ถามตอบเรื่องสุขภาพ

เผยแพร่ครั้งแรก 11 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ถามตอบเรื่องสุขภาพ

ถามตอบเรื่องสุขภาพ

Q : มีสมุนไพรอะไรที่คุณแนะนํา สําหรับภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังบ้างไหม

A : ในขณะที่เขียนอยู่นี้ ยังไม่มีการทดลองทางคลินิกเปรียบเทียบผล ของสมุนไพร แต่คนไข้หลายคนพบว่าเซนต์จอห์นส์วอร์ตแบบดูอัลแอ๊คชั่นช่วย บรรเทาอาการซึมเศร้าได้มาก และยังช่วยให้เจริญอาหารอีกด้วย เห็ดชิตาเกะ และเลมอนบาล์มอาจช่วยในการรักษาโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง โดยการกระตุ้นให้ ร่างกายสร้างสารอินเตอร์เฟอรอน และยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส โสมไซบีเรีย และโสมเอเชียจัดได้ว่าเป็นสารปรับสมดุลที่ได้ผลดีในการบํารุงต่อมหมวกไต ในระยะยาว หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นสมุนไพรที่ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับความ เครียด และมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อดีขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 Q : เบต้า - 1, 3 กลูแคนคืออะไร และดีต่อระบบภูมิคุ้มกันอย่างไร

A : เบต้า - 1, 3 กลูแคน เป็นพอลิแซ็กคาไรด์ (โมเลกุลน้ําตาลเชิงซ้อน) มกพบว่าทํามาจากยีสต์ที่ใช้ทําขนม แต่อาจสกัดจากรําข้าวโอ๊ตหรือบาร์เลย์ หรือเห็ดเช่นเรอิชิและชิตาเกะก็ได้ พบว่ามันช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน โดยเพิ่มความสามารถของเม็ดเลือดขาวชนิดแมโครฟาจ ในการต่อสู้กับแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส หรือพยาธิที่มารุกราน ข้อดีเด่นอีกประการคือ มันช่วยให้ระบบ ภูมิคุ้มกันทํางานได้ดีขึ้น แต่ไม่ทําให้ระบบทํางานมากเกินไป ซึ่งอาจเป็นอันตราย ต่อผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันทําร้ายตัวเอง

 Q : ช่วงนี้มีบทความที่เขียนถึงภาวะกระดูกพรุนมากมาย จนฉันสับสนมาก คุณช่วยอธิบายให้ฟังหน่อยได้ไหมว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าฉันมีความ เสี่ยงต่อภาวะนี้ (ฉันเป็นหญิงอายุ 48 ปีที่ยังกระฉับกระเฉง) และฉัน ควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอะไรบ้าง

A: ไม่ใช่เรื่องซับซ้อนอะไรหรอกครับ แต่ประเด็นสําคัญคือ คุณต้องทราบข้อเท็จจริงก่อนว่า ภาวะกระดูกพรุนเป็นภาวะที่ความหนาแน่นของกระดูก ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กระดูกอ่อนแอลงและมีโอกาสหักมากขึ้น หากว่ามีสารอาหารโดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดีเพียงพอ กระดูกของเราจะหนาแน่น ขึ้นจนถึงอายุประมาณสามสิบ หลังจากสามสิบปีไปแล้ว ความหนาแน่นจะ ค่อยๆลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จําเป็น และเนื่องจากเอสโทรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงหลักซึ่งช่วยควบคุมการสะสมของแคลเซียมที่กระดูก ภาวะกระดูกพรุนจึงพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน ซึ่งฮอร์โมนเพศหญิงลดลงมาก

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนในผู้หญิง  

  • ประวัติครอบครัวมีภาวะกระดูกพรุน
  • รูปร่างผอม
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มสุรา
  • ประจําเดือนหมดเร็ว
  •  ไม่เคยตั้งครรภ์
  • รับประทานแคลเซียมในอาหารไม่เพียงพอ
  • ไม่ได้ออกกําลังแบบลงน้ำหนัก
  • ต่อมไทรอยด์ทํางานมากผิดปกติ
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนมาก
  • ดื่มน้ำอัดลมที่มีฟอสฟอรัสมากเกินไป (ฟอสฟอรัสในปริมาณสูงจะทําให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมได้)

 ควรระลึกไว้เสมอว่า การออกกําลังกายที่ต้องลงน้ำหนักเท่านั้น (เดิน วิ่งเหยาะ ขึ้นบันได เทนนิส) ที่เพิ่มมวลกระดูกได้ ส่วนการว่ายน้ำไม่จัดอยู่ใน กีฬาที่ลงน้ำหนักกับร่างกาย สําหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่คุณควรรับประทาน ในแต่ละวันนั้น ผมขอแนะนําดังนี้

วิตามินซีพร้อมไบโอฟลาโวนอยด์ 1,000 มก.

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิตามินดี 400 ไอยู

วิตามินอี 400 - 800 ไอยู (แบบแห้ง)

วิตามินเค 100-200 มคก.

วิตามินบี 12 ขนาด 500 มคก. แบบอมใต้ลิ้น

โบรอน 1-3 มก. (โซเดียมบอเรต)

ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง (พร้อมด้วยเดดซีนและเจนิสทีน 10 มก.)

แคลเซียม 1,200-1,500 มก.

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Common Health Questions & Answers. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/multimedia/questions)
Questions & Answers A to Z: Directory of All WebMD Q&As. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/qa)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป