะนำสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรรับประทานตำลึงวันละ 50 กรัม และเมื่อรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน จะพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง อีกทั้งยังอาจกลับมาอยู่ในระดับปกติได้อีกด้วย

นอกจากนั้น ตำลึงยังมีวิตามินเอสูงมาก มีวิตามินซีที่สูงกว่ามะนาว วิตามินบี 3 ช่วยบำรุงผิวหนัง มีธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเลือด และมีใยอาหารจำนวนมาก ช่วยลดอาการท้องผูกอีกด้วย

แนะนำวิธีรับประทานตำลึง

นำยอดตำลึง 1 กำมือ ปรุงรสด้วยเกลือเล็กน้อย ห่อใบตอง นำไปเผาให้สุก รับประทานก่อนนอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ ภญ.ดร.อัญชลี จูฑะพุทธิ รองผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย แนะนำให้ใช้เถาตำลึงแก่ประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ หรือใช้น้ำคั้นจากผลตำลึงดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น จะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

4. ชาเขียว

หลายคนอาจจะมองว่า ชาเขียวไม่มีประโยชน์ในด้านการรักษาเบาหวาน แต่ความเป็นจริงแล้ว เราสามารถดื่มชาเขียวเพื่อบรรเทาโรคเบาหวานได้เช่นกัน เพราะในชาเขียวมีสาร 1-deoxynojirimysin (DNJ) ที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้

นอกจากนี้ การดื่มชาเขียวเป็นประจำ จะช่วยลดคอเลสเตอรอล และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ค่อยๆ ลดลงจนปกติ อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการทำงานของอินซูลินได้ดี แต่ก็ควรเลือกดื่มเฉพาะชาเขียวแท้ที่มีความหวานไม่สูง หรือไม่ใส่น้ำตาลเลยจะดีที่สุด

แนะนำวิธีรับประทานชาเขียว

นำใบชาเขียวมาล้างให้สะอาด หั่น และตากแห้ง จากนั้นนำมาชงเป็นชาสมุนไพร โดยใช้ชาใบหม่อนประมาณ 1 ช้อนชา เติมน้ำร้อนใส่ในครั้งแรกแล้วเทน้ำทิ้ง เติมน้ำร้อนอีกครั้ง ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วจึงดื่ม

5. กระเทียม

กระเทียมมีสารอัลลิซิน (Allicin) มีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต และมีฤทธิ์ในการต่อต้านเบาหวานได้เป็นอย่างดี โดยผลจากการศึกษาพบว่า สารอัลลิซินในกระเทียมมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหลั่งอินซูลินได้ด้วยเช่นกัน

แต่แนะนำว่า ควรรับประทานกระเทียมแบบสดๆ เพราะอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ และมีประสิทธิภาพในการรักษาเบาหวานได้สูงกว่าการรับประทานแบบสุก

รู้หรือไม่ว่า แอปเปิลเขียวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

หากการรับประทานสมุนไพรเป็นเรื่องยาก แอปเปิลเขียว ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกของผลไม้ที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน 

การรับประทานแอปเปิลเขียวแบบสดๆ ทุกวัน จะช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่เร็วจนเกินไป เพราะว่าน้ำตาลในแอปเปิล จะเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายแบบช้าๆ และเส้นใยในผลแอปเปิลก็มีคุณสมบัติพองตัวได้ดี จึงทำให้รู้สึกอิ่มนานกว่าการกินขนมหวานทั่วไป และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

นอกจากสมุนไพรและผลไม้ดังกล่าวแล้ว ยังมีพืชอื่นๆ อีกหลายชนิดที่สามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการของโรคเบาหวานได้ เช่น ขมิ้น บอระเพ็ด ตดหมูตดหมา กระเจี๊ยบเขียว มะเขือพวง ช้าพลู และว่านหางจระเข้

สมุนไพรเป็นเพียงส่วนเสริมช่วยแก้โรคเบาหวาน

เมื่อคุณป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี เช่น ตรวจเช็กระดับน้ำตาลในเลือด กำหนดเป้าหมายการควบคุมระดับน้ำตาล ระดับไขมัน รวมไปถึงแนวทางในการออกกำลังกาย และอาหารที่เหมาะสมสำหรับบุคคล

เมื่อผู้ป่วยโรคเบาหวานปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ การรับประทานสมุนไพรจะช่วยส่งเสริมให้กระบวนการทำงานในร่างกายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่หากผู้ป่วยยังรับประทานอาหาร หรือใช้ชีวิตไม่เหมาะสม เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัดเป็นประจำ สมุนไพรแก้เบาหวานก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alana Bigger, MD, MPH, Can You Eat Garlic If You Have Diabetes? (https://www.healthline.com/health/diabetes/garlic-and-diabetes), 4 August 2106
Dr. AP Attanayake et al., Anti-diabetic potential of ivy gourd (Coccinia grandis, family: Cucurbitaceae) grown in Sri Lanka, Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry, 2016
SteptoHealth, How to Help Control Diebetes with Cinnamon (https://steptohealth.com/cinnamon-the-home-remedy-to-fight-diabetes/), 14 December 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม