สะอึกไม่หายเกิดจากอะไรและมีวิธีแก้อย่างไรบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 20 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สะอึกไม่หายเกิดจากอะไรและมีวิธีแก้อย่างไรบ้าง

เวลาที่เรามีอาการสะอึกจะมีลักษณะเป็นจังหวะเหมือนหายใจสะดุดเสียงอึ้กๆ แบบต่อเนื่อง ถ้าเราไม่จัดการอะไรกับตัวเองด้วยวิธีการที่ทำให้หายสะอึก อาการนั้นก็จะเป็นอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนสร้างความรำคาญใจให้แก่เจ้าตัว หรือเสียสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ และยังทำให้รู้สึกเหนื่อยอีกด้วย เนื่องจากมีอาการกระตุกเป็นระยะๆ ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับอาการสะอึกถึงสาเหตุและวิธีแก้อย่างถูกต้อง

อาการสะอึกเกิดจากอะไร

อาการสะอึกมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบหายใจของคนเรา โดยมีการทำหน้าที่ของกะบังลมและกล้ามเนื้อช่วงระหว่างกระดูกซี่โครงทำงานสัมพันธ์กัน แต่เมื่อใดที่การทำงานของอวัยวะสองส่วนนี้ถูกรบกวนในส่วนประสาท ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสองส่วนนี้ จนทำให้มีการหดตัวของกล้ามเนื้อระหว่างกระดูกซี่โครงและกะบังลม จะส่งผลให้ระบบการหายใจเข้าออกสะดุดทันที

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กล่าวคือ เมื่ออากาศจากการหายใจเข้าแล่นผ่านกล่องเสียงไป ฝากล่องเสียงจะปิดตัวลง ทำให้เกิดเสียงอึ้กๆ เรียกว่าเป็นจังหวะการสะอึก ซึ่งมีระยะถี่ๆ ต่างกัน 1 นาที อาจสะอึกได้ถึง 40 ครั้ง  

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการสะอึก

มีหลายกรณีที่ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงที่เกี่ยวเนื่องกับการหายใจถูกรบกวนจนทำงานผิดปกติ สาเหตุนั้นมักจะเกี่ยวเนื่องกับการรับประทานอาหารเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเมื่อกระเพาะอาหารถูกรบกวนจนทำให้มีความระคายเคือง เส้นประสาทในบริเวณนี้จะถูกกระตุ้นให้ทำงานผิดปกติ จนเป็นเหตุให้กล้ามเนื้อกะบังลมและกล้ามเนื้อบริเวณระหว่างกระดูกซี่โครงหดเกร็งเป็นจังหวะ

นอกจากเกิดจากกระเพาะอาหารแล้ว บางครั้งยังเกี่ยวกับกลไกทางสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกะบังลมโดยตรงทำงานผิดปกติด้วยเช่นกัน โดยรวมแล้วสิ่งที่อาจมีส่วนกระทบการทำงานของกระเพาะอาหารจนทำให้มีอาการสะอึกมีดังนี้

  1. การรับประทานอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานเร็ว รับประทานเยอะจนอิ่มแปล้ รับประทานอาหารสารพัดรสจัดๆ รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เบียร์ และอาหารเย็นจัดหรือร้อนจัด ทำให้กระเพาะอาหารต้องปรับอุณหภูมิอย่างรวดเร็วเกินไป หรือแม้แต่ปล่อยให้ท้องว่างเกินไปก็มีโอกาสทำให้สะอึกได้
  2.  อารมณ์ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีโอกาสเกิดอาการสะอึกได้ เช่น ความเครียด เศร้า กลัว กังวล ตื่นเต้น และอารมณ์สุดขั้วทุกประเภท ล้วนแต่ทำให้สะอึกได้ทั้งนั้น
  3. สิ่งแวดล้อม เช่น การสูดอากาศที่มีควันพิษเข้าไปมาก รวมถึงการสูบบุหรี่ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน
  4. โรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคคอพอก การรักษาโรคด้วยวิธีเคมีบำบัด โดยฤทธิ์ของยาก็สามารถทำให้สะอึกได้ รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้

วิธีแก้อาการสะอึกด้วยตัวเอง

  1. ใช้นิ้วกดบริเวณหัวคิ้วนิ่งๆ เบาและหนักสลับกัน
  2. กลั้นหายใจแล้วดื่มน้ำติดต่อกัน โดยนับ 9 คำกลืน หรือจะนับ 1 – 10 ก็ได้
  3. เบี่ยงอารมณ์แบบกะทันหัน เช่น ทำให้ตื่นเต้นหรือตกใจ โดยวิธีนี้จะต้องมีคนอื่นช่วยไม่ให้คนที่สะอึกได้ตั้งตัว
  4. กลืนก้อนข้าวสวยแบบฝืดๆ หรือเปลี่ยนเป็นขนมปัง หรือใช้น้ำตาลทราย
  5. กลืนน้ำในลักษณะท่าคางชิดอก หรือกลืนไปและอุดหูไปพร้อมกัน
  6. แลบลิ้นยาวๆ โดยใช้มือช่วยดึงก็ได้

พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันอาการสะอึก

สาเหตุที่ทำให้สะอึกส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพฤติกรรมทั้งทางกายและใจของแต่ละคน ซึ่งแนวทางการป้องกันจึงค่อนข้างเกี่ยวกับการควบคุมพฤติกรรมดังต่อไปนี้

  1. ลดหรือหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
  2. หลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยควันหรือมลพิษต่างๆ
  3. รับประทานอาหารเพียงแต่พอดี ควรเคี้ยวอาหารแต่ละคำให้ละเอียด รวมถึงไม่ควรรับประทานอาหารรสจัดจนติดเป็นนิสัย
  4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแก๊สหรือเครื่องดื่มที่เย็นจัดและร้อนจัด แม้แต่การเคี้ยวหมากฝรั่งที่กระตุ้นให้มีการกลืนอากาศก็มีภาวะเสี่ยงทำให้เกิดอาการสะอึกได้
  5. หมั่นรักษาอารมณ์ของตัวเองให้เป็นคนมองโลกในแง่ดี ไม่ฉุนเฉียวหรือโกรธง่าย มีสมาธิ สามารถควบคุมอารมณ์ได้ดี ไม่ตื่นเต้นและตกใจกลัวง่ายๆ

อาการสะอึกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งสามารถหายได้เองหากใช้วิธีแก้อย่างถูกต้อง แต่ถ้ายังเป็นอย่างต่อเนื่องนานๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาในขั้นตอนต่อไป


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hiccups: How to get rid of hiccups. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/9896)
How to Get Rid of Hiccups: 26 Remedies That Can Actually Help. Healthline. (https://www.healthline.com/health/how-to-get-rid-of-hiccups)
How to Get Rid of Hiccups, Causes & Treatments. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/hiccups/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป