กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์

อาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์มีหลายอาการ เช่น ประจำเดือนไม่มาตามปกติ คลื่นไส้อาเจียนช่วงเช้า อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เจ็บคัดตึงเต้านม เป็นต้น

คุณกำลังสงสัยหรือไม่ว่ากำลังตั้งครรภ์หรือเปล่า? หากกำลังสงสัยเช่นนี้ วิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่าตั้งครรภ์หรือไม่ คือการตรวจการตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่การตั้งครรภ์ในระยะเริ่มแรกจะมีอาการบางอย่างเป็นสัญญาณที่ทำให้คุณรู้ว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น

ผู้หญิงทุกคนจะมีอาการของการตั้งครรภ์ในระยะแรกหรือไม่?

ผู้หญิงทุกคนนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นผู้หญิงแต่ละคนจะมีอาการในช่วงตั้งครรภ์แตกต่างกัน ซึ่งรวมถึงอาการที่เกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ครั้งที่แล้วก็อาจแตกต่างจากครั้งนี้ก็ได้

นอกจากนี้อาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ มักจะคล้ายกับอาการที่เกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน จึงทำให้คุณไม่รู้ว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์

ต่อไปนี้จะเป็นคำอธิบายถึงอาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ที่พบได้บ่อย คุณควรรู้ว่าอาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ก็ได้ ดังนั้นถ้าหากมีอาการดังต่อไปนี้เกิดขึ้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตั้งครรภ์เสมอไป วิธีเดียวที่จะรู้ได้ว่าตั้งครรภ์หรือไม่ คือต้องตรวจการตั้งครรภ์

มีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอด และมีอาการปวดเกร็ง

ภายหลังการปฏิสนธิ ไข่ที่ได้รับการผสมกับอสุจิจะฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้เกิดอาการเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ขึ้น ได้แก่ มีเลือดออกเล็กน้อยทางช่องคลอด และบางครั้งอาจมีอาการปวดเกร็งร่วมด้วย

เราเรียกเลือดที่ออกนี้ว่า เลือดล้างหน้าเด็ก (implantation bleeding) ซึ่งสามารถพบได้ในช่วง 6-12 วัน หลังจากไข่ปฏิสนธิแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการปวดเกร็งจะคล้ายกับอาการปวดประจำเดือน ดังนั้นจึงทำให้จึงอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นเลือดที่ออกเป็นเลือดของวันแรกที่มีประจำเดือน อย่างไรก็ตามเลือดล้างหน้าเด็กและอาการปวดเกร็งจะเป็นน้อยกว่าตอนเป็นประจำเดือนจริงๆ

นอกจากมีเลือดออกแล้ว ยังอาจสังเกตเห็นตกขาวลักษณะคล้ายนมออกจากช่องคลอดด้วย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการหนาตัวของผนังช่องคลอดซึ่งเกิดขึ้นทันทีหลังมีการปฏิสนธิขึ้น การเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ที่ช่องคลอดนี้เองจึงทำให้เกิดตกขาวขึ้น

ตกขาวที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นอย่างต่อเนื่องไปตลอดช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปไม่เป็นอันตรายและไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ถ้าตกขาวเกิดมีกลิ่นเหม็น รู้สึกคัน แสบ ขึ้นมา ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจว่ามีการติดเชื้อราหรือติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยหรือไม่

การเปลี่ยนแปลงของเต้านม

การเปลี่ยนแปลงของเต้านมเป็นอีกสัญญาณเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเพศหญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายหลังการตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะทำให้ผู้หญิงมีอาการตึงคัด เจ็บเต้านม  ในช่วง 1 หรือ 2 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ได้ และบริเวณหัวนมอาจมีสีเข็มขึ้นได้

อย่างไรก็ตามอาการที่เกิดขึ้นที่เต้านมอาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดจากการตั้งครรภ์ โปรดจำไว้ว่าต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะคุ้นชินกับระดับฮอร์โมนใหม่นี้ และเมื่อถึงตอนนั้นอาการปวดเต้านมจะดีขึ้น

อ่อนเพลีย

อาการอ่อนเพลียเป็นอาการที่บ่อยได้เป็นปกติระหว่างตั้งครรภ์ โดยสามารถพบอาการอ่อนเพลียมากผิดปกติได้ตั้งแต่สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของการอ่อนเพลียมักมีความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น แม้ว่าอาการอื่นๆ ก็ทำให้เกิดอาการได้เช่นกัน เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ระดับความดันโลหิตต่ำ และการเพิ่มอัตราการสร้างเลือด

ถ้าอาการอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญก็คือต้องพักผ่อนให้เต็มที่ และรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนและธาตุเหล็กสามารถช่วยบรรเทาอาการได้

คลื่นไส้ อาเจียน (Morning sickness)

คลื่นไส้ อาเจียน เป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่ไม่ใช่ว่าหญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องมีอาการนี้

สาเหตุของการเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงตั้งครรภ์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์อาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการนี้ อาการคลื่นไส้ อาเจียนระหว่างตั้งครรภ์สามารถพบได้ทุกช่วงเวลาของวัน แต่จะพบได้บ่อยในช่วงเช้า จึงเรียกว่า morning sickness หรือเรียกอีกอย่างว่า อาการแพ้ท้อง

นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์บางรายจะอยากอาหารหรือไม่สามารถทนต่อกลิ่นอาหารบางชนิดได้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง ผลที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นมาก กล่าวคือ อาการที่เคยชื่นชอบ อาจไม่ชอบระหว่างตั้งครรภ์ก็ได้

มีความเป็นไปได้ว่า อาการคลื่นไส้ อยากอาหาร หรือไม่ชอบอาหารบางชนิดจะเป็นไปตลอดของการตั้งครรภ์ แต่ก็ยังโชคดีที่ว่าส่วนใหญ่แล้วอาการจะดีขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 13 หรือ สัปดาห์ที่ 14 ของการตั้งครรภ์

ในระหว่างนี้ คุณต้องมั่นใจว่ารับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอต่อความต้องการของคุณและพัฒนาการของทารกในครรภ์ คุณสามารถพูดคุยกับแพทย์เพื่อขอคำแนะนำได้

ประจำเดือนไม่มา

หนึ่งในอาการที่เห็นได้ชัดของการตั้งครรภ์คือ ประจำเดือนไม่มา ซึ่งเป็นอาการที่ทำให้ผู้หญิงเลือกที่จะตรวจการตั้งครรภ์ แต่ว่าประจำเดือนที่ขาดหายไป หรือมาช้า ไม่ได้มีสาเหตุจากการตั้งครรภ์เสมอไป

นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์อาจมีเลือดออกทางช่องคลอดได้บ้างระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ว่าแบบไหนจึงเรียกว่าปกติ และแบบไหนจึงเรียกว่าอันตราย

นอกจากนี้สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาดหายไปนอกจากการตั้งครรภ์ เช่น อาจเกิดจากน้ำหนักตัวเพิ่มหรือลดมากเกินไป ปัญหาจากฮอร์โมนในร่างกาย อ่อนเพลีย ความเครียด หรือสาเหตุอื่นๆ ผู้หญิงบางคนอาจมีประจำเดือนขาดหายไปเมื่อหยุดรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดก็ได้ แต่ถ้าประจำเดือนของคุณมาช้ากว่าปกติ และคุณสงสัยว่าอาจจะมีการตั้งครรภ์ กรณีนี้คุณจำเป็นต้องได้รับการทดสอบการตั้งครรภ์

อาการระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์อื่นๆ

การตั้งครรภ์จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย และทำให้เกิดอาการอื่นๆ ได้แก่:

  • ปัสสาวะบ่อย หญิงตั้งครรภ์หลายรายจะมีอาการนี้ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 หรือ สัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็สามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้ คือ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคเบาหวาน หรือการใช้ยาขับปัสสาวะมากเกินไป ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่ อาการนี้มักจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
  • ท้องผูก ระหว่างการตั้งครรภ์ ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้นจะทำให้มีอาการท้องผูกได้ เพราะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะทำให้อาหารเคลื่อนที่ไปยังลำไส้ช้าลง ในการบรรเทาอาการท้องผูก ให้ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง
  • อารมณ์แปรปรวน เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (3 เดือนแรก) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป
  • ปวดศีรษะและปวดหลัง หญิงตั้งครรภ์หลายรายมีอาการปวดศีรษะเล็กน้อย และอาจมีอาการปวดหลังเรื้อรังร่วมด้วย
  • เวียนศีรษะ หน้ามืด อาการนี้อาจสัมพันธ์กับการขยายตัวของหลอดเลือด ความดันโลหิตต่ำลง และระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง

หญิงตั้งครรภ์สามารถมีอาการทั้งหมดดังที่กล่าวมาข้างต้นหรืออาจมีเพียงบางอาการ หากอาการที่เกิดขึ้นรบกวนชีวิตของคุณ ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นดังกล่าว


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pregnancy Symptoms: 15 Early Signs That You May Be Pregnant. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/early-symptoms-timeline)
Pregnancy Symptoms: 14 Early Signs You May Be Pregnant. Parents. (https://www.parents.com/pregnancy/signs/symptoms/signs-you-may-be-pregnant/)
Signs and symptoms of pregnancy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/signs-and-symptoms-pregnancy/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม