ผู้หญิงกับการตรวจเช็คร่างกาย รู้ไหมจำเป็นอย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผู้หญิงกับการตรวจเช็คร่างกาย รู้ไหมจำเป็นอย่างไร?

ผู้หญิงหลายคนมองว่า การตรวจเช็คสุขภาพร่างกายเป็นเรื่องของผู้สูงวัยอายุ 40-50 ปี บางคนมองว่า ตนเองอายุยังน้อย แถมยังใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย ไม่สุ่มเสียงต่อโรคใด ๆ ทั้งออกกำลังกาย 3-4 วันต่อสัปดาห์ เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ และอื่น ๆ จึงนับเป็นเรื่องยากที่จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคใด ๆ ก็ตาม อย่างไรก็ตาม โรคร้ายหรือความเจ็บป่วยไม่ได้เลือกวัยหรืออายุว่ามากหรือน้อย เราไม่มีทางรู้เลยว่า โรคภัยต่างๆ จะคืบคลานเข้ามาหาเราเมื่อใด ดังนั้น สาว ๆ ทุกคนไม่ควรประมาท แต่ควรระมัดระวังและใส่ใจตัวเองให้มากขึ้น ฉะนั้น ลองมาเริ่มจากการตรวจเช็คร่างกายประจำปีดีไหม...ไปดูคำแนะนำเบื้องต้นกันเลยดีกว่า

ทำไมการตรวจร่างกายถึงสำคัญ?

เคยได้ยินใช่ไหมกับคำกล่าวที่ว่า “กันไว้ดีกว่าแก้” การตรวจร่างกายตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วยหยุดโรคร้ายอย่างโรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคกระดูกพรุนได้ก่อนจะสายเกินไป เพราะหากคุณตรวจพบเสียตั้งแต่ต้น มันย่อมง่ายแก่การรักษา การตรวจเช็คร่างกายจะช่วยให้แพทย์และคุณทราบถึงความเจ็บป่วยก่อนที่อาการจะออกเสียอีก นับเป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ที่ควรทำอย่างยิ่ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มะเร็งเต้านม

ยิ่งคุณตรวจพบเร็วเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสในการรักษามากขึ้นเท่านั้น เจ้าก้อนเนื้อร้ายที่มีขนาดเล็กย่อมมีแนวโน้มน้อยกว่าที่จะแพร่ขยายหรือกระจายออกไป หากคุณมีอายุ 20 หรือ 30 ปี คุณอาจตรวจร่างกายทุก ๆ 3 ปี แต่หากคุณมีอายุที่เพิ่มมากขึ้นและมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รอบตัว คุณอาจตรวจร่างกายให้ถี่มากขึ้นก็ได้ เช่น หากคุณมีอายุ 40 ขึ้นไปแล้ว คุณควรตรวจเต้านม (Mammograms) ทุก ๆ ปี

วัคซีนสำหรับมะเร็งปากมดลูก

Gardasil และ Cervarix เป็นวัคซีน 2 ตัวที่ช่วยป้องกันผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 26 จากเชื้อ HPV ได้ อย่างไรก็ตาม วัคซีนไม่ได้ป้องกันทุกโรคมะเร็งที่เกิดจาก HPV ดังนั้น การตรวจเช็คมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำก็ยังถือเป็นสิ่งสำคัญ

โรคกระดูกพรุนและกระดูกร้าว

โรคกระดูกพรุนมักเกิดกับผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงจะสูญเสียกระดูกไปเรื่อย ๆ และจะมีกระดูกที่ค่อนข้างเปราะบาง (แต่ผู้ชายก็มีโอกาสประสบภาวะนี้เช่นกัน) ดังนั้น ผู้หญิงควรตรวจวัดความแข็งแรงของกระดูกด้วยการเอ็กซเรย์

มะเร็งผิวหนัง

มะเร็งผิวหนังที่อันตรายที่สุดชื่อว่า Melanoma ซึ่งส่งผลต่อเซลล์ที่ผลิตเม็ดสีผิวของคน เมื่อเราพบจุด รอย ไฝ หรือกระตามผิวหนัง เราควรสังเกตดูเสมอ ๆ ว่ามันมีรูปร่าง ขนาด และสีที่เปลี่ยนไปหรือไม่อย่างไร และหากผิดสังเกตเมื่อใด ก็ควรรีบไปพบแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ

