ทำไมคนจึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย

ไขข้อสงสัย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คนตัดสินใจฆ่าตัวตาย และพฤติกรรมแบบไหนที่เข้าข่ายการบูลลี่ อ่านเลย!
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ทำไมคนจึงตัดสินใจฆ่าตัวตาย

“ฆ่าตัวตาย” หนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก ทุกๆ วันจะมีข่าวรายงานการฆ่าตัวตายจากทั่วโลกแสดงให้เห็นว่า การฆ่าตัวตายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ ทุกเพศ ทุกวัย และทุกอาชีพ

ทำไมคนถึงอยากฆ่าตัวตาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การฆ่าตัวตายเป็นการหนีปัญหาใช่หรือไม่

นั่นเป็นคำถามที่ใครหลายคนสงสัยและอยากหาคำตอบ

ความจริงแล้ว ปัจจัยที่ทำให้คนฆ่าตัวตายสามารถเกิดขึ้นได้จากจุดเล็กๆ เช่น การถูกบูลลี่จากสังคม (การกระทำความรุนแรง หรือกลั่นแกล้งต่อผู้อื่น ทางร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สิน ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา) การล้อเลียน มีประสบการณ์ชีวิต หรือปัญหาที่เลวร้าย หรือการป่วยด้วยโรคทางจิตเวช โรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย

กลุ่มคนเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสฆ่าตัวตายสูง แต่ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการออกมาอย่างชัดเจนทำให้คนรอบข้างไม่รับรู้ถึงปัญหานั้น และเผลอแสดงพฤติกรรมที่อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อพวกเขาจนกระตุ้นให้นำไปสู่การตัดสินใจฆ่าตัวตาย

บทความนี้จะอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้คนอยากฆ่าตัวตาย บุคคลใดที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง และวิธีสังเกตอาการว่า บุคคลใดมีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย เพื่อทำให้คุณรู้เท่าทันภัยจากการฆ่าตัวตาย สามารถหยุดยั้งการฆ่าตัวตายทั้งจากตัวเอง และช่วยหยุดยั้งคนรอบข้างที่มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายได้  

สถิติการฆ่าตัวตายจากทั่วโลก

Worldpopulationreview.com ว็บไซต์รวบรวมข้อมูลสถิติด้านต่างๆ จากประเทศสหรัฐอเมริกา เผยข้อมูลสถิติการฆ่าตัวตายโลกในปี 2018 ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • อันดับ 1 ศรีลังกา อัตราฆ่าตัวตาย 35.3 ต่อ 100,000 คน
  • อันดับ 2 ลิทัวเนีย อัตราฆ่าตัวตาย 32.7 ต่อ 100,000 คน
  • อันดับ 3 กายอานา อัตราฆ่าตัวตาย 29 ต่อ 100,000 คน
  • อันดับ 4 เกาหลีใต้และมองโกเลีย อัตราฆ่าตัวตาย 28.3 ต่อ 100,000 คน
  • อันดับ 5 คาซัคสถาน อัตราฆ่าตัวตาย 27.5 ต่อ 100,000 คน

ไทย จัดอยู่อันดับที่ 28 ของโลก อัตราฆ่าตัวตาย 16 ต่อ 100,000 คน และจัดเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศอาเซียน ในขณะที่อันดับ 2 ในอาเซียนคือ ลาว อัตราฆ่าตัวตาย 12.3 ต่อ 100,000 คน (อยู่อันดับที่ 47 ของโลก)

โรค หรืออาการเจ็บป่วยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฆ่าตัวตาย

การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อคุณป่วยเป็นโรค ย่อมส่งผลกระทบต่อจิตใจและระบบการทำงานของร่างกาย การใช้ชีวิตประจำวัน การอยู่ร่วมกับผู้คนในสังคม ฯลฯ รวมทั้งอาจก่อให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้

โรคที่ส่งผลกระทบให้เกิดการฆ่าตัวตาย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. โรคจิตเวช 

โรคจิตเวช เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ส่งผลให้ความรู้สึกนึกคิด การรับรู้ และพฤติกรรม แปลกแยกไปจากคนปกติ ทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีอย่างที่เคยทำ ผู้ป่วยโรคจิตเวชจำเป็นต้องพบจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี เพราะอาการเจ็บป่วยจากโรคสามารถส่งผลให้ผู้ป่วยคิดฆ่าตัวตายได้

ตัวอย่างโรคจิตเวชที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฆ่าตัวตาย

  • โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้คนฆ่าตัวตาย ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้ามีหลายสาเหตุ ได้แก่ ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง กรรมพันธุ์ ความเครียด ลักษณะนิสัย ฯลฯ ซึ่งคนทั่วไปมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า มองผู้ป่วยในแง่ลบ และใช้วิธีรักษาแบบผิดๆ เมื่อพบว่า ตนเอง หรือคนใกล้ชิด มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้องและรับคำปรึกษาที่เหมาะสม อย่ากังวลเมื่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเพราะเป็นเพียงความผิดปกติของสารเคมีในสมอง สามารถใช้ยารักษาได้ 
  • โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) ผู้ป่วยจะมีอารมณ์สองขั้วทั้งซึมเศร้าและร่าเริงผิดปกติ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งตั้งแต่ 3 สัปดาห์ ไปจนถึง 2-3 เดือน สลับไปมา ถือว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยอยู่ในช่วงซึมเศร้า ซึ่งเป็นช่วงที่มีโอกาสฆ่าตัวตายสูง
  • ภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง (Posttraumatic stress disorder: PTSDเกิดจากความวิตกกังวล หวาดกลัว ต่อการบาดเจ็บ การตาย ที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรง หรือเหตุการณ์สะเทือนขวัญในอดีต เช่น เคยถูกข่มขืน ทารุณกรรมทางเพศ อุบัติเหตุ สงคราม เป็นต้น และยังยึดติดอยู่กับความรู้สึกเหล่านั้น ไม่สามารถปรับตัวสู่ภาวะปกติได้

2. โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable diseases: NCDs) 

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคิดฆ่าตัวตาย เกิดจากความเครียด กังวล ต่อการใช้ยา การควบคุมโรค ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายมากกว่าคนปกติทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น  โรคเอดส์ โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี  โรคหูดหงอนไก่ โรคเริมที่อวัยวะเพศ ผู้ที่เป็นโรคเหล่านี้มักถูกคนรอบข้างรังเกียจ นอกจากส่งผลต่อสุขภาพร่างกายแล้วยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจด้วย หากพบว่า ผู้ป่วยมีความเครียด หรือวิตกกังวลมากเกินปกติ ควรพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาร่วมด้วย

บูลลี่ แค่ล้อเล่นก็ทำให้คนฆ่าตัวตายได้

คุณไม่มีทางรู้เลยว่า คนรอบข้างเคยผ่านเหตุการณ์อะไรในชีวิตมาบ้าง พวกเขาอาจป่วยเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ เคยประสบเหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิตมาก่อน จิตใจอ่อนไหวง่าย เมื่อคนรอบข้างกลั่นแกล้ง ล้อเล่น หรือล้อเลียนมากๆ เข้า ก็อาจส่งผลให้ผู้ตกเป็นเหยื่อเลือกฆ่าตัวตายเพื่อจบปัญหานั้นๆ

เราเรียกพฤติกรรมเหล่านี้ว่า “บูลลี่ (Bully)” การบูลลี่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกรูปแบบ และไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยไหนก็สามารถูกบูลลี่ หรือเป็นผู้บูลลี่ใส่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว

6 พฤติกรรมที่เข้าข่ายการบูลลี่    

  • การล้อเลียนทางกายและคำพูด เป็นพฤติกรรมที่มักคิดกันว่า เป็นเรื่องปกติในสังคมไทย แต่รู้หรือไม่ว่า การใช้คำพูดล้อเลียนรูปลักษณ์ภายนอกของผู้อื่น เช่น สีผิว รูปร่าง หน้าตา ฯลฯ สามารถส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้นั้นได้ คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่า ตนกำลังแสดงพฤติกรรมเหล่านี้อยู่ ในขณะที่ผู้ตกเป็นเหยื่อก็ไม่กล้าแสดงการตอบโต้
  • ความก้าวร้าวในความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว คนรัก หรือกลุ่มเพื่อน เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้เกียรติอีกฝ่าย แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ต่อว่า ดูถูก เหยียดหยาม ทำร้ายร่างกาย ย่อมส่งผลร้ายแรงต่อผู้ถูกกระทำมากกว่าคนอื่นๆ เพราะเกิดจากการกระทำของคนใกล้ชิด คนรัก คนที่ไว้วางใจ
  • การล้อเลียนออนไลน์ บางครั้งเรียกว่า Cyber Bully หรือ Social Bullying เป็นพฤติกรรมการกลั่นแกล้งโดยใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือ เช่น Facebook Twitter Instagram ในรูปแบบการโพสข้อความต่อว่า แชร์ภาพอนาจาร เป็นต้น การกลั่นแกล้งประเภทนี้สามารถแพร่กระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็วและไม่สามารถลบข้อมูลทิ้งได้ทั้งหมด
  • การกลั่นแกล้งที่ใช้ความรุนแรง พฤติกรรมการกลั่นแกล้งที่มีการใช้ความรุนแรงต่อผู้ตกเป็นเหยื่อ เช่น การทำร้ายร่างกาย นอกจากจะสร้างความบาดเจ็บทางร่างกายแล้วยังส่งผลกระทบกระเทือนต่อจิตใจด้วย หากคุณถูกทำร้ายร่างกายควรแจ้งผู้ปกครอง หรือแจ้งความกับตำรวจ ไม่ควรเพิกเฉยกับพฤติกรรมเหล่านี้
  • การล้อเลียนทางเพศ ไม่ว่าจะเพศชาย เพศหญิง หรือเพศทางเลือก LGBT ก็ไม่ควรถูกใครล้อเลียน รวมถึงการสัมผัสร่างกายของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต การวิพากษ์วิจารณ์รูปลักษณ์ภายนอก หรือแสดงพฤติกรรมลามกอนาจารต่อคนอื่น ก็ถือเป็นความผิดอย่างร้ายแรง ทุกคนควรเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน  
  • การเปรียบเทียบ  ผู้ปกครองส่วนใหญ่ชอบเปรียบเทียบบุตรหลานของตนกับคนอื่นๆ โดยไม่รู้ว่า พฤติกรรมดังกล่าว สร้างความกดดันให้กับเด็กทำให้เกิดการเปรียบเทียบ การแตกแยก เด็กที่ถูกเปรียบเทียบบ่อยๆ มักจะไม่มั่นใจในตัวเอง มีความเครียดสะสมจนอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้

ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมแบบไหนก็ตาม หากเรียกว่า การบูลลี่แล้ว ย่อมส่งผลเสียต่อผู้ที่ถูกกระทำทั้งนั้น อีกทั้งผลกระทบที่เกิดจากการบูลลี่ในแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน จากปัจจัยต่างๆ เช่น โรคประจำตัว ภูมิหลัง ประสบการณ์ในชีวิต นิสัย เป็นต้น

สิ่งที่ทุกคนควรตระหนักคือ ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถรับมือการถูกบูลลี่ได้ หากการบูลลี่เกิดกับคนที่มีภาวะทางจิตใจไม่ปกติ เช่น เป็นโรคซึมเศร้า หรือไบโพลาร์ แค่เพียงคำล้อเล่นไม่กี่คำก็อาจกลายเป็น “สาเหตุ” ทำให้คนๆ นั้นตัดสินใจฆ่าตัวตายได้ การหยุดพฤติกรรมบูลลี่ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อมจึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง

9 สัญญาณที่อาจบ่งบอกว่า คนคนนั้นมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย

  • บุคลิกภาพเปลี่ยนไป ไม่สนุกสนานเหมือนเดิม
  • หลีกเลี่ยงจากสังคม เก็บตัว ไม่อยากพูดคุยกับใคร
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หรือรับประทานอาหารมากขึ้น เพื่อลดความเครียด
  • นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน หรือหลับๆ ตื่นๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง
  • อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร
  • สมาธิแย่ลง ไม่สามารถตัดสินใจอะไรได้
  • ไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง
  • กังวลง่ายมากกว่าเดิม
  • เครียดเรื่องเล็กๆ น้อยๆ

สรุป

การตัดสินใจฆ่าตัวตายเกิดได้จากหลายปัจจัย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านั้นสามารถแก้ไข หรือบรรเทาความร้ายแรงได้ เมื่อคุณพบว่า ตนเอง หรือคนใกล้ตัวอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสฆ่าตัวตาย อย่าอายที่จะปรึกษาปัญหากับคนใกล้ชิด หรือไปพบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับคำปรึกษา

“ความคิดอยากฆ่าตัวตาย” ไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่ควรรู้ให้เท่าทันถึงความคิดเหล่านั้นจริงๆ เพื่อหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม นอกจากนี้คุณยังควรปฏิบัติต่อตนเองและคนรอบข้างอย่างเหมาะสม เช่น ไม่ใช้คำพูดร้ายแรงต่อผู้อื่น ไม่ปล่อยให้ตนเองจมอยู่กับความเครียด เมินเฉยต่อผู้ที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือ เป็นต้น เพื่อไม่ให้ใครต้องเลือกการฆ่าตัวตายเป็นทางออกของปัญหา และไม่ทำให้คุณต้องกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คนๆ หนึ่ง อยากฆ่าตัวตายโดยไม่รู้ตัว 

 


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป