รวมคำศัพท์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

เผยแพร่ครั้งแรก 3 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รวมคำศัพท์เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative treatment

คือการรักษาผู้ป่วยตามอาการ เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น ลดความเจ็บปวดโดยไม่ได้รักษาตัวโรค ซึ่งจะเป็นทั้งการรักษาดูแลทางจิตใจ ทางร่างกาย และจิตวิญญาณ ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ยืดอายุไขของผู้ป่วย ซึ่งจะให้ควบคู่กับกับยารักษามะเร็งไปตั้งแต่การเริ่มต้นการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือการตรวจแป๊บสเมียร์ (Pap smear) 

คือการตรวจหาเซลล์มะเร็งบริเวณปากมดลูกรวมไปถึงเซลล์บริเวณช่องท้องเพื่อหาความผิดปกติ เป็นการตรวจที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ทำได้ในคลินิกแพทย์ โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างจากปากมดลูก เพื่อนำมาตรวจหาผ่านกล้องจุลทรรศน์ โดยแนะนำให้เข้าตรวจทุก 2 ปี เริ่มเมื่ออายุ 21 ปี ผลความผิดปกติจากเซลล์ช่องท้องนั้นไม่ได้หมายถึงการเป็นมะเร็งเสมอไปและอาจจะหมายถึงมีการอักเสบ หรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็ได้   

การตอบสนองบางส่วน (Partial response) 

ขนาดก้อนยุบลง หรือมีการตอบสนองต่อยา แต่ก็ยังมีก้อนอยู่

กระดูกหักจากพยาธิสภาพ (Pathologic Fracture) 

ภาวะกระดูกหักที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของกระดูกหรือการป่วยเป็นโรคที่ทำให้มวลกระดูกเสื่อมลง ซึ่งเกิดได้บ่อยเนื่องจากการแพร่ของมะเร็งไปที่กระดูก หรือเกิดจาก โรคกระดูกอ่อน หรือโรคกระดูกนิ่ม (Osteomalacia) หรือ โรคกระดูกอักเสบ (osteomyelitis) ก็ได้

เพ็ท สแกน (PET scan) 

ย่อมาจาก  Positron Emission Tomography เป็นการถ่ายภาพสีสามมิติของส่วนต่างๆ ในร่างกายโดยการใช้สารกำมันตรังสีมาใช้ในการตรวจจับ โดยสารจะเปล่งรังสีออกมาในบริเวณที่มีมะเร็ง จากนั้นแพทย์จะใช้เครื่องและวิเคราะห์ผลโดยระบบคอมพิวเตอร์

รอยโรคก่อนเกิดมะเร็ง (Precancerous lesion) 

หมายถึงการมีรอยโรคที่บ่งถึงโรคมะเร็งในอนาคตหากไม่ได้รับการรักษา ในมะเร็งผิวหนังจะเริ่มต้นด้วยรอยโรคก่อนเกิดมะเร็งขึ้นก่อน

มะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer) 

มะเร็งจะก่อตัวในเซลล์เนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก (ต่อมในระบบสืบพันธุ์เพศชาย) และเป็นมะเร็งชนิดหลักที่นิยมเป็นในเพศชายที่อายุมากกว่า 60 ปี  โดยส่วนใหญ่มะเร็งจะเจริญอย่างช้าๆและไม่แสดงอาการมาก ทำให้ตรวจหาไม่พบหรือผู้ป่วยไม่รู้ตัว หรือบางรายอาจจะลุกลามอย่างรวดเร็วไปอวัยวะอื่นและมีอาการรุนแรงก็ได้ โดยอาการส่วนมากคือจะปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือดและเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ในรายที่เป็นมากอาจะปวดในกระดูกร่วมด้วย มะเร็งต่อมลูกหมากจะเกิดได้น้อยมากในผู้ชายที่อายุต่ำกว่า 40 ปีเมื่ออายุมากขึ้นความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รังสีรักษา (Radiationtherapy) 

คือการใช้รังสีชนิดไอออนไนซ์ (Ionizing radiation) มาทำลายเซลล์มะเร็งหรือทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง โดยทำได้ทั้งแบบฉายรังสีจากภายเครื่องฉายรังสีสู่ผู้ป่วย (external beam radiotherapy) หรือการฝังสารกำมันตรังสีลงในร่างกายบริเวณใกล้เซลล์มะเร็ง (brachytherapy) โดยสารกำมันตรังสีที่ใช้อาจจะฉีดเข้าสู่กระแสเลือด (systemic radiotherapy) ก็ได้ การใช้รังสีรักษาจะมีความเจาะจงต่อเซลล์มะเร็งเป้าหมาย และไปทำลายพันธุกรรมของเซลล์นั้น ทำให้เซลล์มะเร็งถูกทำลายและตายในที่สุด เซลล์ปกติก็จะฟื้นฟูขั้นมาแทน ซึ่งจะทำโดยแบ่งให้รังสีรักษาหลายๆ ครั้ง เว้นระยะเวลาเพื่อให้เซลล์ปกติได้ฟื้นฟูด้วย

การเป็นซ้ำ (Recurrence) 

เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งซ้ำอีกครั้งหลังจากหายจากโรคได้ระยะหนึ่งจะเรียกว่าการกลับเป็นซ้ำ ซึ่งอาจเกิดขึ้นบริเวณเดิม หรือ บริเวณใหม่ในร่างกายได้

การฝ่อตัว (Regression) 

คือการลดขนาดลงของก้อนมะเร็ง

การกลับเป็นซ้ำ (Relapse) 

คือการกลับมาของมะเร็ง หรืออาการของการเป็นมะเร็งกลับมาหลังจากผ่านช่วงที่ตอบสนองต่อการรักษาดีแล้ว

การไม่มีอาการของโรค (Remission) คือการที่อาการของโรคลดลง โดยมะเร็งเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด เป้าหมายของการรักษามะเร็งคือไม่ให้มีโรคขึ้นอีกในอนาคต ซึ่งหากอาการของโรคนั้นหายไปเลยจะเรียกว่า ไม่มีอาการแบบสมบูรณ์ (complete Remission ) หากอาการลดลงบางส่วนแต่ยังคงมีเซลล์มะเร็งอยู่จะเรียกว่า partial remission

โรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน/เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (sarcoma) คือเป็นมะเร็งในบริเวณกระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ ไขมัน หลอดเลือด หรือบริเวณเนื่อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การตรวจคัดกรอง (Screening) 

คือการตรวจหามะเร็งซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีอาการ ใช้เพื่อตรวจค้นหาเซลล์มะเร็งก่อนที่จะมีอาการรุนแรงขึ้น เพื่อเริ่มรักษาให้เร็วที่สุด โดยการคัดกรองอาจเป็น การตรวจเลือด ปัสสาวะ เมมโมแกรมเพื่อหามะเร็งเต้านม แป๊ปเทสต์เพื่อหามะเร็งปากมดลูกและ การส่องกล้องเพื่อคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในบางครั้งอาจมีการตรวจสอบทางพันธุกรรมด้วยในกลุ่มที่เสี่ยงจะเป็นมะเร็งเนื่องจากเป็นโรคที่ส่งต่อทางพันธุกรรม

โรคมะเร็งชนิดที่ 2 (Secondary tumour) 

หมายถึงโรคมะเร็งที่แพร่กระจายไปสู่ที่ใหม่ที่ไม่ใช่บริเวณเดิมที่เป็น

มะเร็งผิวหนัง (Skin cancer) คือมะเร็งที่เริ่มเป็นจากบริเวณเนื้อเยื่อในผิวหนัง ซึ่งแบ่งได้เป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับชนิดเซลล์ที่เป็นจุดเริ่มต้น เช่น มะเร็งผิวหนังชนิดเซลล์เบซอล (Basal cell carcinoma) ซึ่งอยู่ในชั้นล่างสุดของชั้นผิวอีพิเดอมิส ส่วนมะเร็งผิวหนังชนิดเซลล์ชนิดสแควมัส (squamous cell carcinoma) ซึ่งจะอยู่ชั้นบนของผิวหนัง ซึ่งสาเหตุหลักการเป็นมะเร็งผิวหนังคือรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากดวงอาทิตย์

โรคมะเร็งคงตัว (Stable cancer) 

คือเมื่อก้อนมะเร็งคงตัวไม่โตขึ้นและไม่เล็กลง ไม่มีอาการที่ดีขึ้นหรือรุนแรงขึ้น ไม่มีการแพร่กระจายสู่บริเวณอื่น และไม่มีก้อนใหม่เกิดขึ้น

ระยะของโรคมะเร็ง (Staging) 

คือการพิจาณณาระยะของโรคโดยดูจาก ขนาดและการกระจายของเซลล์มะเร็ง โดยมีระยะจาก 1-4 (I-IV) ตามลำดับขนาด และการลุกลามของโรคไปยังอวัยวะต่างๆ ซึ่งการแบ่งระยะจะช่วยในการการวางแผนการรักษาให้เหมาะสมที่สุดได้

เซลล์ลิมโฟไซท์ชนิด ที (T lymphocyte) 

หรือเรียกอีกชื่อว่า ที เซลล์ (T cell) หรือ ไทโมไซต์ (thymocyte)  ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ช่วยควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเซลล์ทีลิมโฟไซต์เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกและจากนั้นก็เคลื่อนตัวไปไปเติบโตที่ต่อมไทมัส โดยเซลล์ทีลิมโฟไซต์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ คิลเลอร์เซลล์ (killer cells)  จะคอยทำลายเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ในบางชนิดอาจช่วยทำลายเซลล์มะเร็งได้ และ เฮลเปอร์เซลล์ (helper cells) จะเป็นตัวควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันโดยทำให้ คิลเลอร์เซลล์  ละเซลล์ลิมโฟไซต์ทำงานได้อย่างปกติ

การรักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) 

เป็นการรักษาที่จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยจะใช้ยาชนิดพิเศษเช่น โมโนโคลนอล แอนติบอดี มาค้นหาและทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างตรงจุด จะไม่เหมือนกับการรักษาวิธีอื่น โดยมีผลข้างเคียงน้อยกว่าและเจาะจงเฉพาะเซลล์ที่เจริญเติบโตผิดปกติเท่านั้น

เนื้องอก (Tumour) 

คือก้อนเนื้อที่ผิดปกติ คือมีการเจริญเติบโต แบ่งเซลล์มากกว่าปกติโดยอาจจะเป็นก้อนที่ไม่อันตราย (benign) หรือก้อนเนื้อร้าย (malignant)

อัลตร้าซาวน์ (Ultrasonography) 

คือการใช้คลื่นความถี่สูงมาส่องผ่านเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในต่างๆ เพื่อตรวจหาโรคหรือรอยโรคได้ โดยรูปที่ได้เกิดจากการสะท้อนของคลื่นความถี่ออกมาเป็นรูปภาพ เรียกว่า โซโนแกรม (sonogram)


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Language of Cancer Treatment. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/cancer/speaking-cancer-glossary/)
How Stable Disease Describes Cancer Treatment. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/definition-of-stable-disease-2249195)
Cancer: Overview, causes, treatments, and types. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323648)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป