ภาวะโลหิตจางหรือโรคโลหิตจางคืออะไร
ภาวะโลหิตจาง จะเกิดขึ้นเมื่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีสุขภาพดีในร่างกายของคุณมีปริมาณต่ำเกินไป โดยเซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำหน้าที่ส่งออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อทั้งหมดของร่างกาย เมื่อจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ ปริมาณออกซิเจนในเลือดของคุณก็จะต่ำไปด้วย
ภาวะโลหิตจางวัดได้ด้วยปริมาณของฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุของภาวะโลหิตจาง
ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และโฟเลต เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของเซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกาย ปกติแล้วจะมีการแทนที่เซลล์เม็ดเลือดแดงเดิมด้วยเซลล์ใหม่เป็นปริมาณ 0.8-1 เปอร์เซ็นต์ทุกวัน และอายุเฉลี่ยของเซลล์เม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์คือ 100 ถึง 120 วัน หากมีกระบวนการใด ๆ ที่ส่งผลเสียต่อความสมดุลระหว่างการผลิต และการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ก็จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางขึ้น
สาเหตุของภาวะโลหิตจางโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มสาเหตุที่ลดการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และกลุ่มสาเหตุที่เพิ่มการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง
ปัจจัยที่ลดการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ได้แก่
- ฮอร์โมน Erythropoietin ที่ผลิตจากไต ทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ
- การบริโภคธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 หรือโฟเลตที่ไม่เพียงพอ
- เป็นโรคฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism)
ส่วนปัจจัยที่เพิ่มการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ได้แก่
- โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
- การเกิดอุบัติเหตุ
- แผลในทางเดินอาหาร
- การมีประจำเดือน
- การคลอดบุตร
- เลือดออกในมดลูกมากเกินไป
- ได้รับการผ่าตัด
- โรคตับแข็งซึ่งทำให้เกิดแผลเป็นภายในตับขึ้น
- เกิดพังผืดหรือเนื้อเยื่อแผลเป็นภายในไขกระดูก
- ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolysis) ซึ่งเป็นการฉีดขาดของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่อาจเกิดขึ้นด้วยยาบางอย่างหรือได้รับเลือดที่ไม่เข้ากันในกลุ่ม Rh
- ความผิดปกติของตับและม้าม
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น
- การขาดกลูโคส -6- ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส (G6PD Deficiency)
- โรคโลหิตจางทาลัสซีเมีย (Thalassemia)
- โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Anemia)
แต่สาเหตุของภาวะโลหิตจางที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การขาดธาตุเหล็ก ซึ่งการบริโภคธาตุเหล็กยังถือเป็นดัชนีที่สำคัญสำหรับการประเมินสภาวะสุขภาพของประเทศต่างๆ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) มีคนประมาณ 2 พันล้านคนทั่วโลกที่มีภาวะโลหิตจาง และส่วนมากเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก
ความสัมพันธ์ของโภชนาการประจำวันและโรคโลหิตจาง
วิตามินและธาตุเหล็กที่ควรได้รับต่อวัน จะแตกต่างกันไปตามเพศและอายุ ซึ่งผู้หญิงจะต้องการธาตุเหล็กและโฟเลตมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กในระหว่างรอบประจำเดือน และจำเป็นต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร
ธาตุเหล็ก
ปริมาณธาตุเหล็กที่แนะนำในแต่ละวัน แบ่งออกตามเพศและอายุดังนี้
- ผู้หญิงอายุ 19-50 ต้องการธาตุเหล็ก 18 mg
- ผู้ชายอายุ 19-50 ต้องการธาตุเหล็ก 8 mg
- ผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ต้องการธาตุเหล็ก 27 mg
- ผู้หญิงที่ให้นมบุตร ต้องการธาตุเหล็ก 9 mg
- ผู้ชายและผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีต้องการธาตุเหล็ก 8 mg ต่อวัน
ผู้ที่ได้รับธาตุเหล็กจากอาหารเพียงอย่างเดียว และไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาจต้องได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก หรือต้องรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กให้มากขึ้น เช่น
- ตับไก่และตับวัว
- เนื้อไก่งวงสีเข้ม
- เนื้อแดงต่างๆ เช่น เนื้อวัว
- อาหารทะเล
- ธัญพืชเสริมแร่ธาตุ
- ข้าวโอ๊ตบด
- ถั่ว
- ผักโขม
โฟเลต
โฟเลต เป็นรูปแบบหนึ่งของกรดโฟลิกที่สร้างขึ้นตามธรรมชาติในร่างกาย เพศชายและเพศหญิงที่มีอายุเกิน 14 ปี ต้องการโฟเลต 400 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ต้องการโฟเลต 600 ไมโครกรัม และ 500 ไมโครกรัมต่อวันตามลำดับ
อาหารที่อุดมไปด้วยโฟเลต ได้แก่
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ตับวัว
- ถั่ว
- ผักโขม
- หน่อไม้ฝรั่ง
วิตามินบี 12
ปริมาณที่แนะนำของวิตามินบี 12 ของผู้ใหญ่อยู่ที่ 2.4 ไมโครกรัมต่อวัน ส่วนผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ต้องการ 2.6 ไมโครกรัมต่อวัน และผู้หญิงที่ให้นมบุตรต้องการ 2.8 ไมโครกรัมต่อวัน
อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 ได้แก่
- เนื้อปลา
- เนื้อสัตว์
- สัตว์ปีก
- หอย
- เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ
- ไข่
- ผลิตภัณฑ์นมต่างๆ
อาการของภาวะโลหิตจาง
ผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง จะมีอาการทั่วไปดังนี้
- มีลักษณะซีด
- ทนต่ออาการเย็นไม่ได้
- มึนงงหรือเวียนศีรษะ โดยเฉพาะเมื่อออกแรง
- มีความอยากที่ผิดปกติ เช่น อยากกินน้ำแข็ง อยากกินดินเหนียว หรืออยากกินดิน
- เหนื่อยง่าย
- ท้องผูก
- ไม่มีสมาธิ
- โรคโลหิตจางบางชนิดสามารถทำให้เกิดการอักเสบของลิ้น ส่งผลให้ลิ้นมีลักษณะเรียบมัน วาว แดง และเจ็บปวด
หากมีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง อาจพบอาการดังนี้
- เล็บเปราะแตกหักง่าย
- หายใจหอบถี่
- เจ็บหน้าอก
- หรืออาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด (Heart Attack) ในกรณีที่รุนแรงมาก
เมื่อไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย อาจพบอาการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ
- ผิวซีด
- ภาวะดีซ่าน (Jaundice)
- ชีพจรเต้นเร็ว
- เสียงหัวใจผิดปกติ
- ต่อมน้ำเหลืองโต
- ม้ามหรือตับโต
- ลิ้นอักเสบ (Atrophic Glossitis)
การวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง
การวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง จะเริ่มจากการซักประวัติทางการแพทย์และประวัติครอบครัวของคุณ เพื่อประโยชน์ในการวินิจฉัยภาวะโลหิตจางบางชนิด เช่น โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงรูปเคียว ประวัติของการสัมผัสกับสารพิษต่างๆ ในบ้าน เป็นต้น
จากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อให้แพทย์ทราบสาเหตุของภาวะโลหิตจางได้ดียิ่งขึ้น
การตรวจที่เกี่ยวข้องเพื่อวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง ได้แก่
- การเจาะตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC) : การตรวจนี้จะช่วยให้แพทย์ทราบถึงจำนวนและขนาดของเม็ดเลือดแดงของคุณ นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าเซลล์เม็ดเลือดอื่น ๆ เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดเป็นปกติหรือไม่
- การตรวจระดับธาตุเหล็กในเลือด : การตรวจนี้จะแสดงให้เห็นว่าการขาดธาตุเหล็กเป็นสาเหตุของโรคโลหิตจางหรือไม่
- การตรวจระดับเฟอร์ริติน (Ferritin Test) : การตรวจนี้เป็นการวิเคราะห์ปริมาณเหล็กที่สะสมอยู่ในร่างกาย
- การตรวจระดับวิตามินบี 12 : การตรวจนี้จะแสดงระดับวิตามินบี 12 และระบุว่าปริมาณดังกล่าวต่ำเกินไปหรือไม่
- การตรวจระดับโฟเลต : การตรวจนี้แสดงให้เห็นว่าระดับโฟเลตในเลือดต่ำเกินไปหรือไม่
- การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Stool Test For Occult Blood) : การตรวจนี้ จะใช้สารเคมีกับตัวอย่างอุจจาระที่เก็บมา เพื่อตรวจหาว่ามีเลือดปนออกมาด้วยหรือไม่ หากผลการทดสอบเป็นบวก หมายความว่าเลือดนั้นมีการรั่วซึมมาจากตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในทางเดินอาหารตั้งแต่ปากไปยังลำไส้ตรง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง (Ulcerative Colitis) และมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
การตรวจเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
จากผลของการตรวจข้างต้น แพทย์อาจสั่งตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น การสวนแป้งแบเรียมเพื่อตรวจลำไส้ (Barium Enema) เอกซเรย์ทรวงอก หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณหน้าท้องของคุณ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
วิธีการรักษาภาวะโลหิตจาง
การรักษาภาวะโลหิตจางขึ้นอยู่กับสาเหตุ หากภาวะโลหิตจางเกิดจากการได้รับธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และโฟเลตไม่เพียงพอ สามารถรักษาได้ด้วยอาหารเสริม
ในบางกรณี หากภาวะโลหิตจางนั้นรุนแรงมาก แพทย์จะใช้การฉีดฮอร์โมน Erythropoietin เพื่อกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงจากไขกระดูก หากมีภาวะเลือดออกรุนแรง หรือระดับฮีโมโกลบินต่ำมาก ก็อาจจำเป็นต้องได้รับการถ่ายเลือด (Transfusion)
แนวโน้มของภาวะโลหิตจางในอนาคต
แนวโน้มระยะยาวของภาวะโลหิตจางขึ้นอยู่กับสาเหตุและการตอบสนองต่อการรักษา ภาวะโลหิตจางหรือโรคโลหิตจางนั้นสามารถรักษาได้ แต่หากปล่อยไว้ไม่ได้รักษาก็สามารถเป็นอันตรายได้เช่นกัน หากคุณมีอาการของภาวะโลหิตจาง โดยที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคโลหิตจางชนิดใดก็ตาม แพทย์อาจพิจารณาให้คุณควบคุมอาหารหรือได้รับอาหารเสริมมากขึ้น
ที่มาของข้อมูล
Verneda Lights and Brian Wu, What Causes Anemia? (https://www.healthline.com/symptom/anemia), January 3, 2018