กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Necrotizing Fasciitis (โรคเนื้อเน่า)

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.พ. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

โรคเนื้อเน่า (Necrotizing Fasciitis) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังที่พบได้น้อย แต่รุนแรง และลุกลามได้อย่างรวดเร็ว การติดเชื้อชนิดนี้สามารถทำให้เกิดการสูญเสียแขน ขา หรือเสียชีวิตได้ในเวลาอันสั้น ภาวะนี้ถือเป็นภาวะรุนแรงที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันที 

โรคเนื้อเน่าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างน้อย 1 ชนิดที่เข้าโจมตีและทำลายผิวหนัง ไขมันใต้ผิวหนัง และพังผืดใต้ผิวหนังที่หุ้มกล้ามเนื้อหรืออวัยวะ แต่โรคนี้พบการติดต่อจากคนสู่คนได้น้อย หากมีสุขภาพแข็งแรง ระบบภูมิคุ้มกันดี สุขอนามัยดี และดูแลความสะอาดของแผลได้ดี โอกาสที่จะเกิดภาวะนี้ก็ต่ำมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของการเกิดโรคเนื้อเน่า

ภาวะนี้เกิดหลังจากการมีแผลหรือได้รับอันตราย เช่น ถูกของมีคม แผลถลอก ฟกช้ำ แผลไฟไหม้ หรือถูกสัตว์กัด แล้วเกิดการติดเชื้อขึ้น แม้โรคนี้จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่พบว่าผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีปัญหาทางสุขภาพอื่นที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคไต มะเร็ง หรือโรคเรื้อรังอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อได้ยากขึ้น 

การติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Streptococcus GroupA นั้นเป็นสาเหตุของโรคเนื้อเน่าที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน ได้แก่

  • เชื้อ Klebsiella
  • เชื้อ Clostridium
  • เชื้อ Bacteroides
  • เชื้อ Escherichia coli (E. coli)
  • เชื้อ Staphylococcus aureus
  • เชื้อ Aeromonas hydrophila

อาการของโรคเนื้อเน่า

อาการของโรคนี้มักเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังเกิดบาดแผล โดยในระยะแรกอาจสังเกตถึงอาการต่อไปนี้

  • รู้สึกไม่สบายรอบๆ บริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ
  • ปวดเป็นมากขึ้นโดยไม่สอดคล้องกับการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น
  • มีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น หนาวสั่น อาเจียน ท้องเสีย ขาดน้ำ ไม่มีแรง อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และเป็นไข้
  • ผิวหนังและเนื้อเยื่อบวม แดง และร้อน

เมื่อมีอาการรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยอาจมีอาการต่อไปนี้

  • อาการในระยะแรกที่กล่าวไปรุนแรงขึ้น
  • ขาดน้ำและปัสสาวะน้อย
  • ความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว
  • มีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย ลักษณะคล้ายกับการถูกแดดเผา
  • เกิดแผล ตุ่มน้ำ หรือจุดดำขึ้นตามผิวหนัง
  • เกิดความดันโลหิตตกจากสารพิษของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่รุนแรงถึงชีวิต เพราะอวัยวะต่างๆ จะเริ่มหยุดทำงานและอาจเสียชีวิตได้ในเวลาอันใกล้

การรักษาโรคเนื้อเน่า

การรักษาโรคนี้ทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ชนิดของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค และบริเวณของร่างกายที่เป็น 

ทางเลือกในการรักษาโรคนี้ ประกอบด้วย

  • ตัดเนื้อเยื่อที่ตาย ถูกทำลาย หรือมีการติดเชื้อออก
  • ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น คลินดามัยซิน (Clindamycin) แวนโคมัยซิน (Vancomycin) และเพนิซิลลิน (Penicillin)
  • ตัดแขนหรือขาออก
  • ทำให้สลบและใช้เครื่องช่วยหายใจ
  • ปิดแผลด้วยการใช้สูญญากาศ ซึ่งจะช่วยทำให้ขอบแผลเข้ามาชิดกันมากขึ้น ตัดชิ้นส่วนที่มีการติดเชื้อออก และส่งเสริมการโตของเนื้อเยื่อใหม่
  • รักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น ความดันโลหิตตกจากสารพิษ อวัยวะล้มเหลว หรือหายใจลำบาก
  • ทำแผลอย่างดี และตรวจเลือดซ้ำ
  • ให้ออกซิเจน
  • ปิดแผลด้วยผิวหนังเทียมหรือผิวหนังจากตำแนห่งอื่น

เมื่อรักษาการติดเชื้อได้แล้ว แพทย์อาจแนะนำให้ทำการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย รวมถึงเริ่มฝึกการใช้อวัยวะเทียม และจะให้การช่วยเหลือทางด้านจิตใจหรือสังคมแก่ผู้ป่วยต่อไป


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vanessa Ngan, Necrotising fasciitis (https://dermnetnz.org/topics/necrotising-fasciitis/)
Rukshini Puvanendran, MMed FCFP MB BS, Jason Chan Meng Huey, MB BS, and Shanker Pasupathy, FRCS MB BS, Necrotizing fasciitis (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2762295/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)