ทำอย่างไรดี เมื่อพบว่าผมร่วงผิดปกติ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ทำอย่างไรดี เมื่อพบว่าผมร่วงผิดปกติ

ผมของคนเรามีการร่วงหล่นอยู่เป็นเรื่องปกติกันอยู่แล้วในแต่ละวัน เพราะเซลล์ในร่างกายย่อมมีการเสื่อมสภาพอยู่ทุกนาที รวมกันแล้วในแต่ละวันต้องมีผมร่วงไม่เกิน 100 เส้น หากทว่าถ้าผมร่วงมากกว่านี้ ก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับทั้งผู้หญิงหรือผู้ชายเลยทีเดียว เพราะส่งผลต่อบุคลิกภาพที่ไม่ดีเท่าไหร่ในสายตาของคนอื่น และส่งผลกระทบกลับมาที่ตัวเองได้

เพราะสังคมไทยมองคนที่มีศีรษะล้านว่ามีปมด้อย

สังคมไทยมองคนที่มีศีรษะล้านว่ามีปมด้อย นำมาซึ่งการขาดความมั่นใจ เก็บเนื้อเก็บตัว ไม่อยากออกไปข้างนอกพบปะผู้คน โดยเฉพาะผู้หญิงที่เป็นเพศที่รักสวยรักงาม ย่อมทนดูไม่ได้ถ้าหากเส้นผมของตัวเองเบาบางลงไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การปฏิบัติตัวเมื่อผมร่วงผิดปกติ

  1. นวดบริเวณหนังศีรษะด้วยปลายนิ้วทั้งสองมือ คลึงนิ้วให้ทั่วศีรษะ
  2. คลายกล้ามเนื้อบริเวณคอ โดยการก้มหัวลงแล้วหมุนคอไปรอบๆ จากซ้ายไปขวา
  3. ใช้แชมพูสระผมที่ไม่มีการผสมสารเคมีเยอะเกินไปหรือควรใช้แชมพูสระผมที่มีส่วนผสมของสารธรรมชาติ
  4. ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมเพื่อลดความเครียด เพราะความเครียดเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดผมร่วง
  5. ทาน้ำมันชโลมเส้นผมและหนังศีรษะบ้าง เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
  6. หลีกเลี่ยงการดัดเส้นผม การกัดสีผม เพราะจะยิ่งทำให้เส้นผมและหนังศีรษะอ่อนแอ
  7. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เพราะบางครั้งการขาดสารอาหารก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของผมร่วงได้
  8. หลีกเลี่ยงการเข้านอนดึก สูบบุหรี่ กินเหล้า เพราะทำให้ร่างกายขาดภูมิต้านทาน
  9. ทำความสะอาดหนังศีรษะให้สะอาด อย่าปล่อยให้หนังศีรษะสกปรกหมักหมม เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราบนหนังศีรษะขึ้นได้
  10. กินวิตามินหรืออาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็ก เพราะธาตุเหล็กจะช่วยป้องกันการเกิดผมร่วงได้
  11. หลีกเลี่ยงการกินยาคุมกำเนิด เพราะในตัวยาคุมกำเนิดจะไปกระตุ้นทำให้ผมร่วงมากขึ้นได้ ซึ่งภายหลังการหยุดกินยาคุมกำเนิดแล้วประมาณ 6 เดือน อาการผมร่วงก็จะหายไปได้เอง
  12. หลีกเลี่ยงการกินวิตามินเอ เพราะการกินวิตามินเอมากเกินความจำเป็นต่อร่างกาย มีส่วนทำให้เกิดอาการผมร่วงได้

ถ้าหากอาการผมร่วงยังไม่หาย แถมซ้ำยังร่วงหนักมากกว่าเดิมแล้วหละก็ จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะในบางครั้งการที่ผมร่วงอาจจะมีสาเหตุมาจากโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ เช่น โรคไทรอยด์ เพราะไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อในร่างกายของเรา ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมอวัยวะต่างๆในร่างกายให้เป็นปกติ ถ้าเราเป็นโรคไทรอยด์ขึ้นมาก็จะทำให้เกิดอาการผมร่วงได้เช่นเดียวกันเนื่องจากร่างกายทำงานไม่ได้เต็มที่นั่นเอง


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ashley Marcin, what-to-do-with-hair-loss (https://www.healthline.com/health/hair-loss-prevention#1), January 28, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม
โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม

โรคผิวหนังเรื้อรังที่พบบ่อย ไม่ใช่โรคติดต่อ ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากความผิดปกติในร่างกายที่ต้องระวัง

อ่านเพิ่ม