กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

กราโนล่าคืออะไร ลดความอ้วนได้จริงหรือไม่ สูตรลดความอ้วนด้วยกราโนล่า และวิธีทำกราโนล่าด้วยตัวเอง

เผยแพร่ครั้งแรก 23 พ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กราโนล่าคืออะไร ลดความอ้วนได้จริงหรือไม่ สูตรลดความอ้วนด้วยกราโนล่า และวิธีทำกราโนล่าด้วยตัวเอง

กระแสของผู้ที่รักสุขภาพในยุคนี้คงไม่พ้นกับการออกกำลังกายด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการรับประทานอาหารคลีนเพื่อสุขภาพที่ดีโดยที่น้ำหนักตัวไม่ขึ้นอีกด้วย ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างท่วมท้น และหนึ่งในอาหารคลีนที่ว่านี้ก็คือการรับประทานอาหารกราโนล่านั่นเอง

กราโนล่าคืออะไร

กราโนล่า (Granola) เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมาจากชาวตะวันตก ซึ่งมักจะรับประทานเป็นอาหารเช้าหรือขนมทานเล่นระหว่างวัน โดยมีความเชื่อว่าเป็นอาหารที่กินแล้วไม่อ้วนและสามารถลดน้ำหนักได้ อีกทั้งยังได้รับสารอาหารต่างๆ แบบครบครัน ให้พลังงานสูง
กราโนล่าประกอบไปด้วยข้าวโอ๊ต น้ำผึ้ง ถั่ว และธัญพืชต่างๆ ที่สามารถใส่ได้ตามใจชอบ เช่น ผลไม้แห้ง ลูกเกด ถั่ว วอลนัท หรืออัลมอนด์ หากคนระหว่างอบกราโนล่าจะไม่ติดกันเป็นแท่ง จะเหมาะกับการรับประทานเป็นอาหารเช้า แต่ถ้าอัดให้ติดกันเป็นแท่งก็จะเหมาะกับการทานเล่นเป็นขนม โดยสามารถนำมารับประทานกับโยเกิร์ต น้ำผึ้ง นม หรือซีเรียลก็อร่อยเข้ากันมาก นอกจากนี้ยังเหมาะกับการแต่งหน้าขนมอีกด้วย

กราโนล่าลดความอ้วนได้จริงหรือไม่

กราโนล่าจะลดความอ้วนได้หรือไม่นั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกรับประทานกราโนล่าที่มีคุณสมบัติดังนี้

ปริมาณน้ำผึ้งหรือน้ำตาลที่ใส่ หากพบว่ามีน้ำตาลหรือน้ำเชื่อมหวานมากๆ แบบนี้ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานในปริมาณที่ไม่มากนัก เพราะจะทำให้น้ำหนักขึ้นได้อย่างแน่นอน

มีปริมาณแคลอรีมากๆ กราโนล่าที่ดีควรมีปริมาณที่พอเหมาะคือ 400 แคลอรีต่อ 1/2 ถ้วยเท่านั้น ดังนั้นจึงควรรับประทานแค่เพียง 1/2 ถ้วย ก็เพียงพอแก่ความต้องการแล้ว

ควรรับประทานกราโนล่าให้น้อยกว่าปริมาณซีเรียล หรือรับประทานเพียง ¼ ถ้วยก็พอ โดยเพิ่มผลไม้สดที่มีรสไม่หวาน แต่มีไฟเบอร์สูงอย่างเช่นบลูเบอรี่ลงไปด้วยก็จะยิ่งดีมาก

เลือกยี่ห้อกราโนล่าที่มีส่วนผสมประเภทผลไม้หลากชนิดในปริมาณมาก เพื่อที่เราจะได้รับไขมันไม่สูงมากนัก อีกทั้งไม่ควรเลือกกราโนล่าที่ทำมาจากน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันไฮโดรเจน โดยก่อนซื้อให้เลือกดูได้ที่ฉลากข้างภาชนะบรรจุ

กราโนล่าที่ดีต่อสุขภาพจริงๆ จะต้องทำด้วยน้ำมันรำข้าวหรือน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์เท่านั้น เพราะให้ไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นไขมันดีที่จะช่วยบำรุงหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล แต่ถ้าเรารับประทานกราโนล่าที่มีไขมันอิ่มตัวมากๆ นอกจากจะมีระดับไขมันในเลือดสูงแล้ว ยังส่งผลให้น้ำหนักตัวขึ้นง่ายอีกด้วย

สูตรลดความอ้วนและวิธีทำกราโนล่าด้วยตัวเอง

การทำกราโนล่าด้วยตนเองควรเน้นน้ำมันที่ให้ไขมันชนิดดีและใส่น้ำตาลหรือน้ำผึ้ง รวมทั้งเกลือในปริมาณที่ไม่มากนัก เพราะจะเป็นส่วนที่ทำให้อ้วนได้ง่าย

  • ให้เตรียมข้าวโอ๊ต 3 ถ้วย เมล็ดฟักทอง วอลนัท แฟล็กซี้ด งา น้ำตาล และเกลือ โดยมีส่วนผสมต่างๆ พอประมาณในอัตราส่วนอย่างละ 3 ช้อนโต๊ะ แต่น้ำตาลไม่ควรเกิน 2 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่นเล็กน้อย 1/4 ช้อนชาก็พอ ผสมคลุกเคล้าทั้งหมดให้เข้ากัน
  • เตรียมทำน้ำเชื่อมที่ใช้คลุกด้วยน้ำอุ่นและน้ำผึ้งอย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันรำข้าว 1 1/2 ช้อนโต๊ะ กลิ่นวานิลลา เล็กน้อย เมื่อผสมกันแล้วเติมรสตามใจชอบ จากนั้นก็นำไปราดบนส่วนผสมที่ข้อ 1 คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง
  • นำไปอบที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส ประมาณ 25 นาที เมื่อสุกแล้วให้ใส่ธัญพืชต่างๆ ได้เลย เช่น ลูกเกด อัลมอนด์ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วลิสง พรุน หรือผลไม้สดที่ไม่หวานก็ได้

เราจะเห็นได้ว่ากราโนล่าจะช่วยลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักได้หรือไม่นั้น อยู่ที่การเลือกกราโนล่าที่มีน้ำตาลน้อย และมีไขมันชนิดดีสูง อีกทั้งควรรับประทานกราโนล่าที่ใส่ผลไม้มากๆ และรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม ถ้าจะให้ดีควรใช้ควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย พร้อมควบคุมอาหารมื้อหลักอื่นๆ จึงจะได้สารอาหารครบถ้วน ทั้งไม่อ้วนแถมยังมีสุขภาพดีอีกด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Granola Nutrition Facts: Calories, Carbs, and Health Benefits. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/granola-nutrition-facts-calories-and-health-benefits-4111285)
Is Granola Healthy? Benefits and Downsides. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/is-granola-healthy)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป