กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Abruptio Placenta (รกลอกตัวก่อนกำหนด)

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที

รกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placenta) เป็นภาวะที่รอกหลุดจากผนังมดลูกก่อนกำหนดการคลอดหรือเป็นการลอกตัวของรกที่เกาะในตำแหน่งปกติหลังอายุครรภ์ 20-24 สัปดาห์จนถึงระยะคลอดทารก

สาเหตุของภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักพบภาวะนี้ร่วมกับการได้รับบาดเจ็บ มีมดลูกผิดปกติหรือมีเนื้องอกในมดลูก มีภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันเลือดสูง ขาดอาหาร และพบมากในการตั้งครรภ์ระยะหลังๆ หรืออายุครรภ์มากกว่า 7 เดือนขึ้นไป หรือบางทีอาจเกิดจากสายสะดือเด็กสั้นเกินไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

ปวดท้อง ท้องเกร็งแข็งเป็นพักๆ คล้ายการคลอดบุตร อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดหากมีเลือดออกมากจะมีอาการซีด ตัวเย็น เหงื่อออก ชีพจรเต้นเร็ว และความดันเลือดตกหรืออาจมีอาการช็อก เมื่อฟังเสียงหัวใจทารกในท้องจะไม่ได้ยิน

การวินิจฉัยโรคภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

แพทย์จะสอบถามอาการและประวัติของผู้ป่วย โดยผู้ที่มีภาวะนี้มักเคยมีเลือดออกทางช่องคลอดร่วมกับการเจ็บครรภ์ มดลูกหดรัดตัวแข็งตลอดเวลา ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ต่ำ และเมื่อตรวจอัลตราซาวนด์ (Ultrasound) จะพบว่าตำแหน่งของรกอยู่ส่วนยอดของมดลูก ระดับของส่วนนำ (Station) จะลงอุ้งเชิงกราน

การรักษาภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด

หากมีอาการช็อก แพทย์จะให้น้ำเกลือและให้นอนพักจนกว่าเลือดจะหยุด หากเลือดออกมากจะให้เลือดและทำการผ่าตัดหรือหาวิธีเอาเด็กออกโดยด่วน จากนั้นจะดูแลให้ผู้ป่วยนอนพักในท่าตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงรกมากที่สุด รวมทั้งประเมินระดับความเจ็บปวดเพื่อลดความเจ็บปวดให้ผู้ป่วย 

หากแพทย์วางแผนให้เอาเด็กออก จะมีการดูแลช่วยเหลือเพื่อเร่งคลอด ซึ่งผู้ป่วยอาจคลอดทางช่องคลอดหรือคลอดทางหน้าท้องก็ได้ โดยจะมีการติดตามการหดรัดตัวของมดลูก ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับสารน้ำ และติดตามผลการตรวจอัลตราซาวน์หรือการเจาะน้ำคร่ำ อีกทั้งต้องดูแลให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะช็อก


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Placental Abruption (Abruptio Placentae). National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK482335/)
Placental Abruption Symptoms, Causes & More - Cleveland Clinic (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/9435-placental-abruption)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ตอนนนี้ท้อง7เดือนกว่าค่ะแต่เจ็บตรงจิมิเปนไรป่าวค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตอนนี้ตังครรภ์ได้ 35 วีคค่ะ น้ำหนักเด็กตอนนี้ 2,249 กรัม แม่สูง 142 ถ้าจะคลอดธรรมชาติสามารถคลอดเองได้ไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการคันในช่องคลอดเกิดจากสาเหตุใดบ้าง และมีวิธีรักษาอย่างไร
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
หลังคลอดบุตรตอนนี้ผ่านมา3ปีกว่าแล้วค่ะแต่บางทีเวลาเดินจะมีลมออกทางช่องคลอดพยายามขมิบแต่ก็ไม่หายต้องทำยังไงค่ะกังวลมากค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ตอนนี้ตั้งครรภ์อยู่ค่ะ จะสอบถามวิธีรักษสุขภาพและเตรียมตัวก่อนคลอดต้องทำอย่างไรบ้าง?
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)