กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ยาลดน้ำหนัก ผลข้างเคียง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ยาลดน้ำหนัก ผลข้างเคียง และอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

คำว่า “ผอม-หุ่นดี” เป็นกับดักความงามที่ทำเอาหลาย ๆ คนเลือกที่จะกินยาลดความอ้วนทั้ง ๆ ที่รู้ว่าต้องเสี่ยงตายมากแค่ไหน เหตุผลที่หลายคนเลือกทานยาลดความอวนอาจเป็นเพราะการออกกำลังกายมันทำได้ยากกกว่าหรืออดใจทานของอร่อยไม่ค่อยได้ จึงทำให้อ้วนง่ายและลดยาก อย่างที่รู้กันว่ายาลดความอ้วนนั้นมีผลข้างเคียงและอันตรายที่ตามมามากมายมหาศาล อันตรายร้ายแรงที่สุดก็ถึงขั้นเสียชีวิตกันเลยทีเดียว ถ้าหากเกิดเรื่องที่ไม่คาดคิดขึ้นมาจริง ๆ มันคงจะเป็นเรื่องที่เศร้ามากถ้าหากว่าไม้ได้ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนใช้ยาลดความอ้วน

คุณอ้วนจริงหรือแค่รูปร่างไม่กระชับ!

หากถามคุณผู้หญิงสัก 100 คน ว่า “คิดว่าตัวเองเป็นคนอ้วนหรือไม่” มั่นใจได้เลยว่าคำตอบที่ได้มากกว่า 90% ต้องบอกว่าตัวเองนั้นอ้วนทั้ง ๆ ที่บางคนก็น้ำหนักไม่ถึง 50 กิโลกรัมเสียด้วยซ้ำ ความเป็นจริงผู้คนเหล่านี้อาจไม่ได้อ้วนเพียงแต่ยังไม่พอใจกับรูปร่างบางส่วนของตัวเองเท่านั้น เช่น แขนใหญ่ ขาใหญ่ สะโพกใหญ่ เป็นคนมีพุง เป็นต้น แต่ภาพรวมจากที่คนอื่นมองไม่ได้คิดว่าสาวเจ้าเหล่านี้อ้วนแต่อย่างใดเลย ที่ถูกต้องควรเรียกว่า “รูปร่างไม่กระชับ” มากกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่สำหรับใครที่ยังไม่มั่นใจว่า “น้ำหนักเท่าไหร่ที่เรียกว่าอ้วน” สามารถคำนวณด้วยสูตรทางการแพทย์ในการวัดเพื่อหาว่าร่างกายอ้วนจริงหรือไม่ ด้วยค่าที่เรียกว่า “ดัชนีมวลกาย หรือ BMI” (Body Mass Index) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดไขมันในร่างกาย ถึงแม้จะยังไม่สมบูรณ์แบบนักแต่ก็เป็นเป็นวิธีหนึ่งในการประมาณปริมาณไขมันส่วนเกินที่ร่างกายสามารถเก็บได้ โดยใช้ความสูงและน้ำหนักในการคำนวณ เป็นวิธีที่ง่ายและเชื่อถือได้ในการประเมินความเสี่ยงของโรคอ้วน สามารถวัดดัชนีมวลกายได้ดังนี้

  1. ตัวอย่าง: คนที่มีความสูง 1.6 เมตรและน้ำหนัก 55 กิโลกรัม
  2. สูตร: น้ำหนัก (กก.) / สูง (m)2
  3. วิธีคำนวณ  55 / (1.6 x 1.6) = 21.48 BMI
  4. การอ่านค่าที่ได้
  • BMI น้อยกว่า 18.5 หมายถึง มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  • BMI อยู่ระหว่าง 18.5–24.9 หมายถึง น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • BMI อยู่ระหว่าง 25–29.9 หมายถึง เริ่มมีน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานแล้ว
  • BMI เกิน 30 แปลว่า ตอนนี้น้ำหนักตัวของคุณอยู่ในภาวะอ้วน

เพียงเท่านี้ก็จะทราบแล้วว่าแท้จริงแล้วเราอ้วนจริงหรือไม่ การใช้ตัวเลขเป็นตัวชีวัดจะช่วยให้คุณสามารถลดความวิตกกังวลได้มากทีเดียว แต่ถ้าหากยังไม่พอใจกับสัดส่วนบางจุดในร่างกาย สิ่งที่ดีที่สุดคือการออกกำลังกาย เพราะจะช่วยให้รูปร่าง Fit & Firm ได้อย่างตรงเป้าหมาย

ประเภทของยาลดความอ้วนที่ขายในท้องตลาด

ยาลดความอ้วนที่พบเห็นในท้องตลาด ต้องบอกเลยว่ามีทั้งยี่ห้อที่ปลอดภัยและเป็นอันตราย ทั้งนี่ผู้บริโภคต้องใช้วิจารณญาณเป็นอย่างมาก หกแบ่งส่วนประกอบของยาลดความอ้วนในท้องตลาดจะสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้ 

  • ยาลดความอ้วนที่เป็นยาชุด ยาลดความอ้วนบางประเภทจะจัดเป็นยาชุด ซึ่งสามารถพบได้ทั้งการสั่งจ่ายยาจากคลินิกความงามหรือซื้อมาใช้เอง ยาชุดเหล่านี้มีอันตรายอย่างมากโดยเฉพาะการซื้อมาใช้เอง การทำงานของยาชุดจะเข้าไปเผาผลาญพลังงานในร่างกาย แต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากไปจะเข้าไปทำลายโปรตีนของกล้ามเนื้อแทน ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคืออาการใจสั่น
  • ยาระบาย หลายคนเชื่อว่าหากทานอาหารหนักมาก ๆ จะสามารถลดความอ้วนได้ด้วยการระบายออก แต่หารู้ไม่ว่าการที่เราใช้ยาระบายแล้วน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วนั้น ส่วนมากเป็นเพราะน้ำในร่างกายลดลงแต่ในส่วนของไขมันไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด การทานยาเหล่านี้เป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อระบบขับถ่ายหากไม่ใช้ยาระบายจะขับถ่ายได้ยากกว่าปกติ และยังสางผลเสียระยะยาวต่อระบบหัวใจด้วย
  • กลุ่มยาที่เป็นยาสมุนไพร การใช้กลุ่มยาที่เป็นสมุนไรมีทั้งแบบที่เป็นสมุนล้วน ๆ เช่นส้มแขก, มะขามป้อม, มะนาว เป็นต้น แต่แน่นอนว่าการใช้สมุนไพรมักทำให้น้ำหนักลดไม่ทันใจสาว ๆ สักเท่าไหร่
  • ยาลดความอ้วนกึ่งสมุนไพร ถึงแม้ว่ายาสมุนไพรจะเริ่มแพร่หลายในคนที่ลดความอ้วนบ้างแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เป็นที่นิยมเท่ากับยาที่เป็นสารเคมี จึงมีการคือตัวยาที่มักอยู่ในรูปของแคปซูลที่มักจะอ้างว่ามีส่วนผสมของสมุนไพรสกัดนานาชนิด ทำให้ช่วยสร้างความเชื่อมั่นสำหรับการใช้ยาลดความอ้วนพอสมควร

ผลข้างเคียงในการใช้ยาลดความอ้วน

ผู้ที่ใช้ยาลดความอ้วนมักจะต้องการผลที่รวดเร็ว โดยที่ตนเองไม่ต้องเหนื่อยหรือทรมานมากนัก ยิ่งด้วยวิธีการทางการตลาดที่มักเน้นว่าไม่ต้องออกกำลังกาย ไม่ต้องอดอาหาร สามารถทานอาหารได้ตามปกติ แต่อย่างไรก็ตามการลดน้ำหนักที่ดีควรจะทำทุกอย่างควบคู้กันไป ผลข้างเคียงที่เกิดจากการทานยาลดความอ้วนสะสมนานเกินไปมักเกิดอาการดังต่อไปนี้

  • โยโย่ เป็นผลกระทบอย่างแรกที่มักเกิดขึ้นจากการลดความอ้วนผิดวิธี น้ำหนักที่ลดลงไปอย่างรวดเร็วประกอบกับการไม่ออกกำลังกายทำให้กล้ามเนื้อไม่กระชับ ไม่ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อใหม่อย่างแท้จริง เมื่อหยุดยาทำให้น้ำหนักกลังมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บางครั้งน้ำหนักมากกว่าเดิมเหมือนลูกโยโย่ และแน่นอนว่าการลดความอ้วนครั้งหลังนี้ยากกว่าเดิมด้วย
  • เกิดรอยแตกลาย เป็นปัญหาหนักมากสำหรับผู้ที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อภายในร่างกายหายไปแต่ผิวหนังของเราปรับสภาพตามไม่ทันจึงมักทิ้งร่องรอยแตกลายอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นต้นขา ท้องแขน หรือน้อง ซึ่งการเกิดผิวแตกลายนี้แก้ไขได้ยากกว่าการลดความอ้วนเสียอีกโดยเฉพาะบริเวณที่มองเห็นได้ชัด
  • ผิวหนังหย่อนคล้อย ต้นเหตุคล้ายกับการที่เกิดรอยแตกลายก็คือน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแต่กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรง โดยเฉพาะคนที่อ้วนมาก ๆ แล้วน้ำหนักลดลงมากกว่า 20 กิโลกรัม จึงมักทิ้งผิวหนังหย่อนคล้อยไว้ที่ท้องแขนหรือหน้าท้องจนทำให้กลายคนไม่กล้าใส่เสื้อตัวเล็ก ๆ กันเลยทีเดียว

อันตรายที่เกิดจากการทานยาลดน้ำหนัก

ในตัวยาลดความอ้วนมักมีสารที่เป็นอันตรายอยู่หลายชนิด อย่างเช่น แอมเฟตตามีน เป็นส่วนผสมของยาบ้าซึ่งถือว่าอันตรายมาก หากตรวจพบก็สามารถทำให้ฉี่ม่วงได้เช่นกัน ลักษณะอาการของผู้ที่ทานยานี้คือ ปากแห้ง, ไม่อยากอาหาร, นอนไม่หลับ หรือบางรายอาจพบอาการทางจิตประสาทเช่นเป็นคนซึมเศร้า ยิ่งถ้าหากเป็นโรคซึมเศร้าอยู่แล้ว แล้วทานยาลดความอ้วนที่มีสารแอมเฟตามีนจะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้ารุนแรงได้

เมื่อใช้ยาสารเคมีลดความอ้วนมากจนเกินไป อาจก่อให้เกิดโรคเหล่านี้ โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดอุดตัน, โรคจิตประสาท, โรคซึมเศร้า, มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ, มีอาการติดยาอย่างรุนแรง หากทานยาติดต่อกันนานเกิน 3 เดือนอาจส่งผลเสียต่อระบบการทำงานของร่างกาย ร้านแรงที่สุดคือเสียชีวิต


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ลดน้ำหนักไม่ต้องพึ่งยาทำอย่างไร? จะโยโย่ไหม? ลดน้ำหนักยังไงดี? ตอบครบโดยนักกำหนดอาหาร, (https://hdmall.co.th/c/hdinsight-how-to-lose-weight-without-drugs-by-eatology).
9 แนวทางลดน้ำหนักโดยไม่ต้องอดอาหาร ตอบโดยนักกำหนดอาหาร , (https://hdmall.co.th/c/hdinsight-9-ways-to-lose-weight-without-dieting-by-eatology).
ปรึกษานักโภชนาการ ลดน้ำหนัก เป็นยังไง? ทำอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/weight-management-by-health-check-up).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ยาลดความอ้วน
ยาลดความอ้วน

ประเภทของยาลดความอ้วน ผลข้างเคียงและอันตราย

อ่านเพิ่ม