กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

ระบบทางเดินปัสสาวะ

ระบบทางเดินปัสสาวะมีกระบวนการทำงานอย่างไร และสาเหตุความผิดปกติประกอบด้วยอะไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ธ.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ระบบทางเดินปัสสาวะ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ระบบทางเดินปัสสาวะมีหน้าที่สำคัญคือ ขับถ่ายของเสียและสารต่างๆ ที่เกินความต้องการออกไปจากร่างกาย เพื่อรักษาสมดุลของสาร และกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ของร่างกายให้เป็นปกติ
  • ท่อปัสสาวะของผู้ชายจะมีความยาวมากกว่าท่อปัสสาวะของผู้หญิง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ชายสามารถอั้นปัสสาวะได้นานกว่าผู้หญิง และมีโอกาสเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อได้น้อยกว่าผู้หญิง
  • ความผิดปกติที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะจากการติดเชื้อ หรืออุดตัน จะทำให้มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะ เช่น ถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะออกมาทีละน้อยแต่บ่อย บางครั้งอาจถ่ายปัสสาวะไม่ออก ปวดบริเวณท่อปัสสาวะทั้งขณะถ่ายปัสสาวะและไม่ได้ถ่ายปัสสาวะ
  • อาการที่ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลัง หรือมีไข้เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งว่า ได้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณไตแล้ว ต้องรีบทำการรักษาอย่างเร่งด่วน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจไต

ระบบทางเดินปัสสาวะมีหน้าที่สำคัญคือ ขับถ่ายของเสียและสารต่างๆ ที่เกินความต้องการออกไปจากร่างกาย เพื่อรักษาสมดุลของสาร และกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ของร่างกายให้เป็นปกติ 

ระบบทางเดินปัสสาวะจึงเปรียบเสมือนกับโรงบำบัดน้ำเสียของร่างกายนั่นเอง ลองคิดดูว่า จะเกิดอะไรขึ้นบ้างหากระบบปัสสาวะเกิดการติดเชื้อ หรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยอะไรบ้าง

ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ โดยมีกระบวนการทำงานดังนี้

  • ไต มีลักษณะคล้ายเม็ดถั่วแดงอยู่สองข้างของเอว เป็นส่วนที่มีเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงใหญ่ที่นำเลือดของร่างกายทั้งหมดมาคัดกรองเอาส่วนที่ต้องใช้เก็บไว้ และเอาส่วนเกิน หรือส่วนที่ไม่ใช้ออกจากร่างกาย โดยเลือดทั้งหมดจะไหลผ่านเข้าสู่ไตไปที่เนื้อไต ซึ่งประกอบด้วยหน่วยกรองเล็กๆ มากมายภายในไต เรียกว่า “เนฟรอน (Nephron)” 
  • เนฟรอน ทำหน้าที่แยกน้ำ เกลือแร่ และสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกลับเข้าไปในร่างกาย การดูดซึมกลับของสารโซเดียมยังเป็นตัวควบคุมความดันโลหิตในร่างกายอีกด้วย ส่วนน้ำ สารที่เป็นของเสีย และสารต่างๆ ที่เกินจากที่ร่างกายต้องการใช้จะถูกขับออกมาในรูปของปัสสาวะ รวบรวมเข้าสู่กรวยไต ซึ่งอยู่ในเนื้อไตเช่นกัน
  • กรวยไต มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ภายในประกอบด้วยหน่วยกรองภายในไต หรือเนฟรอน จำนวนข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย น้ำปัสสาวะที่ผ่านจากเนฟรอนมาที่กรวยไตนี้ จะไหลลงสู่ท่อไตที่อยู่สองข้างของเอว ไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณท้องน้อย
  • กระเพาะปัสสาวะ จะสามารถเก็บน้ำปัสสาวะได้ประมาณ 1 ลิตร เมื่อกระเพาะปัสสาวะเต็มก็จะกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะออกสู่ภายนอกร่างกาย

ความแตกต่างระหว่างระบบทางเดินปัสสาวะของผู้หญิงและผู้ชาย

  • บริเวณรอยต่อของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะของผู้ชาย จะมีต่อมชนิดหนึ่งโอบรอบท่อปัสสาวะเรียกว่า "ต่อมลูกหมาก" ในขณะที่ระบบทางเดินปัสสาวะของหญิงจะไม่มีต่อมนี้ ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่สร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ และเป็นที่พักของอสุจิ
  • ท่อปัสสาวะของผู้ชายจะมีความยาวมากกว่าท่อปัสสาวะของผู้หญิง ซึ่งนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ชายสามารถอั้นปัสสาวะได้นานกว่าผู้หญิง และมีโอกาสเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบติดเชื้อได้น้อยกว่าผู้หญิง

ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ

ความผิดปกติที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่มาจาก 2 สาเหตุ ได้แก่ 

  • เกิดการอุดตัน
  • การติดเชื้อ 

ทั้งสองอย่างนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติในการขับถ่ายปัสสาวะ

ลักษณะอาการความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ

ความผิดปกติที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะ มักทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติในการขับถ่ายปัสสาวะ หรือที่เรียกว่า “ขัดเบา” คือการถ่ายปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะออกมาทีละน้อย แต่บ่อย 

บางครั้งอาจถ่ายปัสสาวะไม่ออก ปวดบริเวณท่อปัสสาวะ ทั้งขณะถ่ายปัสสาวะ และไม่ได้ถ่ายปัสสาวะ 

ลักษณะการถ่ายปัสสาวะจะผิดปกติในผู้ชายปัสสาวะจะออกมาเป็นหยด ลำปัสสาวะไม่พุ่ง ในขณะที่ผู้หญิง ปัสสาวะจะออกเป็นหยด ทีละนิด ปริมาณปัสสาวะอาจมาก หรือน้อยผิดปกติก็ได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตลอดจนถึงมีความผิดปกติของน้ำปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะขุ่นขาว มีสีคล้ายน้ำนมที่เจือจาง มีความรู้สึกอ่อนเพลีย บางรายปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลัง มีไข้ 

อาการที่ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลัง หรือมีไข้นี้เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งว่า ได้เกิดการติดเชื้อที่บริเวณไตแล้ว 

หากไม่แน่ใจว่า อาการที่คุณเป็นอยู่นั้นเข้าข่ายระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติหรือไม่ หรือยังไม่มีเวลาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย ปัจจุบันเริ่มมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (วีดีโอคอล) แล้ว หรือจะโทรศัพท์ขอคำแนะนำจากแพทย์แบบไม่ต้องเห็นหน้ากัน ก็มีให้บริการแล้วเช่นกัน 

สาเหตุความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ

สาเหตุหลักของความผิดปกติที่เกิดกับระบบทางเดินปัสสาวะ มี 2 ประการ ดังนี้

1.เกิดการอุดกั้นบริเวณทางเดินปัสสาวะ

การอุดกั้นบริเวณทางเดินปัสสาวะ หมายถึง มีสิ่งกีดขวางการไหลของปัสสาวะ หรือน้ำปัสสาวะไหลออกสู่ภายนอกร่างกายไม่ได้ตามปกติ 

กรณีที่ระบบทางเดินปัสสาวะถูกอุดกั้นเรื้อรังรุนแรง ปัสสาวะจะขังอยู่ในร่างกายนาน จนนำไปสู่การติดเชื้อที่ไต ทำให้การทำงานของไตเริ่มผิดปกติ เกิดภาวะไตเสีย ไม่สามารถคัดกรองของเสียออกจากร่างกายได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นั่นทำให้มีของเสียจำนวนมากค้างอยู่ในเลือด และนำไปสู่การสูญเสียในที่สุด

การอุดกั้นระบบทางเดินปัสสาวะ มาจากสาเหตุหลัก ดังนี้

  • เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ 
    นิ่ว เป็นก้อนของสารในร่างกาย ซึ่งมาจากการสะสมพอกพูนของสารบางอย่างในน้ำปัสสาวะ เช่น กรดยูริก (Uric acid) ออกซาเลต (Oxalate) แคลเซียม (Calcium) และไปอุดตันอยู่ตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะปัสสาวะ เนื้อไต และท่อไต ทำให้เกิดการกีดขวางทางเดินของน้ำปัสสาวะ มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • ต่อมลูกหมากโต 
    ต่อมลูกหมากเป็นต่อมที่โอบรอบท่อปัสสาวะบริเวณที่ต่อกับกระเพาะปัสสาวะในผู้ชาย ส่วนระบบทางเดินปัสสาวะในผู้หญิงจะไม่มีต่อมลูกหมาก เมื่อผู้ชายอายุ 50 ปี ขึ้นไป ต่อมลูกหมากมักจะโตแล้วไปบีบท่อปัสสาวะให้แคบลงจนทำให้ปัสสาวะลำบาก มีอาการขัดเบา ซึ่งนับเป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากในโรคที่ทำให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ และมักมีการติดเชื้อร่วมด้วยเสมอ

2. การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ผู้หญิงทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้บ่อยกว่าในผู้ชาย เนื่องจากมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่า ความชื้นรอบบริเวณรูเปิดของท่อปัสสาวะมากกว่า และรูเปิดของท่อปัสสาวะใกล้กับทวารหนักมากกว่า 

โดยภาวะติดเชื้อทางเดินปัสสาวะนั้น จะเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียเข้าไปในทางเดินปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย E. coli (อี. โคไล) 

ความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารนั้น มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง เช่น การรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป การดื่มน้ำน้อย การไม่ออกกำลังกาย การอั้นปัสสาวะบ่อยๆ การไม่รักษาความสะอาดหลังขับถ่าย 

หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม ย่อมสามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารได้

อย่างไรก็ตาม หากปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแล้ว แต่ยังเกิดอาการเหล่านี้ หรือมีอาการที่รุนแรงขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุอื่นๆ ต่อไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจไต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK), The Urinary Tract & How It Works (https://www.niddk.nih.gov/health-information/urologic-diseases/urinary-tract-how-it-works), 5 May 2020.
Mayo Clinic, Male urinary system (https://www.mayoclinic.org/male-urinary-system/img-20007900), 5 May 2020.
Johns Hopkins Medicine, Anatomy of the Urinary System (https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/anatomy-of-the-urinary-system)), 5 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ระบบทางเดินปัสสาวะ

เข้าใจการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบปัสสาวะมีอะไรบ้าง?

อ่านเพิ่ม