กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ยารักษาโรคหัวใจ (Heart medicines)

ทำความรู้จักยารักษาโรคหัวใจกลุ่มต่างๆ และข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาอย่างปลอดภัย
เผยแพร่ครั้งแรก 29 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 21 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยารักษาโรคหัวใจ (Heart medicines)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยารักษาโรคหัวใจและภาวะเกี่ยวกับหัวใจมีหลายชนิด บางคนอาจต้องใช้ยามากกว่า 1 ชนิด จึงจำเป็นต้องใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น
  • ยาแต่ละกลุ่ม เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด แม้ให้ผลการรักษาในทางเดียวกัน แต่อาจมีการออกฤทธิ์แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งก่อนการใช้ยา 
  • ยาบางชนิดประกอบด้วยโซเดียม จึงต้องลดการรับประทานอาหารรสเค็มลงเพื่อจำกัดปริมาณเกลือและโซเดียม 
  • ยาแต่ละชนิดจ่ายให้เฉพาะผู้ป่วยแต่ละรายเท่านั้นรวมทั้งมีปริมาณการใช้แตกต่างกัน จึงไม่ควรใช้ยาของผู้อื่น หรือให้ยาแก่ผู้อื่น
  • ผู้ป่วยต้องใช้ยาตามที่แพทย์สั่งและไปพบตามนัดทุกครั้งเพื่อรับการตรวจและอาจมีการปรับยาตามความเหมาะสม (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพและหัวใจได้ที่นี่)

ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคหัวใจ ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกันเพื่อรักษาโรคหัวใจจึงทำให้อาจเกิดผลข้างเคียง จากการใช้ยา หรือขาดความร่วมมือในการใช้ยาจากผู้ป่วยได้บ้าง 

อย่างไรก็ตาม ยารักษาโรคหัวใจทุกตัวล้วนมีประโยชน์ และผลข้างเคียงน้อยที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายแล้วตามวิจารณญาณของแพทย์ผู้รักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะที่สามารถใช้ยารักษาโรคหัวใจได้

  • ภาวะเจ็บแน่นหน้าอก (Angina) หมายถึง อาการปวด หรือไม่สบายภายในหน้าอก หรืออาการหายใจลำบาก
  • ภาวะหัวใจวาย (Heart attack) หมายถึง ภาวะที่หลอดเลือดหัวใจเกิดการอุดตันขึ้น
  • ภาวะความดันโลหิตสูง (High blood pressure หรือ Hypertension)
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) หมายถึง ภาวะที่การสูบฉีดของหัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) หมายถึง ภาวะที่หัวใจเต้นช้าเกินไป เร็วเกินไป หรือเต้นอย่างไม่สม่ำเสมอ
  • โรคลิ้นหัวใจ (Heart valve disease) หมายถึง ภาวะที่ลิ้นหัวใจหนึ่งส่วน หรือมากกว่านั้นเกิดโรค หรือเกิดความเสียหายขึ้น
  • ภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (High blood cholesterol level) หมายถึง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไฮเปอร์คอเลสเตอรอลเอเมีย (Hypercholesterolaemia) เป็นภาวะที่หากไม่ทำการรักษาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขึ้นมา

ประเภทของยารักษาโรคหัวใจ

ปัจจุบันมียารักษาโรคหัวใจมากมายหลายชนิด โดยแบ่งยาเป็นกลุ่มๆ ดังนี้

ยากลุ่มเดียวกันจะให้ผลโดยรวมในทางเดียวกัน แต่อาจมีขั้นตอนการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันเล็กน้อย ยาบางชนิดก็ผสมยา 2 ชนิดเข้าด้วยกันอีกด้วยจึงควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยา ไม่ควรซื้อยามารับประทานด้วยตนเองโดยเด็ดขาด

วิธีใช้ยารักษาโรคหัวใจ

วิธีใช้ยารักษาโรคหัวใจจะแบ่งตามชนิดของยา ดังนี้

  • ชนิดรับประทาน (Orally) โดยมากมักจะเป็นยาเม็ด แคปซูล หรือยาน้ำที่ให้กลืน หรือละลายในน้ำก่อนดื่มเข้าไป
  • ชนิดวางไว้ใต้ลิ้น (Sublingually) เป็นยาเม็ดที่ให้วางไว้ใต้ลิ้นเพื่อให้ยาค่อยๆ ละลาย หรือเป็นยาสเปรย์พ่นที่ให้ฉีดลงข้างใต้ลิ้น
  • ชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดดำ (Intravenously) เป็นยาที่ฉีดเข้าเส้นเลือดดำโดยตรง หรือให้ในรูปแบบของยาที่เจือจางโดยการหยดยาเข้าเส้นเลือด
  • ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscularly) ฉีดเข้าไปในกล้ามเนื้อบริเวณบั้นท้าย หรือต้นขา
  • ชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (Subcutaneously) ยาที่ฉีดเข้าใต้ชั้นผิวหนัง
  • แผ่นแปะติดกาว (Self-Adhesive Patch) เป็นแผ่นแปะที่มีส่วนผสมของยาให้ใช้แปะลงบนผิวหนัง เพื่อให้ยาค่อยๆ ซึมเข้าร่างกายอย่างช้าๆ

ข้อควรปฏิบัติในการใช้ยารักษาโรคหัวใจ

ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจจำเป็นต้องใช้ยาหลายชนิดจึงควรข้อปฏิบัติในการใช้ยาให้ปลอดภัย ดังนี้

  • ผู้ป่วยควรใช้ยาที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • ห้ามหยุดใช้ยากะทันหันโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อน
  • ปรึกษาแนวทางการใช้ยาที่หาซื้อได้ทั่วไปกับเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่า ยาเหล่านั้นจะไม่ตีกับยาที่แพทย์สั่ง (ซึ่งคุณกำลังใช้อยู่)
  • ห้ามยืม หรือใช้ยาของผู้อื่น
  • พึงจำไว้ว่า ยาส่วนมากมักจะมีส่วนประกอบและปริมาณยาที่ต่างกัน ผู้ป่วยแต่ละคนจึงได้รับยาไม่เหมือนกัน
  • ควรแจ้งเรื่องของผลข้างเคียง หรือความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น หลังการใช้ยาแก่แพทย์ หรือเภสัชกรที่จัดยาให้
  • หากลืมกินยาเป็นประจำ ควรปรึกษาทางแก้ไขร่วมกับแพทย์ เภสัชกร หรือพยาบาล ให้ช่วยแก้ไขปัญหา
  • ยาบางตัวประกอบด้วยโซเดียม (Sodium) ที่พบได้ในเกลือ หากคุณรับประทานอาหารที่มีปริมาณเกลือมากอยู่แล้ว และเมื่อได้รับยาเพิ่ม อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease)
  • ผลเกรปฟรุต (Grapefruits) หรือน้ำเกรปฟรุต อาจส่งผลต่อยาหลายชนิด เนื่องจากสารในน้ำเกรปฟรุตจะไปยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายยา ทำให้เกิดปริมาณยาเกินขนาดในร่างกาย (เนื่องจากการทำลายยาลดลง)
  • ยารักษาโรคหัวใจบางชนิดอาจเป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร ฉะนั้นจึงต้องแจ้งแพทย์ว่า "คุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร" เพื่อให้แพทย์จ่ายยาที่มีผลข้างเคียงน้อยที่สุด

ผลข้างเคียงของยารักษาโรคหัวใจ

ผลข้างเคียงของยารักษาโรคหัวใจจะขึ้นอยู่กับประเภทของยา เช่น ยาขับปัสสาวะก็จะทำให้ปัสสาวะมาก หรือยากลุ่มปิดกั้นช่องแคลเซียม อาจทำให้มีอาการบวมตรงหลังเท้า เวลาที่ยืนนาน หรือนั่งนานๆ 

หากใช้ยาไประยะเวลาหนึ่ง อาการข้างเคียงต่างๆ ก็จะหายไปเอง หรือผู้ป่วยจะทนได้เอง 

แต่หากมีอาการใดที่เกิดจากการใช้ยา แล้วผู้ป่วยรู้สึกว่า "ทนไม่ได้" ให้รีบแจ้งแพทย์ โดยแพทย์อาจลดขนาด หรือเปลี่ยนชนิดยาให้ แต่ห้ามหยุดใช้ยาเองเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้ภาวะของผู้ป่วยแย่ลงได้  

นอกจากการใช้ยาอย่างถูกต้องแล้ว ผู้ป่วยยังต้องไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อรับการตรวจ ติดตามอาการ และอาจมีการปรับขนาดยา หรือชนิดของยาตามความเหมาะสม

ดูแพ็กเกจตรวจหัวใจ ตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Webmd.com, Heart-medicines (https://www.webmd.com/heart-disease/heart-disease-medications), 15 December 2019.
Robin Donovan, Heart-medicines (https://www.healthline.com/health/heart-disease/drugs), 15 December 2019.
Mayo Clinic Proceedings. Drug-Grapefruit juice interaction (https://www.mayoclinicproceedings.org/article/S0025-6196(11)64645-4fulltext#cesec20), 15 December 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)