ความดันเลือดสูง

เมื่อคุณแก่ขึ้น คุณย่อมมีความเสี่ยงต่อความดันเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือมีพฤติกรรมด้านสุขภาพ (การกิน) ที่ไม่ค่อยดีเท่าใดนัก ซึ่งความดันเลือดสูงนี้ จะเป็นอันตรายต่อโรคหัวใจ อาการหัวใจวาย และอาการเส้นเลือดในสมองแตกโดยปราศจากสัญญาณเตือนล่วงหน้า ดังนั้น ควรอยู่ใกล้ชิดและอยู่ในความดูแลของแพทย์จะดีกว่า

ระดับคอเลสเตอรอล

หากคุณมีระดับคอเลสเตอรอลสูง นั่นสามารถอุดตันหลอดเลือดของคุณได้ อาการของคุณอาจไม่แสดงต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี แต่มันอาจปะทุขึ้นมาชนิดทันทีทันใดด้วยอาการหัวใจวายหรือเส้นเลือดในสมองแตกเลยก็เป็นได้ ซึ่งความดันเลือดสูง โรคอ้วน และการสูบบุหรี่ ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุทั้งนั้น และนั่นทำให้คุณต้องปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และหันมาใกล้ชิดแพทย์มากขึ้นให้ห่างไกลจากความเสี่ยง คุณควรเรียนรู้จากการตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลด้วยว่า LDL คือไขมันไม่ดี และ HDL คือไขมันดี และหากคุณอายุมากกว่า 20 ควรตรวจเช็คอย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่นำไปสู่โรคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจ โรคไต ตาบอด และปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ที่ตามมา คุณสามารถควบคุมโรคเบาหวานด้วยการออกกำลังกาย ควบคุมอาหารการกิน ลดน้ำหนัก การพบแพทย์และรับประทานยา

HIV

HIV เป็นเชื้อไวรัสที่นำไปสู่สาเหตุการเป็นโรคเอดส์ ซึ่งมันสามารถติดต่อผ่านเลือดหรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในร่างกายจากคนสู่คน ทั้งจากการมีเพศสัมพันธ์หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน และสำหรับหญิงตั้งครรภ์นั้นก็สามารถส่งผ่านเชื้อไวรัสไปสู่ลูกน้อยได้ ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนรักษา แต่ยังพอมี Anti-HIV เบื้องต้น ซึ่งเป็นยาเพื่อช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันสำหรับต่อสู้กับไวรัสได้

ต้อหิน

ต้อหินเกิดขึ้นเมื่อความดันขึ้นตา หากปราศจากการรักษา มันอาจทำลายเส้นปะสาทตาและทำให้ตาบอดได้ในท้ายที่สุด ดังนั้น คุณควรตรวจเช็คดวงตาของคุณอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ แน่นอนว่าปัจจัยเรื่องอายุและความเสี่ยงอื่น ๆ ย่อมเกี่ยวข้องด้วย แต่เพื่อความปลอดภัยแล้ว การตรวจดวงตาเป็นประจำทุก ๆ 6 เดือนครั้ง หรือ 1 ปีครั้งก็ถือเป็นความคิดที่ดี

ผู้หญิงทั้งหลาย (หรือจะผู้ชายด้วยก็ดี) สามารถสอบถามเพื่อขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการตรวจเช็คสุขภาพร่างกายเหล่านี้ได้ เพราะแพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับช่วงเวลาการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมแก่คุณได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องดูแลควบคู่กันไปอย่างไม่ประมาท นั่นคือ ระมัดระวังอย่าให้เกิดปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เนื่องจากการตรวจเช็คร่างกายเพียงอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันคุณผู้หญิงทั้งหลายจากโรคร้ายได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้น ต่างฝ่ายต่างต้องจับมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน...ให้แพทย์ช่วยคุณ พร้อม ๆ ไปกับการดูแลตัวเอง ดีไหม?

บทความที่เกี่ยวข้อง
การตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงอายุ 40-64 ปี ต้องตรวจอะไรบ้าง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Screening Tests for Women. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/topics/screening-tests-for-women)
Benefits and risks of screening tests. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK279418/)
Screening Tests Every Woman Needs. WebMD. (https://www.webmd.com/women/ss/slideshow-screening-tests-women)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม