โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 10 นาที
โรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnoea – OSA) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยที่ซึ่งผนังลำคอเกิดคลายตัวและตีบแคบมากขึ้นระหว่างการนอนหลับจนไปขวางทางเดินอากาศ

ภาวะนี้จะรบกวนการนอนหลับ ส่งผลใหญ่หลวงต่อคุณภาพชีวิต และเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะบางอย่างขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การหยุดหายใจและหายใจแผ่ว

ชนิดของอาการที่เกี่ยวกับการหายใจจาก OSA มีสองชนิดดังนี้:

หยุดหายใจ (apnoea): ที่ซึ่งกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนนุ่มในลำคอคลายตัวและหย่อนลงจนไปปิดกั้นทางเดินอากาศ ภาวะนี้จะนับเป็น apnoea ก็ต่อเมื่อหลอดลมถูกอุดกั้นเช่นนี้เป็นเวลา 10 วินาทีขึ้นไป

หายใจแผ่ว (hypopnoea): เป็นการอุดกั้นของหลอดลมบางส่วนจนทำให้อากาศที่นำเข้าลดลงมากกว่า 50% เป็นเวลา 10 วินาทีขึ้นไป

ผู้ป่วย OSA อาจประสบกับภาวะหยุดหายใจและหายใจแผ่วหลาย ๆ ครั้งตลอดทั้งคืน ซึ่งสำหรับกรณีที่เป็นรุนแรงอาจมีภาวะเหล่านี้เกิดขึ้นนานหนึ่งหรือสองนาทีก็เป็นได้

คำว่า “อุดกั้น” ในที่นี้จะแยก OSA ออกจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับอื่น ๆ เช่นภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการทำงานที่ผิดปรกติของสมอง (central sleep apnoea) ซึ่งเกิดจากการที่สมองไม่ส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หายใจระหว่างนอนหลับ

อาการของ OSA

อาการของ OSA มักจะสังเกตเห็นโดยคนที่นอนกับคุณ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว หรือคู่สมรส

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สัญญาณของ OSA ที่ปรากฏกับผู้ที่กำลังนอนหลับอยู่มีดังนี้: นอนกรนเสียงดัง หายใจเสียงดังและหายใจลำบาก มีช่วงเวลาหยุดหายใจจากการหายใจเฮือกหรือจากการกรนซ้ำ ๆ

ผู้ป่วย OSA อาจประสบกับอาการเหงื่อออกช่วงกลางคืน และอาจตื่นขึ้นไปเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อย ๆ

ระหว่างที่มีอาการ ร่างกายจะกระตุ้นสมองของคุณเมื่อขาดออกซิเจนจนทำให้คุณสะดุ้งตื่นขึ้นมาจากการหลับลึกเพื่อทำให้ตัวคุณเปิดหลอดลมด้วยตนเองและทำให้ตนเองหายใจได้ตามปกติ

ภาวะรบกวนการนอนหลับเช่นนี้จะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนทำให้คุณรู้สึกเหน็ดเหนื่อยในช่วงระหว่างวันอย่างมาก คุณอาจจำไม่ได้ว่าการนอนของคุณถูกรบกวน ดังนั้นคุณจึงอาจไม่สังเกตเห็นภาวะ OSA ก็ได้

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ให้ไปพบแพทย์ทันทีที่คุณคาดว่าตนเองอาจจะเป็นภาวะ OSA

แพทย์จะสามารถตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการต่าง ๆ ได้ และสามารถจัดให้คุณรับการประเมินการนอนหลับตามความจำเป็น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ป่วย OSA หลายรายจะไม่สังเกตเห็นอาการของตนเองจึงทำให้ไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง

สาเหตุของ OSA

การหย่อนและคลายตัวของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนในลำคอขณะนอนหลับเป็นเรื่องปรกติ แปลว่าผู้คนส่วนมากจะไม่มีปัญหาการหายใจขณะนอนหลับ

แต่สำหรับผู้ป่วย OSA หลอดลมจะตีบแคบขึ้นจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างเช่น:

มีน้ำหนักมาก: ไขมันร่างกายที่มากเกินจะไปทำให้เนื้อเยื่ออ่อนในลำคอแน่นขึ้นจนไปสร้างภาระแก่กล้ามเนื้อลำคอ ไขมันหน้าท้องที่มากเกินยังสามารถทำให้เกิดอาการหายใจลำบากได้ ซึ่งจะยิ่งทำให้ OSA ทรุดลงมากขึ้น

เป็นผู้ชาย: ยังไม่ทราบสาเหตุว่าทำไม OSA จึงพบในผู้ชายมากที่สุด แต่ก็คาดกันว่าเป็นเพราะรูปแบบการกระจายไขมันของร่างกายที่ต่างจากผู้หญิง

มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป: แม้ว่า OSA สามารถเกิดได้กับผู้คนทุกช่วงวัย แต่ก็มักจะพบได้มากที่สุดกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

มีลำคอที่ใหญ่: ผู้ชายที่มีขนาดลำคอมากกว่า 43 cm จะมีความเสี่ยงต่อภาวะ OSA มากขึ้น

กำลังใช้ยาที่มีฤทธิ์กล่อมประสาท: อย่างเช่นยานอนหลับ

มีโครงสร้างภายในคอไม่ปกติ: เช่นมีหลอดลมแคบ มีต่อมทอนซิล ต่อมอะดีนอยด์ หรือลิ้นใหญ่ หรือมีขนาดกรามล่างใหญ่

แอลกอฮอล์: การดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะดื่มก่อนนอนจะทำให้อาการกรนและหยุดหายใจขณะหลับทรุดลง

สูบบุหรี่: คุณจะมีความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับมากขึ้นหากสูบบุหรี่

วัยหมดประจำเดือน: การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนระหว่างช่วงหมดประจำเดือนอาจทำให้กล้ามเนื้อลำคอคลายตัวมากกว่าปกติ

มาจากครอบครัวที่มีประวัติ OSA: มีพันธุกรรมบางตัวที่ทำให้คุณมีความเสี่ยงต่อ OSA มากขึ้น

ภาวะแน่นจมูก: OSA เกิดกับผู้ที่มีภาวะแน่นจมูกบ่อย ๆ เช่นผู้ที่มีภาวะผนังกั้นช่องจมูกคด (deviated septum) ที่ซึ่งเนื้อเยื่อที่กั้นรูจมูกทั้งสองเอนไปในทิศใดทิศหนึ่งจนทำให้ช่องจมูกหนึ่งตีบแคบ

การรักษา OSA

OSA เป็นภาวะระยะยาวที่สามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งในหลาย ๆ กรณีอาจต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องทั้งชีวิต

มีตัวเลือกการรักษามากมายที่ช่วยลดความรุนแรงของอาการลง ดังนี้:

การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต: เช่นลดน้ำหนัก งดการดื่มแอลกอฮอล์ และนอนหันข้างแทน

การใช้อุปกรณ์อัดแรงดันอากาศบวกชนิดต่อเนื่อง (continuous positive airway pressure - CPAP): เป็นอุปกรณ์ที่ป้องกันไม่ให้หลอดลมของคุณปิดในขณะที่นอนหลับด้วยการส่งแรงดันต่อเนื่องผ่านหน้ากาก

การสวมใส่อุปกรณ์ mandibular advancement device (MAD): เป็นอุปกรณ์ที่ใส่เข้ากับฟันและเหงือก ทำหน้าที่ดามกรามและลิ้นของคุณให้ยื่นไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มช่องว่างของหลังลำคอในขณะที่คุณนอนหลับ

การผ่าตัดเองก็เป็นตัวเลือกการรักษา OSA อีกหนึ่ง แต่จะใช้กับกรณีที่เป็นผลมาจากปัญหาด้านกายภาพ เช่นการมีโครงสร้างภายในลำคอที่ผิดปกติ เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยส่วนมากจะไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด และจะถูกพิจารณาว่าเป็นวิธีรักษาสุดท้ายในกรณีที่การรักษาข้างต้นไม่ได้ผล

การเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต

กรณีส่วนมาก OSA จะรักษาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น เช่น: ลดน้ำหนักเมื่อมีน้ำหนักเกิน เลิกบุหรี่ จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป โดยเฉพาะก่อนเข้านอน: มีคำแนะนำว่าคุณไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 14 หน่วยต่อสัปดาห์ หากมากกว่าที่กล่าวไป ควรกระจายการดื่มให้เท่า ๆ กันภายในช่วงสามวันขึ้นไป เลี่ยงการใช้ยาระงับประสาทและยานอนหลับ

การลดน้ำหนัก การจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ และการเลี่ยงใช้ยาระงับประสาทถูกพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยลดอาการของ OSA ได้จริง

กระนั้นก็ยังไม่แน่ชัดว่าการเลิกสูบบุหรี่สามารถช่วยคุณจากภาวะนี้ได้จริงหรือไม่ แต่แพทย์ต่างก็แนะนำให้คุณเลิกบุหรี่เพื่อเหตุผลด้านสุขภาพโดยรวมของคุณ

การนอนหันข้างแทนการนอนหงายจะช่วยบรรเทาอาการของ OSA เช่นกัน

อุปกรณ์อัดแรงดันอากาศบวกชนิดต่อเนื่อง

เช่นเดียวกับการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตข้างต้น ผู้ป่วย OSA ระดับปานกลางถึงรุนแรงก็มักต้องใช้อุปกรณ์อัดแรงดันอากาศบวกชนิดต่อเนื่อง (continuous positive airway pressure - CPAP) ร่วมด้วย

อุปกรณ์นี้จะปล่อยแรงอัดอากาศต่อเนื่องผ่านหน้ากากที่ปิดจมูกหรือปิดทั้งจมูกกับปากของคุณเพื่อป้องกันลำคอของคุณไม่ให้ตีบลง

CPAP อาจให้ความรู้สึกไม่คุ้นชินในช่วงแรก และคุณอาจไม่สะดวกใจจะสวมใส่อุปกรณ์นี้ทั้งคืน แต่ผู้ป่วยส่วนมากที่อดทนใช้อุปกรณ์นี้เป็นระยะเวลาไม่นานจะมีอาการดีขึ้นอย่างมาก

CPAP เป็นวิธีบำบัดที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการรักษา OSA รุนแรง ด้วยการลดอาการต่าง ๆ เช่นการกรนและความเหน็ดเหนื่อย อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อีกด้วย

ผลข้างเคียงจากการใช้ CPAP มีดังนี้: ความไม่สบายตัวจากการสวมใส่หน้ากาก แน่นจมูก หรือระคายเคืองจมูก หายใจด้วยจมูกลำบาก ปวดศีรษะและปวดหู ปวดท้องและท้องอืด

อุปกรณ์ CPAP รุ่นแรก ๆ มักจะก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่นจมูกแห้งและเจ็บคอ แต่อุปกรณ์สมัยใหม่นั้นมักจะมีตัวทำความชื้นร่วมด้วย ทำให้ลดการเกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ลง

หาก CPAP ทำให้คุณไม่สบายตัวอย่างมาก ให้แจ้งบุคลากรผู้ดูแลของคุณเพื่อทำการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจลองใช้ CPAP ด้วยแรงดันอากาศต่ำก่อนค่อย ๆ เพิ่มแรงดันขึ้นขณะที่คุณนอนหลับลึกลงเรื่อย ๆ

Mandibular advancement device (MAD)

Mandibular advancement device (MAD) เป็นอุปกรณ์ที่สวมเข้าในช่องปากคล้ายกับฟันปลอมปิดเหงือกที่มักใช้ในการรักษา OSA แบบไม่รุนแรง

อุปกรณ์นี้ไม่แนะนำกับผู้ป่วย OSA รุนแรง แต่ก็เป็นทางเลือกสำรองในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจทนการใช้อุปกรณ์ CPAP ได้

MAD จะครอบไปบนฟันของคุณในขณะที่นอนหลับอยู่ โดยอุปกรณ์นี้ออกแบบมาเพื่อดันกรามและลิ้นของคุณไปข้างหน้าเพื่อเพิ่มช่องว่างให้หลังลำคอ และลดการตีบแคบของหลอดลมที่ทำให้เกิดอาการกรน

ทุกวันนี้มีอุปกรณ์ MAD วางจำหน่ายตามเว็บไซต์ของผู้เชี่ยวชาญ แต่ส่วนมากแล้วพวกเขาไม่แนะนำให้คุณหาซื้อจากแหล่งนั้นเนื่องจากการสวมใส่ MAD ที่ไม่พอดีปากจะทำให้อาการทรุดลง

แพทย์แนะนำว่าคุณควรไปพบทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภาวะหยุดหายใจขณะหลับเพื่อสร้างอุปกรณ์ MAD สำหรับตัวคุณขึ้นมาเอง

หากคุณเป็นผู้ที่มีฟันเหลืออยู่ไม่มาก MAD ก็จะเป็นทางเลือกการรักษาที่ใช้ไม่ได้ผล หากคุณกำลังสวมที่ครอบฟัน สะพานฟัน หรืออุดฟัน ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนเพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์จะไม่สร้างความเสียหายแก่อุปกรณ์ทันตกรรมเหล่านี้

การผ่าตัดรักษา OSA

การผ่าตัดเพื่อรักษา OSA ไม่ค่อยแนะนำกันนักเนื่องจากมีหลักฐานว่าเป็นกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับ CPAP อีกทั้งยังเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงมากมาย

การผ่าตัดจัดเป็นทางเลือกสุดท้ายที่ถูกพิจารณาเมื่อการรักษาอื่น ๆ ไม่ได้ผล และคุณประสบกับภาวะที่ส่งผลรุนแรงกับคุณภาพชีวิตของคุณ โดยมีขอบเขตของหัตถการเพื่อรักษา OSA มีดังนี้:

การผ่าตัดต่อมทอนซิล (tonsillectomy): เป็นการนำต่อมทอนซิลที่โตขึ้นจนปิดกั้นหลอดลมออก

การผ่าตัดต่อมอะดรีนอยด์ (adenoidectomy): เป็นการกำจัดต่อมอะดรีนอยด์ที่เป็นก้อนเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่หลังลำคอเหนือต่อมทอนซิลออก (ในกรณีที่ต่อมอะดรีนอยด์ขยายใหญ่ขึ้นจนปิดกั้นการหายใจระหว่างการนอน)

การเจาะคอ (tracheostomy): เป็นการสอดท่อเข้าไปในลำคอโดยตรง เพื่อทำให้คุณสามารถหายใจได้สะดวกขึ้นแม้ว่าหลอดลมส่วนบนจะถูกปิดกั้นอยู่

การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (bariatric surgery): เป็นการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารของผู้ที่มีภาวะอ้วนรุนแรง

การผ่าตัดกำจัดเนื้อเยื่อส่วนเกินในคอเพื่อขยายหลอดลม (uvulopalatopharyngoplasty): เป็นหัตถกรรมรักษา OSA ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด กระนั้นก็มีจำนวนผู้รับการผ่าตัดนี้น้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากว่ามีทางเลือกการรักษา OSA ที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามากมาย เช่น CPAP การผ่าตัดประเภทนี้ยังทำให้คุณไม่สามารถใช้ CPAP ได้อีกในอนาคต

การปลูกถ่ายเพดานปาก

การผ่าตัดปลูกถ่ายเพดานปาก (Soft palate) จะเป็นการทำให้เพดานปากที่เป็นส่วนผนังส่วนบนในช่องปากให้มีความแข็งแรงมากขึ้นและทำให้มีการสั่นไหวน้อยลง การปลูกถ่ายนี้จะดำเนินการด้วยยาชาเฉพาะส่วน

ทางสถาบันเพื่อความเป็นเลิศทางสุขภาพและการดูแล (NICE) กล่าวว่าการปลูกถ่ายเพดานปากนั้นมีความปลอดภัยแต่ก็ไม่ใช่วิธีการรักษา OSA ที่แนะนำเนื่องจากยังคงขาดหลักฐานเรื่องประสิทธิผลอยู่

อย่างไรก็ตาม การรักษานี้จะแนะนำกับการรักษาการกรนที่เกิดจาก OSA เป็นกรณีพิเศษ

ภาวะแทรกซ้อนของ OSA

แนวทางการรักษาต่าง ๆ ที่กล่าวไปสามารถควบคุมอาการของ OSA ได้ แม้ว่าการรักษาบางอย่างอาจต้องดำเนินการไปตลอดชีวิตก็ตาม

หากปล่อย OSA ไว้โดยไม่ทำการรักษา ภาวะนี้จะส่งผลกระทบใหญ่หลวงกับคุณภาพชีวิตของคุณ ทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่นประสิทธิภาพในการทำงานหรือการเรียนตกลง และอาจสร้างความร้าวฉานให้แก่ความสัมพันธ์ของคุณได้

OSA ที่ไม่ได้รับการควบคุมยังเพิ่มความเสี่ยงต่อ: การเกิดภาวะความดันโลหิตสูง การเกิดภาวะเส้นเลือดสมองอุดตัน (stroke) การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ: เช่น ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (atrial fibrillation) เบาหวานประเภท 2: แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นผลมาจากสาเหตุต้นตออย่างภาวะอ้วนหรือไม่

งานวิจัยพบว่าผู้ที่ประสบปัญหาการนอนหลับจาก OSA จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงกว่าปกติถึง 12 เท่า หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็น OSA จะหมายความว่าภาวะนี้ก็ส่งผลต่อการขับรถของคุณเช่นกัน

และเมื่อคุณพบว่าตนเองเป็นภาวะ OSA ก็ไม่ควรขับรถเองจนกว่าจะมีการควบคุมอาการของคุณให้ดีเสียก่อน

การป้องกัน OSA

การป้องกันภาวะ OSA นั้นอาจจะไม่เป็นไปได้เสมอไป แต่การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตนั้นอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะนี้ลงเท่านั้น ซึ่งมีดังนี้: ลดน้ำหนัก ในกรณีที่คุณเป็นภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักเกิน จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์และเลี่ยงการดื่มในช่วงกลางคืน เลิกสูบบุหรี่ เลี่ยงการทานยานอนหลับหรือยากล่อมประสาทอื่น ๆ

การวินิจฉัย OSA

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnoea – OSA) สามารถวินิจฉัยพบได้ด้วยการสังเกตการนอนหลับของคุณ หรือใช้อุปกรณ์ทดสอบที่ต้องสวมใส่ข้ามคืนที่บ้านของคุณ

หากคุณคาดว่าคุณเป็น OSA ควรเข้าพบแพทย์เพื่อไปพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับเพื่อรับการทดสอบและประเมินอย่างถูกต้องต่อไป

ก่อนเข้าพบแพทย์ คุณควรขอให้คู่สมรส เพื่อน หรือญาติมาสังเกตอาการของคุณเสียก่อน หากคุณเป็น OSA จริง คนสังเกตการณ์ควรจะเห็นช่วงหยุดหายใจของคุณหลายครั้งภายในหนึ่งคืน

คุณสามารถทดลองทำแบบสอบถามประเมินความง่วง หรือ Epworth Sleepiness Scale ซึ่งจะถามว่าคุณรู้สึกง่วงนอนบ่อยแค่ไหนภายในหลาย ๆ สถานการณ์ เช่นระหว่างดูโทรทัศน์ หรือนั่งอยู่ในห้องประชุม เป็นต้น

คะแนนรวมที่ได้จะช่วยให้แพทย์ชี้ชัดว่าคุณมีความผิดปรกติด้านการนอนหลับหรือไม่

ยกตัวอย่างเช่น หากมีคะแนนระหว่าง 16-24 จะหมายความว่าคุณมีอาการง่วงนอนบ่อยครั้งและควรเข้าปรึกษาแพทย์ ส่วนคะแนนตั้งแต่ 8-9 จะพิจารณาว่าเป็นคะแนนมาตรฐาน

การเข้าพบแพทย์

แพทย์จะสอบถามคำถามต่าง ๆ เกี่ยวกับอาการของคุณ เช่นคุณชอบเผลอหลับระหว่างวันโดยไม่ตั้งใจหรือไม่

จะมีการวัดความดันโลหิตและเก็บตัวอย่างเลือดไปมองหาความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาวะอื่น ๆ ที่อาจเป็นต้นตอของความเหน็ดเหนื่อย เช่นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (hypothyroidism)

ขั้นตอนต่อไปคือการสังเกตพฤติกรรมขณะนอนหลับของคุณที่ศูนย์รักษาโรคนอนหลับ แพทย์ผู้ดูแลอาจส่งคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญตามสถานพยาบาลเพื่อช่วยรักษาการนอนที่ผิดปรกติอื่น ๆ

การสังเกตการนอนหลับ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนจะสอบถามอาการและประวัติทางการแพทย์ของคุณก่อนดำเนินการตรวจร่างกาย ซึ่งอาจมีทั้งการวัดน้ำหนักและส่วนสูงเพื่อคำนวณดัชนีมวลกาย (body mass index - BMI) และวัดรอบคอของคุณ เนื่องจากว่าการมีน้ำหนักกายที่มากเกินจะทำให้ลำคอของคุณมีขนาดใหญ่ขึ้นจนเพิ่มความเสี่ยงต่อ OSA นั่นเอง

ผู้เชี่ยวชาญจะจัดการประเมินการนอนตอนกลางคืนของคุณด้วยการให้คุณค้างที่คลินิกหรือนำอุปกรณ์สอดส่องไปไว้ที่บ้านของคุณ โดยคุณจะต้องนำอุปกรณ์นี้กลับไปพบผู้เชี่ยวชาญในวันรุ่งขึ้น

การทดสอบที่บ้าน

ในกรณีที่ทางศูนย์โรคการนอนหลับมีอุปกรณ์บันทึกการนอนหลับที่คุณสามารถนำกลับไปที่บ้านได้ ตัวอุปกรณ์จะมีการทำงานดังนี้: เซนเซอร์ตรวจจับการหายใจ เซนเซอร์ตรวจอัตราการเต้นหัวใจ สายรัดรอบหน้าอก เซนเซอร์วัดออกซิเจนที่สวมบนนิ้ว

อุปกรณ์จะทำการวัดทั้งระดับออกซิเจน การเคลื่อนที่ของลมหายใจ อัตราการเต้นหัวใจ และตัวตรวจจับการกรนของคุณตลอดทั้งคืน

หากแพทย์ต้องการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนของคุณมากกว่าที่กล่าวไป จะมีการตรวจสอบที่เรียกว่าการแปลผลการตรวจการนอนหลับ (polysomnography ) ที่ดำเนินการภายในศูนย์การนอนหลับ

การทดสอบที่ศูนย์

การทดสอบการแปลผลการตรวจการนอนหลับ (polysomnography ) ที่ใช้วิเคราะห์การนอนของคุณจะดำเนินการที่ศูนย์โรคการนอนหลับ

ระหว่างช่วงกลางคืน ร่างกายของคุณแต่ละส่วนจะถูกสอดส่องไปตลอดที่คุณนอนหลับ

จะมีแผ่นปะและสายรัดอีเล็กโทรดติดอยู่บนผิวหนังของคุณตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีการติดเซนเซอร์เข้าที่ขากับนิ้วมือเพื่อวัดระดับออกซิเจน

การทดสอบที่ดำเนินการระหว่างการแปลผลการตรวจการนอนหลับมีดังนี้: การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalography - EEG) การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (electromyography - EMG) การบันทึกการไหลของอากาศผ่านปากและจมูกของคุณ การวัดออกซิเจนในเลือดและชีพจร (pulse oximetry) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography - ECG)

อีกทั้งจะมีการบันทึกภาพและเสียงไปพร้อมกันด้วย

หากมีการวินิจฉัยพบ OSA ระหว่างช่วงต้นของกลางดึก คุณจะได้รับการรักษาด้วยอุปกรณ์อัดแรงดันอากาศบวกชนิดต่อเนื่อง (continuous positive airway pressure - CPAP) ซึ่งเป็นการใช้แรงดันอากาศที่คงที่เข้าไปหยุดการอุดกั้นของหลอดลม

เมื่อการทดสอบต่าง ๆ เสร็จสิ้น บุคลากรที่ศูนย์รักษาโรคการนอนหลับจะชี้แจงผลการตรวจว่าคุณเป็น OSA หรือไม่ หากเป็น พวกเขาจะชี้แจงว่าภาวะนี้ส่งผลต่อการนอนหลับของคุณมากน้อยเพียงใดก่อนแนะนำวิธีรักษาตามความเหมาะสม

การระบุความรุนแรงของ OSA

ความรุนแรงของ OSA จะระบุได้จากความถี่ที่การหายใจของคุณถูกขัดจังหวะภายในหนึ่งชั่วโมง อาการที่เกิดขึ้นจะถูกวัดด้วย apnoea-hypopnoea index (AHI) โดยมีเกณฑ์จำแนกดังนี้: ไม่รุนแรง: AHI ที่ 5-14 ครั้งต่อชั่วโมง ปานกลาง: AHI ที่ 15-30 ครั้งต่อชั่วโมง รุนแรง: AHI มากกว่า 30 ครั้งต่อชั่วโมง

มีหลักฐานบ่งชี้ว่าการรักษามักจะช่วยผู้ที่มีภาวะ OSA แบบปานกลางหรือรุนแรง แต่ก็มีงานวิจัยบางชิ้นที่กล่าวว่าการรักษายังสามารถรักษาผู้ที่มีภาวะ OSA แบบอ่อนเช่นกัน

กลุ่มช่วยเหลือ

OSA ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างใหญ่หลวง เช่นเดียวกับคุณภาพชีวิตของเพื่อนและครอบครัวที่อยู่ใกล้ชิด

เช่นเดียวกับปัญหาทางร่างกาย เช่นความเหน็ดเหนื่อยและอาการปวดศีรษะ ภาวะนี้ยังส่งผลเสียต่ออารมณ์ของผู้ป่วยอย่างมาก

หากคุณประสบปัญหาด้านการรับมือกับภาวะ OSA คุณสามารถทำการติดต่อขอความช่วยเหลือจากกกลุ่มสนับสนุนต่าง ๆ ได้


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sleep apnoea. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/sleep-apnoea/)
Obstructive sleep apnoea. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1949456/)
Obstructive sleep apnoea syndrome and its management. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4549693/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป