วิตามินบี 1 (ไทอะมีน) และวิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)

ทำความรู้จักคุณประโยชน์วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 สามารถหาได้จากแหล่งอาหารชนิดใด ปริมาณแนะนำต่อวันเท่าไหร่ อ่านเลย!
เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
วิตามินบี 1 (ไทอะมีน) และวิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)

วิตามินบีมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกัน การที่จะรับประทานวิตามินบีเพื่อให้ร่างกายได้รับประสิทธิภาพมากที่สุดจะต้องรับประทานวิตามินบีแต่ละชนิดในปริมาณที่เท่าๆ กัน โดยบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิตามินบี 1 (ไทอะมีน) และวิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน)

วิตามินบี 1

ข้อเท็จจริง

  • วิตามินบี 1 เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำเช่นเดียวกับวิตามินบีตัวอื่นๆ หากมีอยู่ในร่างกายมากเกินไปจะถูกขับออก ทำให้ร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมไว้ได้จึงจำเป็นต้องได้รับชดเชยทุกวัน มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก.)
  • ควรรับประทานในรูปแบบวิตามินบีรวม เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะวิตามินบี 1 บี 2 และบี 6 (ไพริด็อกซิน) ที่ต้องรับประทานในปริมาณที่เท่าๆ กัน
  • ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ คือ 1-1.5 มิลลิกรัม (1.5-1.6 มิลลิกรัมสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร)
  • ร่างกายจะต้องการวิตามินบี 1 มากขึ้นในภาวะเจ็บป่วย เครียด และผ่าตัด
  • วิตามินบี 1 มีสมญานามว่า เป็นวิตามิน “เสริมขวัญและกำลังใจ” เพราะช่วยบำรุงระบบประสาท ส่งผลต่อความคิด และการทำงานของสมอง
  • มีคุณสมบัติในการขับปัสสาวะอย่างอ่อน

วิตามินบี 1 ดีต่อร่างกายคุณอย่างไร

  • ส่งเสริมการเจริญเติบโต
  • ช่วยระบบการย่อยอาหารโดยเฉพาะอาหารประเภทแป้ง
  • บำรุงความคิดสติปัญญาให้ดีขึ้น
  • ช่วยให้ระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจทำงานเป็นปกติ
  • ช่วยบรรเทาอาการเมาเรือ หรือเมาเครื่องบิน
  • บรรเทาอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัด หรือทำฟัน
  • ช่วยในการรักษาโรคงูสวัด

โรคจากการขาดวิตามินบี 1

โรคเหน็บชา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แหล่งจากธรรมชาติที่ดีที่สุด

บริวเวอร์ยีสต์ เปลือกข้าว เมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสี โฮลวีต ถั่วเหลือง ไข่แดง ปลา ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง เนื้อออร์แกนิก หมูไม่ติดมัน ผักส่วนใหญ่ รำข้าว นม

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  • วิตามินบี 1 มีวางจำหน่ายหลากหลายขนาดในร้านขายยาทั่วไป ตั้งแต่ขนาด 50 มิลลิกรัม 100 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัม
  • การรับประทานให้มีประสิทธิภาพที่สุด ควรรับประทานในรูปแบบวิตามินบีรวม
  • วิตามินบีรวมจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากในสูตรนั้นประกอบด้วยวิตามินที่มีคุณสมบัติในการต่อสู้กับภาวะเครียด ได้แก่ กรดแพนโทเทนิก (Pantothenic) กรดโฟลิก (Folic acid) และบี 12
  • ขนาดยาที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 100-300 มิลลิกรัม

อาการเป็นพิษ และสัญญาณเตือนว่ารับประทานวิตามินบีมากเกินไปไป

ไม่พบมีอาการเป็นพิษจากการรับประทานวิตามินที่สามารถละลายในน้ำได้ เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ และไม่มีการสะสมที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะใดๆ

อาการที่บ่งชี้ว่ามีปริมาณในร่างกายมากไปซึ่งพบได้น้อยมาก (เมื่อรับประทานมากกว่า  5 ถึง 10 กรัมต่อวัน) ได้แก่

  • สั่น
  • โรคเริมกำเริบ
  • ตัวบวม
  • กระวนกระวาย
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • เป็นโรคภูมิแพ้

ศัตรู

ความร้อนจากการทำอาหารสามารถทำลายวิตามินบีได้ และศัตรูอื่นของวิตามินบี1 ได้แก่ คาเฟอีน แอลกอฮอล์ วิธีการปรุงอาหาร อากาศ น้ำ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ยาลดกรดในกระเพาะ ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfonamides)

คำแนะนำเกี่ยวกับวิตามินบี 1

  • คนที่เป็นสิงห์อมควัน นักดื่ม หรือรับประทานอาหารหวานจัดเป็นประจำ ร่างกายจะต้องการวิตามินบี 1 มากกว่าปกติ
  • หญิงสาวที่กำลังตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือรับประทานยาคุมกำเนิด จะต้องการวิตามินบี 1 มากกว่าปกติ
  • คนที่รับประทานยาลดกรดในกระเพาะหลังอาหารเย็นเป็นประจำ อาจทำให้ร่างกายไม่ได้รับวิตามินบี 1 เท่าที่ควร
  • สำหรับในสภาวะเครียดทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล การบาดเจ็บ หรือหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยควรรับประทานวิตามินบีรวม เพื่อลดอาการดังกล่าว

วิตามินบี 2

ข้อเท็จจริง

  • วิตามินบี 2 เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ ถูกดูดซึมได้ง่าย ปริมาณที่ถูกขับออกขึ้นอยู่กับความต้องการของร่างกาย และอาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการสูญเสียโปรตีนเช่นเดียวกับวิตามินบีตัวอื่น
  • ร่างกายไม่เก็บสะสมวิตามินบี 2 จึงควรรับประทานวิตามินบี 2 เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นทางอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • มีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัม (มก.)
  • ข้อแตกต่างระหว่างวิตามินบี 1 กับวิตามินบี 2 คือ วิตามินบี 2 จะไม่ถูกทำลายโดยความร้อน ปฏิกิริยาออกซิเดชัน หรือกรด แต่ถูกแสงสว่างทำลายได้โดยง่าย
  • สำหรับผู้ใหญ่ปกติ ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 1.2-1.7 มิลลิกรัม
  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 1.6 มิลลิกรัม
  • สำหรับหญิงให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 1.8 มิลลิกรัม ใน 6 เดือนแรก และ 1.7 มิลลิกรัมใน 6 เดือนหลัง
  • ในสภาวะเครียดร่างกายจะต้องการวิตามินบีเพิ่มเติมขึ้น
  • วิตามินที่พบว่า ชาวอเมริกันขาดมากที่สุดคือ วิตามินบี 2

วิตามินบี 2 ดีต่อร่างกายคุณอย่างไร

  • ช่วยในกระบวนการเจริญเติบโตและสืบพันธุ์
  • ส่งเสริมสุขภาพผิวพรรณ เล็บ และเส้นผม
  • ช่วยกำจัดอาการเจ็บแสบในปาก ริมฝีปาก และลิ้น
  • ช่วยเสริมประสิทธิภาพการมองเห็น และบรรเทาอาการอ่อนล้าของสายตา
  • ทำงานร่วมกับสารอื่นๆ ในการเผาผลาญอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และโปรตีน
  • ช่วยลดความเจ็บปวดจากอาการปวดศีรษะจากไมเกรน

โรคจากการขาดวิตามินบี 2

โรคปากนกกระจอก 

แหล่งจากธรรมชาติที่ดีที่สุด

นม ตับ ชีส ผักใบเขียว ปลา ไข่ โยเกิร์ต ถั่ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

  • มีวางจำหน่ายทั้งแบบปริมาณสูงและต่ำ ขนาดที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ 100 มิลลิกรัม เช่นเดียวกับวิตามินบีอื่นๆ
  • วิตามินบี 2 จะทำงานได้ดีที่สุด เมื่อรับประทานร่วมกับวิตามินบีตัวอื่นอย่างสมดุล
  • ขนาดยาที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 100-300 มิลลิกรัม

อาการเป็นพิษและสัญญาณเตือนว่ารับประทานมากไป

ปัจจุบันยังไม่พบอาการเป็นพิษจากวิตามินบี 2

อาการของการมีระดับวิตามินบี 2 ในร่างกายสูงเกินคือ คัน รู้สึกชา

ศัตรู

แสง โดยเฉพาะแสงแดด หรือแสงยูวี (Ultraviolet Radiation: UV) และความเป็นด่างจะทำลายวิตามินบี 2 ได้ (ขวดบรรจุนมแบบทึบที่ใช้ในปัจจุบัน ช่วยป้องกันไม่ให้วิตามินบี 2 ถูกทำลายได้)

ศัตรูตามธรรมชาติอื่นๆ ได้แก่ น้ำ (วิตามินบี 2 จะถูกเจือจางในน้ำที่ประกอบอาหาร) ยาในกลุ่มซัลฟา ฮอร์โมนเอสโตรเจน แอลกอฮอล์

คำแนะนำเกี่ยวกับวิตามินบี 2

  • หากคุณกำลังรับประทานยาคุมกำเนิด ตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ควรรับประทานวิตามินบี 2 เพิ่มขึ้น
  • หากคุณรับประทานเนื้อแดง หรือผลิตภัณฑ์จากนมวัวเพียงเล็กน้อย ควรพยายามรับประทานวิตามินบี 2 ให้มากขึ้น
  • มีความเป็นไปได้สูงที่ร่างกายจะขาดวิตามินบี 2 หากคุณจำกัดอาหารเป็นเวลานานเพื่อรักษาแผล หรือเบาหวาน (หากคุณกำลังรับการรักษาโรคใดใดอยู่ก็ตาม ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการรับประทานอาหาร)
  • สภาวะเครียดทุกประเภททำให้ร่างกายต้องการวิตามินบีรวมเพิ่ม
  • วิตามินชนิดนี้ทำงานร่วมกับวิตามินซี วิตามินบี 3 (ไนอะซิน) และบี 6 ได้ดีที่สุด
  • หากคุณกำลังรับประทานยาต้านมะเร็ง เช่น เมโทเทรกเซต (Methotrexate) การรับประทานวิตามินบี 2 มากเกินไปอาจลดประสิทธิภาพของยา
  • หากคุณกำลังรับประทานยาปฏิชีวนะ ร่างกายอาจจะไม่ได้รับวิตามินบี 2 เท่าที่ต้องการ
  • ผลการศึกษาจากศูนย์โรคปวดศีรษะแห่งนิวอิงเเลนด์ (New England Center for Headache) ในเมืองสแตมฟอร์ด รัฐคอนเนตทิคัต พบว่า ผู้ป่วยที่รับประทานวิตามินบี 2 ทุกวัน วันละ 400 มิลลิกรัม จะมีความถี่ระยะเวลา และความรุนแรงของโรคไมเกรนลดลงถึง 50% แต่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 3-4 เดือนจึงจะเห็นผล

9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Vitamin B2: Role, sources, and deficiency. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/219561#1)
[Investigation of vitamin B1, vitamin B2 and niacin levels among children aged 0-3 years old in Chinese urban and rural areas]. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23805509)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย
วิตามินกับการรับประทานอาหาร ที่มีสารต่อต้านริ้วรอย

รับประทานวิตามินเพื่อการชะลอวัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม