กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์

เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สาม นับว่าเป็นช่วงเวลาอีกไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น คุณก็จะให้กำเนิดทารกตัวน้อยๆ ของคุณ แต่ช่วงนี้ก็ถือเป็นช่วงหนึ่งของการตั้งครรภ์ที่ท้าทายที่สุดเช่นกัน

 ในบทความนี้จะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ ทั้งอาการที่ถือว่าปกติ และอาการที่อาจจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย

ปวดหลัง

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ทำให้เกิดแรงกดไปที่หลัง ทำให้รู้สึกเจ็บและปวดได้ คุณยังอาจรู้สึกถึงความสบายตัวที่บริเวณกระดูกเชิงกรานและสะโพกของคุณ เพราะว่าเส้นเอ็นบริเวณนั้นมีการคลายตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดลูก ในการลดแรงกดไปที่หลังของคุณ แนะนำให้ฝึกท่าทางของร่างกายให้เหมาะสม โดยการนั่งหลังตรงและนั่งบนเก้าอี้ที่รองรับส่วนหลังได้เป็นอย่างดี การนอนหลับตอนกลางคืน ให้นอนตะแคงข้างโดยให้วางหมอนไว้ระหว่างขา สวมรองเท้าส้นเตี้ย สวมใส่สบาย และรองรับน้ำหนักตัวได้เป็นอย่างดี ในการบรรเทาอาการปวดหลัง ให้ใช้การประคบร้อน และให้สอบถามแพทย์ก่อนว่าคุณสามารถรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลได้หรือไม่

เลือดออกทางช่องคลอด

เลือดออกทางช่องคลอด บางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะร้ายแรง ได้แก่ ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa), ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด (placental abruption) คือรกแยกตัวออกจากผนังมดลูก หรือ การคลอดก่อนกำหนด (preterm labor) ดังนั้นให้ไปพบแพทย์ทันทีที่พบว่ามีเลือดออกทางช่องคลอด

เจ็บครรภ์หลอก (Braxton-Hicks Contractions)

คุณอาจรู้สึกถึงอาการบีบตัวเล็กน้อย ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมของมดลูกสำหรับการคลอดจริงที่กำลังจะมาถึงในอนาคต อาการเจ็บครรภ์หลอก หรือ Braxton-Hicks Contractions มักจะไม่แรงเท่ากับการบีบตัวของมดลูกขณะคลอดจริง เพียงแต่อาจจะรู้สึกหลายครั้ง สิ่งที่แตกต่างที่สำคัญคือ การคลอดจริงจะรู้สึกถึงแรงบีบตัวที่มากกว่า และมากถึงเรื่อยๆ  หากคุณมีอาการหน้าแดง และหายใจไม่ออกภายหลังอาการบีบตัวนี้ หรือเป็นอย่างต่อเนื่อง เป็นประจำ แนะนำให้ไปพบแพทย์  

หน้าอกขยายใหญ่ขึ้น

เมื่อสิ้นสุดการตั้งครรภ์ หน้าอกจะใหญ่ขึ้นประมาณ 0.90 กิโลกรัม โดยในช่วงนี้ให้สวมใส่ยกทรงที่รองรับหน้าอกได้เป็นอย่างดี หากใกล้วันครบกำหนดคลอด คุณอาจเริ่มสังเกตเห็นของเหลวสีเหลืองออกมาจากหัวนมของคุณ เราเรียกของเหลวนี้ว่า น้ำนมเหลือง (colostrum) ซึ่งเป็นแหล่งของสารอาหารสำหรับทารกในช่วงไม่กี่วันแรกหลังคลอด

ตกขาว

คุณอาจเห็นตกขาวทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสที่สามนี้ หากตกขาวที่เกิดขึ้นที่ช่วงนี้มีมากเกินไปจนซึมผ่านกางเกงในของคุณ แนะนำให้ไปพบแพทย์ เมื่อใกล้วันครบกำหนดคลอด คุณอาจเห็นตกขาวเหนียว, ใส, หรือมีเลือดปนมากับตกขาว ซึ่งสิ่งที่เห็นนี่คือมูกปากมดลูกที่หลุดออกมา ซึ่งเป็นสัญญาณของปากมดลูกที่คลายตัวเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด หากคุณพบน้ำคร่ำไหลอย่างกะทันหัน นั่นหมายความว่าน้ำคร่ำแตกแล้ว (ประมาณ 8 % ของหญิงตั้งครรภ์จะมีน้ำคร่ำแตกก่อนที่มีจะมีการบีบตัวเกิดขึ้น) หากพบว่าน้ำคร่ำแตก ให้ไปพบแพทย์ทันทีให้ไวที่สุด

อาการอ่อนเพลีย

แม้ว่าในช่วงไตรมาสที่สองคุณจะรู้สึกดีขึ้น รู้สึกมีเรี่ยวแรง แต่อาการอ่อนเพลียจะกลับมาอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่สามนี้เอง น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น การตื่นกลางดึกหลายครั้งเพื่อไปเข้าห้องน้ำ และการจัดการกับความวิตกกังวลในการเตรียมตัวสำหรับทารกที่กำลังจะเกิด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อระดับพลังงานของหญิงตั้งครรภ์ ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย แนะนำให้รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายรู้สึกมีพละกำลังมากขึ้น หากคุณรู้สึกอ่อนเพลีย แนะนำให้ลองงีบหลักสักครู่หนึ่ง หรืออย่างน้อยให้นั่งลง และผ่อนคลายซักครู่หนึ่ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัสสาวะบ่อย

ในตอนนี้ทารกของคุณจะตัวใหญ่ขึ้นมาก โดยทารกอาจจะมีการกลับหัวลงมาที่บริเวณกระเพาะปัสสาวะของคุณ แรงกดที่เกิดขึ้นนี้จะทำให้คุณรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำบ่อยครั้งขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน คุณอาจพบปัสสาวะเล็ดราดขณะไอ จาม หัวเราะ หรือออกกำลังกายได้ สำหรับการลดแรงกดที่เกิดขึ้นและป้องกันไม่ให้ปัสสาวะเล็ดราด แนะนำให้เข้าห้องน้ำทุกครั้งที่รู้สึกปวดปัสสาวะและปัสสาวะให้สุดในแต่ละครั้งที่ปัสสาวะ ให้หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำทันทีก่อนนอน เพื่อลดโอกาสการเข้าห้องน้ำกลางดึก สวมใส่ผ้าอนามัยเพื่อดูดซับปัสสาวะเล็ดราดที่อาจเกิดขึ้น หากคุณรู้สึกเจ็บ แสบขณะปัสสาวะ แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ 

แสบร้อนกลางอก และ ท้องผูก

อาการทั้งสองนี้เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยฮอร์โมนนี้จะไปคลายกล้ามเนื้อบางส่วนของร่างกาย ได้แก่ กล้ามเนื้อหูรูดที่หลอดอาหาร ซึ่งปกติหูรูดจะหดตัวเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารและกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารกลับขึ้นมาที่หลอดอาหาร และไปคลายกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ในการบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอก แนะนำให้รับประทานอาหารให้บ่อยครั้ง แบ่งเป็นมื้อเล็กๆ และหลีกเลี่ยงอาหารมัน เผ็ด และอาหารรสจัด สำหรับอาการท้องผูก แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีใยอาหารมาก ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้อุจจาระนิ่มขึ้น  ถ้าอาการแสบร้อนกลางอกหรืออาการท้องผูกรบกวนคุณมาก แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ว่ามียาใดบ้างที่สามารถใช้บรรเทาอาการได้อย่างปลอดภัยระหว่างการตั้งครรภ์

ริดสีดวงทวารหนัก

ริดสีดวงทวารหนักคือเส้นเลือดขอดชนิดหนึ่ง คือมีการบวมของเส้นเลือดรอบๆ ทวารหนัก เส้นเลือดดำนี้จะใหญ่ขึ้นระหว่างตั้งครรภ์เพราะว่ามีเลือดจำนวนมากไหลผ่าน และเกิดจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มแรงกดที่บริเวณนี้ ในการบรรเทาอาการคันและอาการเจ็บปวด ไม่สบายตัวที่เกิดขึ้น แนะนำให้ลองนั่งแช่ในน้ำอุ่น สำหรับการใช้ยารักษาให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเกี่ยวกับการใช้ยาทาชนิดขี้ผึ้ง หรือการใช้ยาระบายชนิด stool softener

หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก

เมื่อมดลูกขยายตัวขึ้น จะขยายขึ้นด้านบน จนกว่าจะอยู่ใต้ต่อกระดูกซี่โครง ทำให้พื้นที่ว่างสำหรับปอดนั้นลดลง ทำให้เกิดความดันเพิ่มขึ้นที่ปอด ทำให้หายใจลำบาก การออกกำลังกายสามารถช่วยเรื่องการหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบากได้ คุณยังสามารถทดลองนอนหนุนหัวและหัวไหล่ไว้ใต้หมอนขณะนอนหลับเพื่อช่วยเรื่องนี้ได้

มองเห็นเส้นเลือดฝอย spider vein และเส้นเลือดขอด

ระหว่างการตั้งครรภ์ ระบบไหลเวียนเลือดจะส่งเลือดไปยังทารกที่กำลังเติบโตเพิ่มขึ้น โดยเลือดส่วนเกินจะทำให้เห็นเป็นเส้นเลือดฝอยรวมกันเป็นกลุ่มสีแดง มองเห็นที่ผิวหนัง หรือเรียกว่า spider veins โดย spider veins อาจมีอาการแย่ลงในไตรมาสที่สามได้แต่จะค่อยๆ หายไปเมื่อคลอดลูกแล้ว

แรงกดที่ขาที่มาจากการเติบโตของทารกอาจทำให้เส้นเลือดที่ขาบวมและมองเห็นเป็นสีน้ำเงินหรือสีม่วงที่เส้นเลือด เราเรียกว่า เส้นเลือดขอด แม้ว่าคุณจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดเส้นเลือดขอดได้ แต่คุณสามารถป้องกันไม่ให้อาการแย่ลงได้ โดยการ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • เคลื่อนไหวร่างกายตลอดวัน
  • สวมถุงน่องชนิดพิเศษเพื่อประคองเส้นเลือดดำ
  • ยกขาวางไว้บนเก้าอี้เมื่อต้องนั่งเป็นเวลานาน

เส้นเลือดขอดควรจะมีอาการดีขึ้นภายในไม่กี่เดือนหลังคลอดลูกแล้ว

บวม

ในช่วงเวลานี้ คุณอาจรู้สึกว่าแหวนของคุณคับแน่นขึ้น และอาจสังเกตเห็นข้อเท้าและใบหน้าของคุณบวมขึ้น อาการบวมเล็กน้อยนี้เป็นผลมาจากของเหลวส่วนเกินคั่งในร่างกาย (บวม) ในการลดอาการบวม ให้วางเท้าบนเก้าอี้ หรือกล่อง ตลอดเวลาที่คุณนั่ง และนอนยกขาสูงขณะนอนหลับ ถ้าคุณมีอาการบวมอย่างกะทันหัน ให้ไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนอันตรายขณะตั้งครรภ์

น้ำหนักขึ้น

น้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มในช่วงไตรมาสที่สามคือ 0.2 – 0.45 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 11.3 – 15.8 กิโลกรัม  (แพทย์อาจแนะนำปริมาณน้ำหนักที่ควรเพิ่มระหว่างตั้งครรภ์มากหรือน้อยกว่านี้ ถ้าก่อนหน้าตั้งครรภ์คุณมีน้ำหนักตัวน้อยหรือมากกว่ามาตรฐาน) น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์จะมาจากน้ำหนักทารก, น้ำหนักรก, น้ำหนักของน้ำคร่ำ, เลือดและของเหลวในร่างกายที่เพิ่มมากขึ้น, และเนื้อเยื่อเต้านมที่เพิ่มขึ้น หากดูเหมือนว่าทารกจะมีขนาดตัวที่เล็กหรือใหญ่เกินไป โดยการสังเกตจากหน้าท้องของคุณ แพทย์จะตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูว่าการเติบโตของทารกในครรภ์เป็นไปอย่างเหมาะสมหรือไม่

สัญญาณเตือนที่ต้องไปพบแพทย์ทันที

อาการต่อไปนี้อาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติขณะตั้งครรภ์ได้ อย่ารอที่จะไปพบแพทย์ตามที่นัด แต่ให้ไปพบแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการดังต่อไปนี้:

  • ปวดท้อง หรือเป็นตะคริวอย่างรุนแรง
  • คลื่นไส้หรืออาเจียนรุนแรง
  • เลือดออก
  • เวียนศีรษะอย่างรุนแรง
  • เจ็บ แสบ ขณะปัสสาวะ
  • น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็วเกินไป (มากกว่า 2.9 กิโลกรัมต่อเดือน) หรือน้ำหนักตัวเพิ่มน้อยเกินไป

 https://www.webmd.com/baby/guide/third-trimester-of-pregnancy#1  


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม