ยานอนหลับ คนทั่วไปซื้อได้เองเลยไหม ปลอดภัยหรือเปล่า?

ยานอนหลับ ควรใช้เมื่อจำเป็น ใช้ถูกวิธีปลอดภัย ใช้ต่อเนื่องอันตรายทำให้ติดยาได้
เผยแพร่ครั้งแรก 18 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ยานอนหลับ คนทั่วไปซื้อได้เองเลยไหม ปลอดภัยหรือเปล่า?

ปัญหาการนอนไม่หลับ พบได้มากทั้งในวัยรุ่นและผู้สูงอายุ สาเหตุอาจเกิดจากความเครียด ความวิตกกังวลจากเรื่องต่างๆ หรือเจ็บป่วย รวมถึงสิ่งรบกวนจากภายนอก เช่น แสงสว่าง เสียงดัง กลิ่นเหม็น การทำงานที่ทำให้การนอนไม่เป็นปกติ

การเลือกใช้ยานอนหลับอาจเลือกได้ตามอาการที่นอนไม่หลับ การรักษาทำได้ทั้งวิธีไม่ใช้ยาและใช้ยา ซึ่งการใช้ยานอนหลับก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมมาก เพราะเห็นผลเร็ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รูปแบบยานอนหลับมีแบบไหนบ้าง ใช้อย่างไร HD มีคำตอบ

อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) คืออะไร มีกี่ประเภท?

ความหมายของอาการนอนไม่หลับ (Insomnia) คือ มีอาการนอนไม่หลับอย่างต่อเนื่องนานมากกว่าหรือเท่ากับ 1 เดือน และรู้สึกทรมานหรือสูญเสียความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำงาน

ประเภทของการนอนไม่หลับแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้

1. หลับยาก (Sleep onset insomnia) ผู้ป่วยจะมีอาการตาค้างอยู่นานจนกว่าจะหลับ มักพบในผู้ที่มีความเครียด เช่น วัยรุ่น วัยทำงาน

2. ตื่นบ่อย (Sleep maintenance insomnia) ผู้ป่วยจะนอนหลับได้ แต่มักจะตื่นกลางดึก และหลับใหม่ได้ยาก มักพบในคนสูงอายุ ผู้ที่มีโรคร่วมต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง โรงทางไขข้อ

ยานอนหลับ หาซื้อได้เองไหม?

ก่อนที่จะเริ่มใช้ยานอนหลับ ต้องพิจารณาอาการและรูปแบบการนอนไม่หลับก่อนที่จะเริ่มการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

บ่อยครั้งเมื่อมีอาการนอนไม่หลับ ผู้ป่วยมักจะหาซื้อยาจากร้านขายยาหรืออ่านคำแนะนำจากอินเทอร์เน็ต เพื่อมองหาตัวช่วยให้นอนหลับ

ยานอนหลับมีหลายกลุ่ม ดังนี้

1. สมุนไพรและอาหารเสริม

หากมีอาการนอนไม่หลับ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการหลับยาก (Sleep onset insomnia) อาจลองมองหาสมุนไพรที่ช่วยในการนอนหลับ และช่วยให้คลายเครียด เช่น

  • สารสกัดจากดอกคาโมมายล์ มีสรรพคุณช่วยให้ผ่อนคลาย สงบ และหลับได้ดีขึ้น
  • สมุนไพรเซนต์จอห์นสเวิร์ท (St. John’s Wort) เป็นสมุนไพรที่ใช้อย่างแพร่หลายในประเทศแถบยุโรป เนื่องจากมีฤทธิ์คลายเครียด และช่วยให้นอนหลับ
  • ขี้เหล็ก เป็นสมุนไพรไทยที่มีสารบาราคอล (Barakol) ช่วยให้นอนหลับ ในอดีตมีการใช้ใบขี้เหล็กอ่อนบดเป็นผงกินเป็นยานอนหลับ ต่อมาพบว่าทำให้เกิดตับอักเสบ จึงทำให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายกเลิกการใช้เป็นยาเดี่ยว ให้ใช้เป็นยาตำรับ

คนที่นอนไม่หลับสามารถใช้สมุนไพรเหล่านี้ได้ แต่ควรใช้ในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น หากมีโรคร่วมและมียาที่ใช้อยู่เป็นประจำ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด Warfarin ยารักษาโรคหัวใจ Digoxin ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้

2. ยาต้านฮีสตามีนรุ่น 1 (First generation antihistamine)

ยาในกลุ่มนี้จะใช้รักษาอาการแพ้ ผื่นคัน ผื่นลมพิษ น้ำมูกไหล จาม แต่ด้วยผลข้างเคียงจากการที่ยาสามารถผ่านเข้าสู่สมอง ไปกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ผู้ใช้ยามีอาการง่วง จึงมีการนำผลข้างเคียงนี้มาใช้ทำให้นอนหลับในผู้ที่นอนหลับยาก (Sleep onset insomnia)

ตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. เมลาโทนิน (Melatonin)

ตามปกติ เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่อยู่ในระบบประสาทที่ร่างกายสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติจากต่อมไพเนียล (Pineal gland) โดยจะผลิตเมื่อมีความมืดเป็นตัวกระตุ้น และถูกยับยั้งโดยแสงสว่าง มีปริมาณสูงสุดในช่วงเวลา 02.00-04.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ง่วงนอนมากที่สุด และจะลดลงเรื่อยๆ จนถึงช่วง 07.00-08.00 น. ก็จะหยุดสร้าง

นอกจากเวลาแล้ว ช่วงวัยก็มีผลต่อระดับเมลาโทนิน ในวัยเด็กจะมีปริมาณเมลาโทนินในเลือดสูงและลดลงเมื่ออายุมากขึ้น ในวัย 70-80 ปี เมลาโทนินอาจน้อยจนวัดค่าในเลือดไม่ได้เลย

ปัจจุบัน มีการนำเมลาโทนินมาใช้เพื่อช่วยเป็นยานอนหลับในกรณีต่างๆ เช่น การเดินทางข้ามประเทศแล้วนอนไม่หลับ (Jet lag) หรือผู้สูงอายุที่นอนไม่หลับ

รูปแบบเมลาโทนินที่มีขายในร้านยาจะเป็นรูปแบบออกฤทธิ์นาน (Prolonged-release tablets) ขนาด 2 มิลลิกรัม (Circadin) รูปแบบยานี้จะค่อยๆ ปลดปล่อยตัวยา ทำให้มีฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับได้นาน ห้ามหัก บด แบ่ง เม็ดยา

ควรใช้เมลาโทนินในระยะเวลาสั้นๆ เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ อาการง่วงระหว่างวัน ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ

นอกจากนี้ เมลาโทนินยังเกิดปฏิกิริยาต่อยาอื่น (Drug interaction) ได้มาก จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา

ตัวยาต้านฮีสตามีนรุ่น 1 และเมลาโทนิน ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตรายตามกฎหมาย ดังนั้นจึงสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา แต่ต้องจ่ายยาหรือได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา

4. ยากลุ่มเบนโซไดอะซีพีน (Benzodiazepine)

ยากลุ่มนี้จัดว่าเป็นยานอนหลับที่นิยมใช้ทางการแพทย์ เนื่องจากผ่านเข้าสู่สมองเร็ว ออกฤทธิ์เร็ว ดูดซึมได้ดี ทำให้หลับเร็วหลังจากรับประทาน ช่วยทั้งอาการนอนหลับยาก และอาการตื่นนอนบ่อย

ยากลุ่มนี้ต้องควบคุมการจ่ายยาโดยแพทย์ หรือมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น ระยะเวลาการออกฤทธิ์จะอยู่ในช่วง 15-30 นาที และยากลุ่มนี้ที่ช่วยในการนอนหลับควรมีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 8 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีอาการสะลึมสะลือหลังจากตื่นนอน ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ คือ Alprazolam (Xanax), Diazepam (Valium), Midazolam (Dormicum)

ยากลุ่มนี้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง และอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ หากใช้ยาต่อเนื่องอาจทำให้ดื้อยาหรือเสพติดยาได้

5. ยากลุ่มที่ไม่ใช่เบนโซไดอะซีพีน (Non-Benzodiazepine)

เป็นยานอนหลับที่มีมานาน ทำให้เกิดการดื้อยาน้อย แต่มีค่าครึ่งชีวิตประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งทำให้หลับได้ไม่นานมาก เช่น Zolpidem (Albien)

6. ยาต้านซึมเศร้า (Antidepressant) ที่มีฤทธิ์ง่วง

มักใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคซึมเศร้า แต่มีความวิตกกังวล นอนไม่หลับร่วมด้วย เช่น Amitriptyline

ตารางเปรียบเทียบยาที่ช่วยในการนอนหลับ

ขนาดยา (มิลลิกรัม)

ค่าครึ่งชีวิต (ชั่วโมง)

การดูดซึม

รูปแบบยา

ราคา (บาท/เม็ด)*

Alprazolam

0.5-1

12-20

เร็ว

ยาเม็ด/ยาน้ำ

5-20

Midazolam

7.5-15

1-4

เร็วมาก

ยาเม็ด/ยาน้ำ

11-45

Diazepam

5-10

20-50

เร็ว

ยาเม็ด/ยาน้ำ

2-24

Zolpidem

2.5-10

1.5-4

เร็ว

ยาเม็ด/ยาน้ำ/สเปรย์พ่นทางปาก

10-144

Amitriptyline

25-50

1.56-26.6

ปานกลาง

ยาเม็ด

3-46

Hydroxyzine

25-50

15-30 นาที

ปานกลาง

ยาเม็ด/ยาน้ำ

3-40

Chlorpheniramine

4-12

1-6

ปานกลาง

ยาเม็ด/ยาน้ำ

1-5

*ข้อมูลราคายาเปรียบเทียบราคายาในโรงพยาบาลเอกชนจากกรมการค้าภายใน (https://hospitals.dit.go.th/app/drug_price_list.php)

ยานอนหลับส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบเม็ดหรือน้ำ มีรูปสเปรย์บ้างบางตัว แต่ในรูปแบบดมหรือป้ายมักจะไม่ใช่ยานอนหลับ แต่เป็นกลุ่มยาสลบ

เนื่องจากยารูปแบบดมจะต้องใช้การระเหยที่ดีและออกฤทธิ์เร็ว ในกลุ่มของยานอนหลับยังไม่มีตัวที่มีค่าการระเหยสูงพอที่จะใช้เพียงการสูดดมแล้วตัวยาออกฤทธิ์ทำให้นอนหลับได้ ต้องใช้การรับประทาน ฉีดเข้าหลอดเลือด หรือพ่นเข้าทางปาก

การนำยานอนหลับไปใช้ในทางที่ผิดมีหรือไม่ ตัวยานั้นคืออะไร มีอันตรายหรือเปล่า?

ในปัจจุบันมีการนำยานอนหลับไปใช้ในทางที่ผิด ส่วนใหญ่จะเป็นยากลุ่มเบนโซไดอะซีพีน(Benzodiazepine) ซึ่งความจริงแล้ว ยากลุ่มนี้จะต้องสั่งจ่ายหรือมีใบสั่งยาจากแพทย์

ยาที่มีขายตามอินเทอร์เน็ตหรือในตลาดมืดจึงเป็นการลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศ

ยาเสียสาวที่หลายคนเรียกกัน มักเป็นตัวยา Alprazolam (Xanax) หรือMidazolam (Dormicum) สาเหตุที่ยาสองตัวนี้ถูกนำไปใช้มากเป็นเพราะว่ายาออกฤทธิ์เร็ว ละลายน้ำดี มีรูปแบบที่เป็นของเหลว ไม่มีรสชาติหรือกลิ่นที่ชัดเจน และมีผลข้างเคียงหนึ่งที่เรียกว่า Anterograde amnesia คือผู้ที่รับประทานยาจะเสียความทรงจำชั่วขณะ ช่วงหลังจากรับประทานยาไปจนถึงช่วงหลับ ทำให้ผู้เสียหายลืมสิ่งที่เกิดขึ้นและขาดหลักฐานที่จะนำมาจับกุมได้

แต่ในทางกฎหมายของไทย ยานี้ไม่สามารถหาซื้อได้เอง เพราะจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 ที่ควบคุมให้มีได้เฉพาะสถานพยาบาลหรือมีแพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น

หากมีการทำผิดเกี่ยวกับยากลุ่มนี้ จะมีโทษทั้งจำและปรับตาม พรบ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 หากล่อลวงให้หญิงหรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะใช้ยานี้มีโทษสูงสุดคือจำคุก 3 ปีถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 300,000-5,000,000 บาท

ข้อควรระวังในการใช้ยานอนหลับ

การใช้ยานอนหลับอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้

1. อาจมีอาการง่วงซึมหลังจากใช้ยา ควรหลีกเลี่ยงการขับรถหรือการทำงานบนที่สูง

2. ยากลุ่ม Benzodiazepines บางตัวอาจทำให้ลืมเหตุการณ์ก่อนและหลังใช้ยาในระยะเวลาสั้นๆ ได้ (Anterograde amnesia) ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์

3. อาจทำให้เกิดอาการดื้อยา คือต้องใช้ขนาดยาเพิ่มขึ้นถึงจะนอนหลับ หรือติดยาหลังจากใช้ยาขนาดสูงๆ เป็นระยะเวลานานๆ ได้

นอกจากนี้ ไม่ควรดื่มสุราร่วมกับยานอนหลับ เนื่องจากสุรามีฤทธิ์กดระบบประสาท ทำให้ยานอนหลับออกฤทธิ์มากเกินไป อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

สตรีมีครรภ์ และให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล, Midazolam (Dormicum) ภัยสังคมที่หญิงและชายควรรู้ (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/9/Midazolam-Dormicum-ภัยสังคมที่หญิงและชายควรรู้/), 4 มีนาคม 2553.
มาโนช หล่อตระกูล, อาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่เพียงพอ (https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Insomnia.PDF) 2544.
ภก.นาวา สุเทพากุล,วารสารเพื่อการวิจัย องค์การเภสัชกรรม, “เมลาโทนิน” ฮอร์โมนแห่งรัติกาล (http://www.gpo.or.th/Portals/6/Newsletter/RDINewsYr22No1-5.pdf), 31 มีนาคม 2558.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)