บางครั้ง น้ำตาลเทียมก็ช่วยได้

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
บางครั้ง น้ำตาลเทียมก็ช่วยได้

น้ำตาลเทียม เป็นสารสังเคราะห์ที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล ซึ่งไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ที่ใช้กันทั่วไปได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา ว่าปลอดภัย ได้แก่ แซคคาริน แอสปาแทม

น้ำตาลเทียม จัดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ และใช้อักษรย่อว่า “คน” ปัจจุบันมีอยู่หลายยี่ห้อการค้า ส่วนใหญ่นิยมใช้สารแอสปาแทมเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิด คือ ฟินิลอลานิน และกรดแอสปาติก บนฉลากจะมีข้อความระบุว่าห้ามใช้ในโรคฟินิลคีโตนูเรีย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เนื่องจากร่างกายของผู้ป่วยโรคนี้ ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากกรดอะมิโนฟินิลอลานิน แต่กลับเกิดพิษจากกรดอะมิโนชนิดนี้ได้ อย่างไรก็ตามโรคนี้มักเป็นตั้งแต่แรกเกิด 1 วัน และวินิจฉัยได้ง่าย สำหรับบุคคลทั่วไปจึงไม่จำเป็นต้องกังวลกับคำเตือนข้อนี้

ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ค่อยได้ หรือต้องการควบคุมน้ำหนัก ควรสามารถเลือกใช้น้ำตาลเทียมเข้ามาช่วยปรุงอาหารต่างๆ ได้ เช่น ใส่เครื่องดื่มที่ชื่นชอบ ใส่ของหวานที่ยังเลิกไม่ได้ ซึ่งควรใช้อย่างถูกต้อง ใช้อย่างถูกวิธี และไม่ทำให้เกิดโทษ ตัวอย่างเช่น

น้ำตาลเทียมที่ไม่ควรปรุงในอาหารร้อนๆ เช่น แอสปาแตม และซัคคารีน โดยจะทนความร้อนได้ไม่เกิน 65 องศาเซลเซียสเท่านั้น (ความร้อนระดับชงชา หรือกาแฟ)

1. แอสปาแทม

ให้ความหวานประมาณ 200-300 เท่าของน้ำตาลทราย และรสชาติใกล้เคียงน้ำตาลทรายมาก นิยมใส่ในน้ำอัดลม เครื่องดื่มอื่นๆ อาหารแห้ง ไอศกรีม เยลลี่ และขนมหวานต่างๆ เป็นต้น

ข้อเสียคือ แอสปาแทมสลายตัวในอุณหภูมิที่สูง และเมื่อสภาพความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสม ทำให้สูญเสียคุณสมบัติในการให้ความหวานไป

แอสปาแทมในปริมาณสูงมาก ทำให้หนูทดลองเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมีสมองผิดปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดขนาดแอสปาแทม ที่ปลอดภัยในคนคือ วันละไม่เกิน 10 มก./กก. ของน้ำหนักตัว

2. ชัยคลาเมต

มีความหวาน 30 เท่าของน้ำตาลทราย และไม่ให้พลังงาน ไม่ทำให้อาหารหวานเอียน หรือขมในคอ และไม่หวานติดลิ้นอยู่ หลังจากกินอาหารนั้นหมดแล้ว

ในราว พ.ศ. 2500 พบว่า ชัยคลาเมต อาจเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งปัจจุบันในเมืองไทยได้ห้ามใช้แล้ว สหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้ประกาศห้ามใช้ เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่ยังไม่รับรองผลการวิจัยดังกล่าว ก็ยังใช้ชัยคลาเมตอยู่

3. ซัคคาริน หรือขัณฑสกร

มีความหวานเป็น 300-400 เท่าของน้ำตาลทราย และไม่ให้พลังงานให้รสหวานจัด หวานเอียน และติดลิ้น ใช้ในปริมาณมาก อาจรู้สึกได้รสขมด้วย

ซัคคารินในขนาด 5-25 กรัมต่อวัน ติดต่อกันหลายวัน หรือรับประทานครั้งเดียว 100 กรัม จะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง ซึมและชักได้ บางคนที่แพ้ซัคคารินแม้จะใช้น้อยกว่านี้ จะเกิดอาการอาเจียน ท้องเดินและผิวหนังเป็นผื่นแดง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาหารที่นิยมใส่ซัคคาริน ได้แก่ ผลไม้ดอง ไอศกรีม และขนมหวานต่างๆ โดยไม่อนุญาตให้ใส่ในเครื่องดื่ม ซัคคารินถูกทำลายโดยความร้อนและบางประเทศได้ทดลองพบว่า ทำให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะในสัตว์ ในบางประเทศจึงห้ามใช้ซัคคารินในอาหาร

4. อะชิซัลเฟม เค

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ผสมอาหารได้เมื่อ พ.ศ. 2531 โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า “ซันเนต” มีความหวานสูงกว่าน้ำตาลทราย 200 เท่า และไม่ให้พลังงาน ปัจจุบันมีที่ใช้อยู่ในประเทศต่างๆ ราว 20 ประเทศ มีการใช้ในน้ำอัดลม เครื่องดื่มอื่นๆ ลูกกวาด และของหวานต่างๆ เป็นต้น 

คุณสมบัติของสารให้ความหวานแต่ละชนิด

สารให้

ความหวาน

รสชาติ พลังงาน

(กิโลแคลอรี/กรัม)

เหมาะกับโรคเบาหวานและคนอ้วน ข้อควรระวัง
ฟรุคโตส อร่อย 4 ไม่เหมาะ มีมากในน้ำผลไม้
ซอร์บิทอล

ไซลิทอล

อร่อย 2.6 ไม่เหมาะ ถ้าบริโภคมากๆ อาจท้องเสียและฟันผุได้
อีริไธทอล อร่อย น้อยกว่า

0.2

ใช่ ราคาสูงมากไม่ทำให้ฟันผุ
ซูคราโลส อร่อย 0 ใช่ ราคาสูงไม่ทำให้ฟันผุ
สตีวิโอไซด์

(หญ้าหวาน)

อร่อยปานกลาง 0 ใช่ หวานปนขมไม่ทำให้ฟันผุ
แอสปาเทม ปานกลาง 0 ใช่
  • อย่าใส่อาหารร้อน
  • ห้ามใช้ในโรคพีนิลคีโตนูเรีย
  • ไม่ทำให้ฟันผุ
ซัคคาริน แย่ 0 ใช่
  • อย่าปรุงอาหารร้อน
  • ไม่ทำให้ฟันผุ
  • มีปนรสขมของโลหะ
อะซิซัลแฟม-เค แย่ 0 ใช่
  • ไม่ทำให้ฟันผุ
  • มีปนรสขมของโลหะ

 

น้ำตาลเทียมที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

ส่วนใหญ่ผสมน้ำตาลเทียมเล็กน้อยเข้ากับน้ำตาลแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากกว่า มีขายในรูปแบบผงบรรจุซอง หรือเป็นเม็ดบรรจุตลับ หรือเป็นน้ำบรรจุซอง ฉลากบนซองจะระบุส่วนประกอบ บอกแคลอรีบอกความหวานใน 1 ซองเทียบเป็นความหวานของน้ำตาลทรายกี่ช้อนชา

เช่น สลิมมา 1 ซอง หวานเท่าน้ำตาลทราย 2 ช้อนชา

คอนโทรล 1 ซอง หวานเท่าน้ำตาลทราย 2.5 ช้อนชา

อีควล 1 เม็ด หวานเท่าน้ำตาลทราย 1 ช้อนชา

ชื่อการค้า ชนิดน้ำตาลเทียม พลังงาน

(กิโลแคลอรี/ซอง)

อีควล แอสปาเทม 21% ผสมกับ แลกโทส 72% 4
สลิมม่า แอสปาเทม 3.8% ผสมกับ แลกโทส 95.8% 4
ฟิตเน่ แอสปาเทม ผสมกับ แลกโทส 4
ไลท์ซูการ์ แอสปาเทม ผสมกับ น้ำตาลทราย 16
ทรอปิคาน่า แอสปาเทม ผสมกับ ซอร์บิทอล 6
สวิซซี่ แอสปาเทมผสมกับอะซิซัลเฟมเค, แลกโทส 4
สวีตเอ็นโลว์ แอสปาเทม ผสมกับ อะซิซัลเฟม-เค,

แลกโทส

4
ดี-เอ็ด ซูคราโลส ผสมกับ อีริไธทอล น้อยกว่า 0.18
คอนโทรล มอลทิทอล 99.8% ผสมกับ ซูคราโลส 0.2% 15

 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Artificial sweeteners: sugar-free, but at what cost?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/artificial-sweeteners-sugar-free-but-at-what-cost-201207165030)
Artificial Sweeteners May Hinder Diet, Weight Loss. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/news/20040630/artificial-sweeteners-damage-diet-efforts#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป