บวบหอมเป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร เนื่องจากเป็นผักที่มีกากใยสูง มีส่วนช่วยในการขับถ่ายได้ดี และยังมีสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจอีกหลายประการ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Luffa cylindrica (L.) M.Roem.
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ชื่อวงศ์ CUCURBITACEAE
ชื่ออังกฤษ Smooth Loofah, Sponge Gourd, Vegetable Sponge
ชื่อท้องถิ่น กะตอร่อ บวบกลม บวบอ้ม มะนอยขม มะนอยอ้ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบวบหอม
บวบหอมเป็นไม้เถา มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นและกิ่งก้านมีขนที่จะจะค่อยๆ หลุดร่วงไปเมื่อแก่ ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย มีรอยเว้าลึกเป็น 5 แฉก โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ก้านใบเป็นเหลี่ยม ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ออกดอกเดี่ยว หรือออกเป็นช่อก็ได้ ดอกเพศผู้เป็นช่อ กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อสั้นๆ ปลายแยกเป็นกลีบเล็กๆ เรียวยาว มีขน กลีบดอก 5 กลีบรูปรี สีเหลือง ขอบกลีบมีรอยย่นเป็นคลื่น เกสรผู้ 3 อัน อับเรณูมีจำนวนช่องไม่เท่ากัน ดอกเพศเมียมักออกเป็นดอกเดี่ยว กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่รูปทรงกระบอกอยู่ต่ำกว่ากลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก ภายในมี 3 ช่อง ท่อรังไข่กลมสั้น ปลายแยกเป็น 3 แฉก ผลรูปทรงกระบอก ปลายผลมีรอยของกลีบรองกลีบดอกเหลืออยู่ ผลอ่อนสีเขียว มีลายสีเขียวแก่ ผลแก่สีเขียวอมเหลือง หรือเขียวเข้มปนเทา เนื้อในมีเส้นใยเหนียวเป็นร่างแห เมล็ดรูปรีแบนเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ
คุณค่าทางโภชนาการของผลบวบหอม ต่อ 100 กรัม ให้พลังงาน 16 กิโลแคลอรี
- โปรตีน 0.7 กรัม
- ไขมัน 0.1 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 3.0 กรัม
- เส้นใยอาหาร 0.2 กรัม
- น้ำ 95.9 กรัม
- วิตามินบี 1 0.37 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม
- วิตามินบี 3 0.2 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 15 มิลลิกรัม
- ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม
- ธาตุฟอสฟอรัส 3 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม
แหล่งที่มา : สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สรรพคุณของบวบหอม
ตำราแพทย์แผนจีนและแพทย์แผนไทยโบราณ ได้นำบวบหอมมาปรุงยารักษาโรค โดยมีวิธีทำและสรรพคุณดังนี้
- ตามคัมภีร์แพทย์แผนไทยโบราณ กล่าวว่า บวบหอมเป็นยาบำรุงธาตุ การรับประทานผลสด จะช่วยบรรเทาอาการไข้และบำรุงน้ำดี ทำให้เจริญอาหาร
- ใบรักษาแผลสด ห้ามเลือด หรือหากมีอาการเหงื่อออกมาก ให้ใช้ใบสดผสมกับเมนทอลแล้วนำมาตำใช้เป็นยาทาหรือใช้พอก
- ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน ระบุส่วนใบ ผล ใยบวบ รากและเถา มีรสขมหวานเย็น ออกฤทธิ์ที่ตับ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ดอกมีรสชุ่มหวานและเย็นจัด ช่วยดับร้อนในร่างกาย ช่วยทำให้เลือดเย็น วิธีรับประทานคือ นำส่วนต่างๆ ของบวบหอมมาตากแห้ง แล้วต้มในน้ำเดือด รับประทานก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน
- ผลมีรสชุ่มและเย็น ใช้เป็นยารักษาโรคบิดถ่ายเป็นเลือด โดยใช้ผลแห้งประมาณ 1 ผล นำไปเผาให้เป็นถ่านแล้วบดเป็นผง ใช้ผสมกับน้ำปูนใสดื่มครั้งละประมาณ 6 กรัม
- เถาใช้เป็นยารักษาหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ให้ใช้เถาประมาณ 100-150 กรัม นำมาหั่นเป็นแว่นบางๆ ต้มกับน้ำ 1,000 ซีซี โดยต้มจนเหลือน้ำประมาณ 400 ซีซี เสร็จแล้วพักไว้ก่อน นำกากที่ต้มครั้งแรกมาต้มกับน้ำอีก 800 ซีซี แล้วต้มจนเหลือ 400 ซีซี แล้วนำน้ำที่ต้มทั้งสองมารวมกัน เคี่ยวด้วยไฟอ่อน ๆ จนเหลือน้ำประมาณ 150 ซีซี ใช้แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 50 ซีซี ติดต่อกัน 10 วัน
- นำเถามาคั่วให้เหลืองแล้วบดเป็นผง ใช้ทำเป็นยานัตถุ์เป่าเข้าจมูก แก้แผลเรื้อรังในจมูก ทำติดต่อกัน 2-4 วัน
- กรณีมีพยาธิตัวกลมในลำไส้ ผู้ใหญ่ใช้เมล็ด 40-50 เม็ด เด็กใช้เมล็ด 30 เม็ด นำมาตำให้ละเอียด รับประทานช่วงท้องว่าง หรือก่อนมื้ออาหาร วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 2-3 วัน จะช่วยถ่ายพยาธิตัวกลมออกทางอุจจาระ
การนำบวบอ่อนมาปรุงอาหาร
บวบหอมสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายโดยไม่จำเป็นต้องปอกเปลือก เช่น บวบผัดไข่ บวบผัดเต้าหู้ อ่อมไก่ใส่บวบ แกงจืดบวบ เป็นต้น
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการรับประทานบวบหอม
แพทย์แผนโบราณกล่าวว่า หากรับประทานเมล็ดของบวบหอมมากเกินไป อาจทำให้อาเจียนและท้องเดิน ส่วนเนื้อผลของบวบหอมเป็นผักที่สามารถรับประทานได้เป็นประจำ