ในปัจจุบัน มีประชากรเกือบครึ่งหนึ่งในประเทศไทยที่มีปัญหาเป็นโรคภูมิแพ้ โดยโรคนี้เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไวต่อสิ่งแปลกปลอม หรือที่เรียกว่า "สารก่อภูมิแพ้" ซึ่งสามารถพบได้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น ฝุ่น เชื้อราในอากาศ ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ อาหารที่รับประทานทุกวัน
สาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้
อาการของโรคภูมิแพ้จะเกิดขึ้น เมื่อสารก่อภูมิแพ้ซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย ผ่านการสูดดม การสัมผัสกับผิวหนัง หรือการรับประทานเข้าไป หลังจากนั้น หากภูมเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองสารก่อภูมิแพ้เหล่านั้นด้วยการหลั่งสารขึ้นมาต่อต้านฮิสตามีน (Histamine) รวมถึงสารก่อการอักเสบต่างๆ ซึ่งจะกระตุ้นให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันผลิตแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมาต่อต้านสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ในครั้งต่อไปที่ร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้นั้นอีก ระบบภูมิคุ้มกันและแอนติบอดีของร่างกายซึ่งจดจำสารก่อภูมิแพ้นั้นได้แล้วจะตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นเพิ่มมากขึ้นและไวขึ้น สารฮีสตามีนที่ร่างกายหลั่งออกมาเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอมเป็นตัวการสำคัญของอาการที่ไม่พึงประสงค์ของโรคภูมิแพ้ ส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น อาการจาม น้ำมูกไหล ระคายเคืองเยื่อบุต่าง ๆ คันผิวหนัง ผื่นขึ้นตามตัว เป็นต้น
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การรักษาโรคภูมิแพ้ที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ แต่ในบางครั้งก็ทำได้ยาก จึงต้องใช้ยาช่วยในการบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นเพื่อไม่ให้มารบกวนการดำเนินชีวิตได้
ยาที่ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้
1. ยากลุ่มต้านฮิสตามีนรุ่นเก่า (First Generation Antihistamine)
ยาในกลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการแก้แพ้ดี ใช้บรรเทาได้ทั้งอาการแพ้ผื่นคันหรือแพ้อากาศ ยากลุ่มนี้สามารถจับกับตัวรับฮิสตามีนในสมองได้ดี จึงช่วยลดการหลั่งฮิสตามีน แต่การที่ยานี้จับกับตัวรับฮิสตามีนในสมองจึงมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้ง่วงซึม บางครั้งสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้นอนหลับได้ด้วย ยาในกลุ่มนี้จัดเป็นยาอันตรายสามารถหาซื้อได้ในร้านขายยาแต่ต้องจ่ายโดยเภสัชกร ตัวอย่างยาแก้แพ้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ คลอร์เฟนิรามีน (chlorpheniramine; Chlor-Trimeton®, Chlor-phen®) ไฮดรอกไซซีน (hydroxyzine; Atarax®) โปรเมทธาซีน (promethazine; Phenergan®) เป็นต้น
2. ยากลุ่มต้านฮิสตามีนรุ่นใหม่ (New Generation Antihistamine)
สำหรับยาต้านฮิสตามีนกลุ่มใหม่ออกฤทธิ์โดยการจับกับตัวรับฮิสตามีนชนิด H1 (H-1 receptor) ที่ระบบประสาทส่วนปลาย ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อเรียบ หัวใจ และทางเดินหายใจ ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มใหม่นี้จึงไม่ค่อยมีผลทำให้ง่วงนอน เนื่องจากยาไม่ผ่านเข้าสมองหรือผ่านได้น้อยมากจึงไม่มีผลกดระบบประสาทส่วนกลาง ยาในกลุ่มนี้นิยมใช้บรรเทาอาการแพ้อากาศมากกว่าแพ้ผื่นคัน ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ เซเทอร์ริซีน (cetirizine; Zyrtex®), ลอร์ราธาดีน (loratadine; Claritin®) และเฟโซเฟนาดีน (fexofenadine; Telfast®)
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
3. ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (Intranasal Steroids)
ถึงแม้ว่ายาในกลุ่มนี้จะไม่ใช่ยาต้านฮิสตามีน แต่เป็นยาที่นิยมนำมาใช้รักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis) เรื้อรังที่มีประสิทธิภาพดีมาก ซึ่งยานี้ออกฤทธิ์เฉพาะที่ที่เยื่อบุจมูกได้ดีและมีผลต่อทั่วร่างกายต่ำ ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกออกฤทธิ์จับกับตัวรับสเตียรอยด์ โดยมีผลยับยั้งการสร้างและการหลั่งสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อเกิดอาการแพ้ ยาเตียรอยด์พ่นจมูกช่วยลดปริมาณของเซลล์ที่เกี่ยวกับการอักเสบของเยื่อบุจมูก ทําให้มียับยั้งปฏิกิริยาการอักเสบของภูมิแพ้ทั้งระยะแรก (early-phase reaction) และระยะหลัง (late-phase reaction) รวมถึงกรณีที่ปฏิกิริยาที่เยื่อบุจมูกมีความไวต่อสิ่งกระตุ้น (nasal hyperresponsiveness) มากกว่าปกติ ยาเสตียรอยด์พ่นจมูกเป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการบรรเทาอาการต่างๆ ของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้เนื่องจากสามารถลดและควบคุมอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล คัน และจามได้ดี
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่ เบโคลเมธาโซน ไดโพนพิโอเนท (Beclomethasone dipropionate; Beconase®) บูดีโซนายด์ (Budesonide; Rhinocort®) ฟลูติคาร์โซน โพรพิโอเนท (Fluticasone propionate; Flonase®) ฟลูติคาร์โซน ฟูโรเนท (Fluticasone furoate; Avamys®) ไตรแอมซิโนโลน อะซีโทไนด์ (Triamcinolone acetonide; Nasacort®) และโมเมธาโซน ฟูโรเนท (Mometasone furoate; Nasonex®)
ข้อควรระวังในการใช้ยารักษาอาการภูมิแพ้
- ควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรถึงประวัติโรคที่เป็น และประวัติการแพ้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ยาและผลเสียต่างๆ ที่อาจเกิดจากการใช้ยา
- ห้ามขับขี่รถหรือควบคุมเครื่องจักร หลังรับประทานยาแก้แพ้ที่มีผลทำให้ง่วงซึม เนื่องจากอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุและอันตรายถึงชีวิตได้
- ควรงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดในช่วงที่ใช้ยาแก้แพ้ชนิดง่วง เนื่องจากแอลกอฮอล์จะไปเสริมฤทธิ์ยาแก้แพ้ชนิดง่วง อาจมีผลกดการหายใจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- หากตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
- หากต้องการจะใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกระหว่างตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เนื่องจากยาสเตียรอยด์พ่นจมูกส่วนใหญ่จัดอยู่ใน pregnancy category C ยกเว้น budesonide ซึ่งจัดอยู่ใน Category B ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่า ดังนั้น ถ้าหญิงตั้งครรภ์ต้องการจะใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก ก็ควรเลือก budesonide ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร
- หลังใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกควรบ้วนปากทุกครั้ง เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดเชื้อราในช่องปาก
- สำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา fexofenadine (Telfast®) เนื่องจากตัวยาอาจมีผลทำให้อาการโรคหัวใจแย่ลงได้