กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Xylitol (ไซลิทอล)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ข้อมูลภาพรวมของไซลิทอล

ไซลิทอล (Xylitol) คือแอลกอฮอล์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในพืชผักและผลไม้ส่วนมาก โดยไซลิทอลที่สกัดมาจากไม้เบิร์ชนั้นจะถูกนำไปใช้ทำยา

ไซลิทอลถูกใช้เป็นสารแทนน้ำตาล และเป็นส่วนผสมของหมากฝรั่งและขนมขบเคี้ยว “ปราศจากน้ำตาล” ทั้งหลาย อย่างไรก็ตามสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่นิยมใช้กันมากที่สุดกลับเป็นซอร์บิทอล (sorbitol) เนื่องจากมีราคาถูกกว่าไซลิทอลและมักนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ง่ายกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เมื่อนำมาใช้ทำยา ไซลิทอลถูกใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อในหูชั้นใน (otitis media) ในเด็กเล็กและใช้เป็นสารแทนน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

ไซลิทอลที่ใส่เข้าไปในหมากฝรั่งและผลิตภัณฑ์ดูแลฟันต่าง ๆ เพื่อป้องกันฟันผุและปากแห้ง

ในบางครั้งมีการใส่ไซลิทอลในอาหารเหลวที่ให้ผ่านทางสายยางเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับผู้ป่วย

ไซลิทอลที่ถูกผสมเข้ากับน้ำใช้เพื่อล้างโพรงจมูกสำหรับผู้ที่มีปัญหาไซนัส

ผู้เลี้ยงสุนัขหลายคนควรตระหนักว่าไซลิทอลเป็นพิษกับสุนัขแม้จะได้รับในปริมาณน้อยมากก็ตาม หากสุนัขกินไซลิทอลเข้าไปควรรีบพาสุนัขไปพบสัตวแพทย์ในทันที

ไซลิทอลออกฤทธิ์อย่างไร?

ไซลิทอลมีรสหวานแตกต่างจากน้ำตาล ไซลิทอลไม่ทำให้เกิดกรดที่ทำให้ฟันผุ ในทางกลับกันไซลิทอลเข้าไปลดระดับของแบคทีเรียที่ทำให้ฟันผุในน้ำลายลง และยังออกฤทธิ์กำจัดแบคทีเรียบางชนิดที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่หู

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การใช้และประสิทธิภาพของไซลิทอล

ภาวะที่ใช้ไซลิทอลได้อย่างค่อนข้างมีประสิทธิภาพ

  • ป้องกันฟันผุ (tooth decay) การใช้ผลิตภัณฑ์อย่างอาหาร, หมากฝรั่ง, ลูกอม, และยาสีฟันที่ประกอบด้วยไซลิทอล 1-20 กรัมต่อวันสามารถลดอัตราการเกิดโพรงบนฟันได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยซอร์บิทอล แต่สำหรับหมากฝรั่งบางยี่ห้อจะประกอบด้วยไซลิทอลในหน่วยมิลลิกรัมเท่านั้น ซึ่งมีน้อยเกินกว่าจะใช้ป้องกันฟันผุ อีกทั้งยังไม่แน่ชัดว่าไซลิทอลสามารถป้องกันฟันผุในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีหรือไม่

ภาวะที่อาจใช้ไซลิทอลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ป้องกันการติดเชื้อในหู (otitis media) ในเด็กก่อนวัยเรียน การใช้ไซลิทอลก่อนอาหารกับเด็กก่อนวัยเรียนในปริมาณที่เหมาะสมอาจช่วยลดจำนวนครั้งของการติดเชื้อในหูและลดความจำเป็นของยาปฏิชีวนะลง อย่างไรก็ตามการให้ไซลิทอลในช่วงที่มีอาการจากภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันกลับไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อในหูได้

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ไซลิทอลรักษาได้หรือไม่

  • คราบหินปูน (Dental plaque) สารละลายที่ประกอบด้วยไซลิทอลไม่ได้ช่วยลดคราบหินปูนในเด็ก อีกทั้งก็ยังไม่มีความชัดเจนว่าผลิตภัณฑ์ไซลิทอลอื่น ๆ นั้นสามารถช่วยลดหินปูนในเด็กได้หรือไม่
  • ปัญหาไซนัส บางคนที่ใช้การบีบหรืออุปกรณ์ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือพบว่าการใช้ไซลิทอลแทนน้ำเกลือสามารถลดอาการต่าง ๆ อย่างคัดจมูกได้ดีกว่าการใช้น้ำเกลือ
  • ป้องกันปากแห้ง
  • ใช้เป็นสารแทนน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของไซลิทอลเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของไซลิทอล

ไซลิทอลในปริมาณที่พบในอาหารจัดว่าปลอดภัย และปลอดภัยสำหรับการใช้เป็นยาสำหรับผู้ใหญ่ส่วนมากในปริมาณ 50 กรัมต่อวัน อีกทั้งไซลิทอลที่อยู่ในน้ำสำหรับล้างจมูกก็นับว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตามควรเลี่ยงการรับประทานไซลิทอลปริมาณสูงเนื่องจากมีข้อกังวลว่าการบริโภคไซลิทอลในปริมาณสูงเป็นเวลานาน (มากกว่าสามปี) อาจทำให้เกิดอาการสั่นได้ ไซลิทอลยังอาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงและแก๊สในลำไส้ โดยการใช้เป็นยาสำหรับเด็กจะถูกนับว่าปลอดภัยหากใช้ในปริมาณที่ 20 กรัมต่อวัน

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้ไซลิทอลในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้ไซลิทอลเพื่อความปลอดภัย

การใช้ไซลิทอลร่วมกับยาชนิดอื่น

ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ของไซลิทอล

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

ทาภายในปาก:

  • สำหรับป้องกันฟันผุในผู้ใหญ่และเด็ก: ปริมาณการใช้ไซลิทอลมีความแตกต่างมากมาย โดยปกติแล้วปริมาณที่ใช้มีตั้งแต่ 7-20 กรัมต่อวันโดยแบ่งเป็นสามถึงห้าโดสซึ่งมักเป็นการได้รับจากลูกอมหรือหมากฝรั่ง อีกทั้งมีข้อแนะนำว่าควรเคี้ยวหมากฝรั่งไซลิทอลหลังอาหาร 10-20 นาที

เด็ก

ทาภายในปาก:

  • สำหรับป้องกันฟันผุ: ปริมาณการใช้ไซลิทอลกับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไปมีความแตกต่างมากมาย โดยปกติแล้วปริมาณที่ใช้มีตั้งแต่ 7-20 กรัมต่อวันโดยแบ่งเป็นสามถึงห้าโดสซึ่งมักเป็นการได้รับจากลูกอมหรือหมากฝรั่ง อีกทั้งมีข้อแนะนำว่าควรเคี้ยวหมากฝรั่งไซลิทอลหลังอาหาร 10-20 นาที การอมลูกอมที่มีไซลิทอล 5-8 กรัมจะได้ประโยชน์จากไซลิทอลมากที่สุด และ ณ ขณะนี้ก็ยังเร็วเกินจะสรุปว่าไซลิทอลสามารถป้องกันฟันผุในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีได้หรือไม่
  • สำหรับลดความเสี่ยงภาวะติดเชื้อในหูในเด็กก่อนวัยเรียน: ปริมาณไซลิทอลในหมากฝรั่ง, ลูกอมยา, หรือไซรัปทั้งหมด 8.4-10 กรัม โดยแบ่งเป็นห้าโดสหลังอาหาร


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
pubchem, Xylitol (https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Xylitol), 25 January 2020.
Jamie Eske, What are the health benefits of xylitol? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324155.php), 11 January 2019.
Kris Gunnars, BSc, Xylitol: Everything You Need to Know (https://www.healthline.com/nutrition/xylitol-101), 4 October 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)