ทานาคา (Thanakha)

คุณสมบัติของทานาคา นอกจากรักษาสิวแล้วมีอะไรอีกหรือไม่ ทานาคาผสมมะนาวแล้วใช้ดีขึ้นจริงหรือ?
เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 12 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทานาคา (Thanakha)

ทานาคา เป็นสมุนไพรยอดนิยมของชาวพม่า หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อของต้นกระแจะ โดยนำผงจากลำต้นของต้นทานาคามาบดผง ใช้ทาทั้งใบหน้าและผิวกายทั่วตัวสำหรับบำรุงผิวและป้องกันแสงแดด ทานาคาขึ้นชื่อเรื่องสมุนไพรบำรุงผิวพรรณ แต่แท้จริงแล้วทานาคายังมีสรรพคุณอื่นๆอีกด้วย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ชื่อวงศ์ RUTACEAE

ชื่อพ้อง Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson

ชื่ออังกฤษ Thanakha

ชื่อท้องถิ่น กระแจะ ขะแจะ ตุมตัง พญายา พินิยา

ถิ่นกำเนิดของทานาคา

ทานาคาพบในเขตร้อนชื้นของเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยและพม่า ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล100-400 เมตร ออกดอกราวเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ผลจะแก่ราวเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของทานาคา

ทานาคา เป็น ไม้ยืนต้นขนาดย่อม สูง 3-10 เมตร เปลือกด้านในสีเหลือง มีรอยแตกลึกๆ ใบเดี่ยว รูปไข่ปลายแหลม ขอบหยักเป็นซี่ไม่สม่ำเสมอ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-3 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก มีลักษณะเป็นครีบออกทั้งสองข้าง ดอกออกช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ ออกดอกเป็นช่อแบบกระจะ ดอกทานาคามีขนสั้นนุ่มและเป็นสีขาวหรือสีขาวอมสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ หลังจากผลัดใบ ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ผลกลมหรือรูปไข่กลับสีเขียว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร เมื่อผลสุกจะมีสีแดงส้มและดำ มีก้านเกสรตัวเมียและกลีบเลี้ยง เมล็ดแข็ง มีเนื้อบางๆหุ้ม

สรรพคุณของทานาคา

  • ตำรายาไทยใช้ทานาคาเป็นยา เปลือกต้นมีรสขมหอม แก้ไข้ ขับผายลม บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น จึงนิยมนำมาเข้าตำรับยาหอม โดยบดเป็นผงและชงกินกับน้ำอุ่น ช่วยบำรุงหัวใจ แก้วิงเวียน แก้อ่อนเพลียได้ หรือนำมาต้มกับน้ำร้อนให้หญิงหลังคลอดดื่มเพื่อบำรุงกำลัง
  • โบราณนำส่วนเปลือกและแก่นไม้ไปตากแห้ง แล้วนำไปฝนหรือบดเป็นผง ทำเป็นแป้งทาตัว ทาใบหน้าเพื่อบำรุงผิว ช่วยลดผดผื่น ลดสิว ฝ้า รอยด่างดำต่างๆ ปัจจุบันจึงนำผงทานาคาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่างๆ หรือนำผงทานาคาผสมโยเกิร์ต หรือน้ำผึ้ง ในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 แล้วพอกบริเวณใบหน้าหรือผิวกายนาน 10 – 15 นาทีแล้วล้างออกก็ได้เช่นกัน
  • แก่นนำมาทำเป็นยาดองเหล้า กินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง ซูบผอม)
  • แพทย์พื้นบ้านใช้ต้นต้มน้ำดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ววันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนในแก้โรคประดง (อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมากมักมีไข้ร่วมด้วย)
  • ผลสุก สามารถรับประทานเป็นอาหารได้ ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เจริญอาหาร

ทานาคากับฤทธิ์บำรุงผิวหนังจากงานวิจัย

แสงอัลตร้าไวโอเลตเป็นปัจจัยก่อให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง และทำให้คอลลาเจนใต้ผิวหนังซึ่งมีหน้าที่ช่วยคงความแข็งแรงและยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อผิวหนังลดลง จากการศึกษาทางกระบวนการวิจัยพบว่า ทานาคามีสารสำคัญชื่อมาร์เมซิน (Marmesin) เป็นสารกรองแสงอัลตร้าไวโอเลต จึงทำให้เซลล์ผิวหนังไม่เสื่อมสภาพ ถือเป็นการชะลอความแก่อีกทางหนึ่ง โดยงานวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับองค์ความรู้เดิม ที่คนโบราณมักนำผงจากต้นทานาคามาประทินผิวหนัง แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีงานวิจัยใดที่นำทานาคามาทดลองในระดับคลินิกเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านสิวหรือแบคทีเรียที่กระตุ้นให้เกิดสิว ซึ่งก็ต้องศึกษากันต่อไปในอนาคต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทานาผสมน้ำมะนาว ช่วยรักษาสิวได้จริงหรือไม่

ทานาคา อาจไม่ใช่สมุนไพรที่นำใช้ในการรักษาสิวโดยตรง แต่มีผลช่วยในทางอ้อม ในการช่วยลดผดผื่น ลดอาการคันและระคายเคืองผิวหน้า ส่วนน้ำมะนาวนั้นอุดมด้วยวิตามินซีและกรดผลไม้ที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว และช่วยกัดหัวสิว ทำให้หัวสิวแห้ง และค่อยๆยุบลงได้ ฉะนั้นการนำทานาคาผสมน้ำมะนาวก็มีส่วนช่วยลดการเกิดสิวได้ แต่ทั้งนี้การรักษาความสะอาดของใบหน้าควบคู่ไปด้วยสำคัญที่สุด

วิธีการใช้ทานาคาที่ถูกต้อง

คนโบราณใช้ทานาคาสำหรับบำรุงผิวพรรณ โดยนำผงทานาคามาพรมน้ำเพียงเล็กน้อย แล้วพอกบริเวณใบหน้า ทิ้งไว้ 10-15 นาทีแล้วล้างออก แต่ปัจจุบันจะอาจมีการนำผงทานาคามาประยุกต์ใช้กับส่วนผสมอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน เช่น โยเกิร์ต น้ำผึ้ง น้ำมะนาว เป็นต้น ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความชอบส่วนบุคคลได้เลย แต่การผสมกับส่วนผสมอื่นๆ อาจต้องคำนึกถึงการระคายเคืองผิวหนังด้วย โดยอาจจะทดสอบบริเวณใต้ท้องแขนก่อน หากมีอาการคัน ระคายเคือง หรือเกิดผื่นแดงให้ล้างออกทันที


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
เสงี่ยม พงษ์บุญรอด, ไม้เทศเมืองไทย, 2522.
พร้อมจิต ศรลัมพ์ และคณะ, บรรณาธิการ. สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ, 2535.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต และ วิเชียร จีรวงศ์. คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, 2542.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
แหล่งวิตามินบำรุงผิว
แหล่งวิตามินบำรุงผิว

แนะนำ 5 วิตามินบำรุงผิว และวิธีรับประทานให้ได้ประโยชน์สูงสุด

อ่านเพิ่ม
ผิวแห้ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลผิวให้คงความชุ่มชื้น
ผิวแห้ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลผิวให้คงความชุ่มชื้น

อาการผิวแห้งมีหลายระดับ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการอักเสบได้ มาเรียนรู้วิธีดูแลรักษา และป้องกันผิวแห้งกันเถอะ

อ่านเพิ่ม