Hyperventilation คืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Hyperventilation คืออะไร?

Hyperventilation นั้นเป็นภาวะที่คุณเริ่มหายใจเร็ว โดยปกติแล้วการหายใจที่ดีนั้นมักจะต้องอยู่ในสมดุลระหว่างการหายใจเข้าเพื่อนำออกซิเจน และหายใจออกเพื่อขับคาร์บอนไดออกไซด์ เวลาที่คุณเกิดการหายใจเร็วโดยหายใจออกมากกว่าหายใจเข้านั้นจะทำให้สมดุลนี้เสียไปและทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายนั้นลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว

การที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำนั้นทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองนั้นตีบ ทำให้เกิดอาการเวียนหัว และชาที่นิ้วมือได้ การหายใจเร็วที่รุนแรงนั้นอาจจะทำให้หมดสติได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในบางคนมักจะพบภาวะนี้ได้น้อย และมักจะเกิดเป็นบางครั้งเวลาที่เกิดการตอบสนองต่อความกลัวหรือความเครียด ในขณะที่บางคนนั้นภาวะนี้จะเป็นการตอบสนองต่อสภาวะทางอารมณ์เช่นความเศร้า ความวิตกกังวลหรือความโกรธ หากพบว่าเกิดภาวะนี้บ่อยๆ จะเรียกว่า hyperventilation syndrome

Hyperventilation ยังรู้จึกในชื่อของ

  • การหายใจเร็ว
  • หายใจมากกว่าปกติ
  • อัตราการหายใจที่เร็วและลึก

สาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้เกิดภาวะ hyperventilation

มีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดภาวะนี้ได้ ส่วนมากมักจะเกิดจากความวิตกกังวล กลัว หวาดระแวงหรือความเครียด และมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการเกิดภาวะหวาดระแวงฉับพลัน

สาเหตุอื่นๆ ประกอบด้วย

  • เลือดออก
  • ใช้สารกระตุ้นประสาท
  • ใช้ยามากเกินไป (ตัวอย่างเช่นยาแอสไพริน)
  • มีอาการปวดรุนแรง
  • ตั้งครรภ์
  • มีการติดเชื้อในปอด
  • โรคปอดเช่นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือหอบหืด
  • โรคเกี่ยวกับหัวใจเช่นหัวใจขาดเลือด
  • Diabetic ketoacidosis (ภาวะแทรกซ้อนของการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1)
  • ได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • เดินทางไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความสูงมากกว่า 6000 ฟุต
  • Hyperventilation syndrome

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์

Hyperventilation นั้นสามารถเป็นโรคที่รุนแรงได้ อาการในแต่ละครั้งสามารถเป็นอยู่ได้นาน 20-30 นาที คุณควรไปพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้

หายใจเร็วและลึกเป็นครั้งแรก

Hyperventilation ที่มีอาการรุนแรงขึ้นแม้ว่าจะใช้วิธีการรักษาที่บ้านแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ปวด
  • มีไข้
  • เลือดออก
  • รู้สึกวิตกกังวล หวาดระแวง หรือเครียด
  • ถอนหายใจหรือหายบ่อย
  • หัวใจเต้นเร็วและแรง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เวียนศีรษะหรือบ้านหมุน
  • ชาที่มือ เท้าหรือรอบๆ ปาก
  • แน่นหน้าอก

อาการอื่นๆ ที่อาจจะพบได้น้อยกว่าและอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับอาการ hyperventilation เช่น

หากคุณมีอาการเป็นซ้ำควรแจ้งแพทย์ หรือถ้าหากเป็น hyperventilation syndrome กลุ่มโรคนี้นั้นยังไม่มีการศึกษามากนักและมีอาการคล้ายกับโรคหวาดระแวง และอาจจะได้รับการวินิจฉัยผิดเป็นหอบหืดได้

การรักษาภาวะ hyperventilation

สิ่งที่สำคัญก็คือการพยายามสงบสติอารมณ์ในภาวะที่เกิด hyperventilation ขึ้นฉับพลัน การมีคนอื่นอยู่ข้างๆ คอบช่วยบอกให้ทำสิ่งต่างๆ ในระหว่างนั้นอาจจะช่วยได้ เป้าหมายของการรักษาในระหว่างที่มีอาการก็คือการเพิ่มระดับแก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายและควบคุมจังหวะหายใจให้ช้าลง

การดูแลที่บ้าน

คุณสามารถลองใช้เทคนิคเหล่านี้ในการรักษาอาการ hyperventilation ที่เกิดฉับพลัน

  • หายใจผ่านริมฝีปากที่ปิด
  • หายใจช้าๆ โดยใช้ถุงกระดาษครอบหรือใช้มือปิดปาก
  • พยายามหายใจให้ลมนั้นลงไปที่ท้องมากกว่าที่อก
  • หายใจครั้งละ 10-15 วินาที

คุณอาจจะเปลี่ยนมาหายใจทางจมูกด้วยได้ โดยการปิดปากและเปลี่ยนมาหายใจผ่านรูจมูกแต่ละข้าง ตัวอย่างเช่น ปิดปาก และปิดรูจมูกด้านขวาก่อนหายใจเข้าออกทางรูจมูกด้านซ้าย ก่อนที่จะสลับไปปิดรูจมูกด้านซ้ายและหายใจผ่านรูจมูกด้านขวา ทำซ้ำจนกว่าจะกลับมาหายใจเป็นปกติ

บางคนพบว่าการออกกำลังกายเช่นเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆ ขณะที่หายใจเข้าและออกทางจมูกนั้นสามารถช่วยได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การลดความเครียด

หากคุณมี hyperventilation syndrome คุณอาจจะอยากรู้ว่าอะไรทำให้คุณเกิดอาการ หากคุณมีความวิตกกังวลหรือความเครียด คุณอาจจะอยากพบแพทย์เพื่อช่วยให้เข้าใจอาการและรักษา การเรียนรู้วิธีลดความเครียดและเทคนิคการหายใจนั้นจะช่วยควบคุมอาการได้

การฝังเข็ม

การฝังเข็มนั้นอาจจะเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลในผู้ที่มี hyperventilation syndrome โดยมีรากฐานมาจากการแพทย์แผนโบราณของจีน ที่เชื่อว่าการฝังเข็มไปยังจุดต่างๆ ของร่างกายนั้นสามารถช่วยให้หายได้ งานวิจัยหนึ่งพบว่าการฝังเข็มนั้นสามารถช่วยลดความวิตกกังวลและความรุนแรงของอาการ hyperventilation ได้

การใช้ยา

แพทย์อาจจะสั่งยาเพื่อใช้ในการรักษาขึ้นกับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น ตัวอย่างยาเช่น

การป้องกันการเกิด hyperventilation

คุณสามารถเรียนรู้เทคนิคการหายใจและการผ่อนคลายเพื่อป้องกันการเกิด hyperventilation ได้ เช่น

  • การนั่งสมาธิ
  • การหายใจผ่านรูจมูก การหายใจลงท้อง และการหายใจให้ทั่วร่างกาย
  • การออกกำลังกายทั้งทางจิตใจและร่างกายเช่นไทชิ โยคะหรือชี่กง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ (เช่นเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน) นั้นก็สามารถป้องกันการเกิด hyperventilation ได้เช่นกัน

อย่าลืมมีสติเวลาที่เกิดอาการ hyperventilation ลองพยายามใช้วิธีการรักษาเบื้องต้นเพื่อช่วยให้กลับมาหายใจได้ตามปกติ หรือไปพบแพทย์

ภาวะนี้นั้นสามารถรักษาให้หายได้แต่คุณอาจจะมีโรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ แพทย์สามารถช่วยค้นหาสาเหตุดังกล่าวและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hyperventilation: Symptoms, causes, and emergencies. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323607)
Hyperventilation: Causes, Treatments, and Prevention. Healthline. (https://www.healthline.com/health/hyperventilation)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)