ยาสอดช่องคลอด (Vaginal Suppository) มีลักษณะเป็นของแข็ง รูปร่างกลมรี ใช้สอดเข้าไปภายในช่องคลอดเพื่อรักษาอาการต่างๆ โดยอาศัยสภาวะที่เหมาะสมในช่องคลอด อุณหภูมิร่างกายจะช่วยให้ยาค่อยๆ ถูกดูดซึมในรูปของเหลวอย่างเหมาะสม และออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็วตามเป้าหมายการรักษา แม้ยาสอดช่องคลอดจะให้ผลได้เจาะจง เฉพาะที่ แต่ก็ควรระมัดระวังในการใช้อย่างมาก และมียาสอดช่องคลอดบางตัวต้องได้รับการสั่งยาจากแพทย์เท่านั้น ไม่สามารถซื้อหามาใช้เองได้ เนื่องจากจะเป็นอันตรายถึงชีวิต
ตัวอย่างชื่อยาสอดช่องคลอด
- ยาโคลไทรมาโซล (Clotrimazole): อยู่ในจำพวกยาต้านเชื้อรา
ข้อบ่งใช้ในการใช้ยา- รักษาอาการคันช่องคลอดจากเชื้อรา คันบริเวณผิวหนังในร่มผ้า
- รักษาการติดเชื้อราภายในช่องคลอด มีตกขาวสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม
- รักษาการติดเชื้อรา เช่น เดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophyte) ยีสต์ ( Yeast) และเชื้อราอื่นๆ อีกทั้งยังได้ผลต่อเชื้อแบคทีเรีย ไตรโคโมแนส (Trichomonas vaginalis) ที่ทำให้เกิดช่องคลอดอักเสบ
วิธีการใช้
แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจกระชับช่องคลอด ปรับสีผิวจุดซ่อนเร้นวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 475 บาท ลดสูงสุด 90%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
กด- ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่อ่อน แล้วล้างทำความสะอาดบริเวณช่องคลอด จากนั้นใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง
- นอนอยู่ในท่าเตรียมพร้อมสอดยาด้วยการนอนหงาย งอเข่าขึ้น และแยกเท้าออกจากกันเล็กน้อย
- ค่อยๆ สอดเม็ดยาเข้าไปในช่องคลอด และใช้นิ้วดันยาให้ลึกเข้าไป เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการสอดยา
ข้อดี: เป็นการรักษาเชื้อราเฉพาะที่บริเวณช่องคลอดที่ได้ผลดี โดยส่วนใหญ่จะใช้ยาสอดโคลไทรมาโซล (Clotrimazole) ขนาด 500 mg สอดทางช่องคลอด ก่อนนอน เพียงครั้งเดียว ก็จะสามารถรักษาอาการติดเชื้อราภายในช่องคลอดให้หายเป็นปกติได้
ข้อเสีย: อาจมีผิวหนังลอก คัน ผื่น บวมน้ำ ผื่นแดง ไม่สบายตัว ผิวไหม้ ระคายเคือง ปวดอุ้งเชิงกราน มีเลือดออกจากช่องคลอด จากการใช้ยาสอดทางช่องคลอดได้
- ยามิโซพรอสทอล (Misoprostol) อยู่ในจำพวกยายุติการตั้งครรภ์ จำเป็นต้องจ่ายโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น
ข้อบ่งใช้ในการใช้ยา- ใช้ในการชักนำการคลอด โดยพิจารณาจากภาวะของมารดาและทารกเป็นสำคัญ **ยานี้ต้องได้รับการจ่ายโดยแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น เพราะอาจทำให้เกิดภาวะตกเลือดและอันตรายถึงชีวิตได้
- ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) ยาคลินดามัยซิน (Clindamycin) อยู่ในจำพวกยาปฎิชีวนะ ออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย
ข้อบ่งใช้ในการใช้ยา- ใช้รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคช่องคลอดอักเสบ หรือปากมดลูกอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
- รักษาอาการตกขาวมีสีหรือกลิ่นผิดปกติ เช่น สีเขียว มีกลิ่นเหม็นคาวปลา เป็นต้น
- รักษาอาการปวดท้องน้อยบริเวณอุ้งเชิงกราน จากภาวะช่องคลอดอักเสบ
วิธีการใช้ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบรับประทาน ระยะเวลา 7-14 วัน แต่ก็สามารถให้การรักษาในรูปแบบสอดทางช่องคลอดได้เช่นกัน ขึ้นกับแพทย์ผู้สั่งการรักษา โดยวิธีการใช้แบบสอดทางช่องคลอด ทำเช่นเดียวกันกับยาสอดต้านเชื้อรา
ข้อดี: เป็นการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด
ข้อเสีย: การใช้ยาปฎิชวนะเป็นระยะเวลานอน จะทำให้ช่องคลอดเสียสมดุลของแบคทีเรียประจำถิ่นได้ มีผลให้เกิดการระคายเคือง และการติดเชื้ออื่นๆ ตามมา เพราะฉะนั้นควรได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง
สรรพคุณของยาสอดช่องคลอด
- รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา
- บรรเทาอาการช่องคลอดแห้ง
- ยาคุมกำเนิดชนิดสอดทางช่องคลอด
ผลข้างเคียงของการใช้ยาสอดช่องคลอด
ยาสอดช่องคลอดอาจก่อให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
- ระคายเคืองในช่องคลอด ตกขาวมีสีหรือกลิ่นผิดปกติ อาจเกิดได้หลากหลายปัจจัย เช่น ตัวผู้ป่วยเองที่มีช่องคลอดง่ายต่อการระคายเคือง หรือติดเชื้อมาก่อนจากการรักษาสมดุลได้ไม่ดีของแบคทีเรียประจำถิ่น การสวนล้าง หรือเกิดจากยาออกฤทธิ์ จากสภาวะที่เหมาะสมในช่องคลอด จึงมีตกขาวสี/กลิ่นผิดปกติไป หรือเกิดจากอาการแพ้ที่บริเวณเยื่อบุช่องคลอด มีอาการอักเสบ แดง บวม คัน เป็นต้น
- แสบช่องคลอด หรือช่องคลอดแห้ง เป็นได้จากการระคายเคือง การติดเชื้อของเยื่อบุช่องคลอดเอง และจากการใช้ยาสอดทางช่องคลอด
- เกิดอาการแพ้ยา เช่น ลมพิษ ผื่นคัน พุพอง ผิวหนังบวมแดง ผิวลอก หายใจลำบาก ริมฝีปากบวม หน้าบวม ลิ้นบวม คอบวม อาจมีไข้ มีปัญหาในการหายใจ แน่นหน้าอกหรือลำคอ หายใจเสียงดัง
บางครั่งยาสอดช่องคลอดอาจไม่ได้ผลการรักษาเต็มที่ เนื่องจากการขยับตัวในอิริยาบถต่างๆ เคลื่อนไหวร่างกายมีผลต่อการดูดซึมของยา หรืออาจทำให้ยาไหลออกมาภายนอก ดังนั้นจำเป็นต้องได้รับยาทางอื่นร่วมด้วย เช่นยาทาเฉพาะที่ ยารับประทาน และหากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ทันที
ตอบคำถามพบบ่อย
ยาสอดช่องคลอดช่วยกระชับช่องคลอดได้จริงหรือ?
การที่รู้สึกว่าช่องคลอดกระชับเมื่อใช้ยาสอด แท้จริงไม่ใช่ผลการรักษาจากยาโดยตรง แต่เป็นอาการช่องคลอดแห้งลง น้ำหล่อลื่นน้อยลง เยื่อบุช่องคลอดบวม ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่ไม่ถึงประสงค์และเป็นอันตราย เพราะหากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีอาการดังกล่าว อาจทำให้ช่องคลอดถลอกเป็นแผลและอาจติดเชื้อได้
อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงจากการใช้ยาสอดช่องคลอดจะค่อยๆ ลดลงและหายไปได้เองหลังหยุดใช้ยา
ยาสอดช่องคลอดแบบสมุนไพรมีไหม ดีหรือไม่?
ขึ้นชื่อว่าสมุนไพร คนส่วนใหญ่มักคิดว่าปลอดภัย เนื่องจากไม่ได้เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี แต่การผสมสมุนไพรที่มีฮอร์โมนเพศหญิงจะมีผลต่อหลายระบบในร่างกาย ไม่คุ้มกับผลเสียที่เกิดขึ้น บางครั้งยาสอดที่โฆษณาว่าสามารถช่วยกระชับช่องคลอดยังมีการผสมสารส้มเพื่อช่วยลดน้ำหล่อลื่น ทำให้เนื้อเยื่อบวมอีกด้วย
ที่สำคัญ ยาสอดสมุนไพรเหล่านั้นยังไม่มีงานวิจัยใดๆ รองรับ จึงไม่สามารถรับประกันได้ว่าใช้แล้วจะปลอดภัย