โทษของน้ำตาลเทียม อันตรายกว่าที่คิด

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โทษของน้ำตาลเทียม อันตรายกว่าที่คิด

หลายคนที่รักสุขภาพ จะรู้ดีว่าน้ำตาลหากทานมากเกินไปไม่ดีต่อร่างกาย จึงเลี่ยงไปทานน้ำตาลเทียม หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลกัน เพื่อให้ได้รสชาติความหวาน แต่ไม่รู้สึกผิดต่อร่างกาย ซึ่งความจริงแล้ว น้ำตาลเทียมได้แฝงอันตรายเอาไว้มากมาย แต่ก่อนทราบมาดูข้อมูลก่อนว่าน้ำตาลเทียมคืออะไร

น้ำตาลเทียมคืออะไร ?

น้ำตาลเทียมที่จำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาด จะมีส่วนประกอบเป็นสารที่ให้ความหวานเรียกว่าแอสปาร์เทม (Aspartame) มาผสมกับน้ำตาลแล็กโทส และสารซิลิคอนไดออกไซด์ ซึ่งสาร 2 ตัวหลังจะทำหน้าที่ช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์อยู่ในลักษณะเป็นผงดีเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อันตรายจากน้ำตาลเทียม

1. สารเคมีตกค้างทำให้ ก่อมะเร็ง

แอสปาแทมจะประกอบไปด้วยสารเคมีจำนวน 3 ชนิด คือ กรดแอสปาร์ติก ฟีนิลอะลานีน และเมธานอล ซึ่งหากร่างกายได้รับสารเคมีเหล่านี้เป็นจำนวนมาก ก็จะไม่สามารถกำจัดออกไปจากร่างกายได้หมด สุดท้ายอาจเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ และจะทำให้ DNA ภายในร่างกายเกิดความเสียหาย และอาจพัฒนาจนกลายเป็นความผิดปกติในเซลล์ และเป็นมะเร็งได้ในที่สุด

2. เป็นสาเหตุโรคอ้วน และเบาหวานทางอ้อม

จุดหมายของน้ำตาลเทียม คือการแทนที่การทานน้ำตาล เพื่อจะเลี่ยงโรคอ้วน และเบาหวานได้ แต่กลับกลายเป็นว่าแอสปาแทมเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็น 2 โรคนี้เสียเอง เพราะแอสปาร์แทมจะทำให้ร่างกายมีปริมาณการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติ และส่งผลให้ร่างกายยิ่งโหยหาความหวานจากน้ำตาลมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ท้ายที่สุดแล้วก็ยังวนเวียนกลับไปหาน้ำตาลแท้เหมือนเดิม อีกทั้งยังต้องการอาหารมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

3. เป็นสารที่อันตราย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ถึงแม้ว่าจะมีการอนุญาตให้ใช้น้ำตาลเทียมบริโภคอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนแล้ว แต่จากการทดลองกับสัตว์บางชนิด ก็ยังพบอาการข้างเคียงได้เช่น ชักอย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

4. ท้องอืด ท้องเฟ้อ

แอสปาแทมเป็นน้ำตาลเทียม ที่ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงทำให้มันไปกองรวมกันอยู่ในลำไส้ใหญ่ และจะมีแบคทีเรียที่สามารถย่อยแอสปาแตมได้ แต่จะผลิตก๊าซออกมาด้วย จึงทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อและถ่ายได้มากกว่าปกติ

5. มีอันตรายต่อสมอง

กรดแอสปาร์ติก ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งในน้ำตาลเทียม ก็สามารถผ่านเข้าสู่เซลล์สมองได้ และเมื่อมีปริมาณแคลเซียมในสมองมากๆ ก็ทำให้สมองได้รับอันตรายได้ อีกทั้งเซลล์สมองอาจมีความผิดปกติ อาจทำให้เกิดโรคลมบ้าหมู อัลไซเมอร์ และรวมไปถึงปลอกประสาทอักเสบ หรือต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติก็ได้

วิธีการลดความหวานโดยไม่ต้องพึ่งน้ำตาลเทียม

วิธีการรักษาสุขภาพได้ดีที่สุดก็คือให้ลดการกินน้ำตาลให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มที่ต้องใส่ความหวานเข้าไป ทั้งน้ำตาลทราย และนมข้นหวาน ที่แต่งรสกาแฟเย็นหรือชาเย็นหรือเลี่ยงขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว เค้ก หรือคุกกี้ ด้วยการกินผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำทดแทน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

[caption id="" align="aligncenter" width="466"] หมากฝรั่ง นิยมใช้น้ำตาลเทียม[/caption]

อาหารคาวก็เป็นตัวที่ซ่อนน้ำตาลมาแบบไม่รู้ตัว ควรพยายามฝึกลิ้นให้อย่าติดกับความหวาน ไม่ว่าจะกินก๋วยเตี๋ยวจากใส่น้ำตาลครั้งละสองช้อนก็ต้องลดลงมาให้มาก หรือไม่ใส่เลยได้ยิ่งดี เพราะแค่น้ำแกงที่ได้จากซุปก้อนก็แย่แล้ว หากใส่น้ำตาลเข้าไปอีกก็จะยิ่งไปกันใหญ่

สรุปทานน้ำตาลเทียมได้หรือไม่

จากโทษทั้งหมดข้างต้นไม่ใช่ว่าจะกลัวจนทานไม่ได้ ความจริงคือยังทานได้ต่อไปเพราะระบบในร่างกายของทุกคน สามารถขจัดสารพิษในเบื้องต้นได้ ยกเว้นคนที่เป็นโรคฟินิลคิโตนูเลียเท่านั้น อีกทั้งส่วนใหญ่จะกินในปริมาณที่ต่ำมากๆ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ข้างต้นเพราะน้ำตาลเทียมจึงน้อยมาก แต่ก็ใช่จะไม่กลัวเลย ขอให้การกินอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ หรือถ้าอยากลดการกินน้ำตาล ก็ลดการทานหวานไปเลยจะดีกว่า


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Artificial sweeteners: sugar-free, but at what cost?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/artificial-sweeteners-sugar-free-but-at-what-cost-201207165030)
Artificial Sweeteners: Good or Bad?. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/artificial-sweeteners-good-or-bad)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป