ผลข้างเคียงของมะเร็ง – อาการปวด (Pain)

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ผลข้างเคียงของมะเร็ง – อาการปวด (Pain)

ผู้ป่วยโรคมะเร็งประมาณครึ่งหนึ่งที่ได้รับการรักษาจะมีอาการปวดเกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ร่างกายมีความเสียหายเกิดขึ้น หรือเกิดจากก้อนมะเร็งไปกดเบียดอวัยวะหรือเส้นประสาทข้างเคียง เพื่อให้การจัดการกับอาการปวดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อคุณมีอาการปวดเกิดขึ้น จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อให้แพทย์พิจารณาวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ

อาการปวดคืออะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร?

อาการปวดคือความรู้สึกไม่สบายตัว เป็นความรู้สึกไม่พึงประสงค์ทางร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายมีความเสียหายเกิดขึ้น ประมาณ 5 ใน 10 คนของผู้ที่ได้รับการรักษาโรคมะเร็ง (50%) จะมีอาการปวดเกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ป่วยแต่ละรายจะรู้สึกปวดและประสบกับอาการปวดที่แตกต่างกัน อาการปวดที่เกิดขึ้นกับคุณอาจแตกต่างจากคนอื่นที่ได้รับการรักษาวิธีเดียวกับคุณ หรือเป็นโรคมะเร็งชนิดเดียวกับคุณ โปรดจำไว้ว่า อาการปวดที่มากขึ้นไม่ได้หมายความว่าโรงมะเร็งจะรุนแรงมากขึ้นหรือมีการดำเนินไปของโรค

คุณอาจมีอาการปวดได้จากหลายสาเหตุ ในการรักษาโรคมะเร็ง เช่น การผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด หรือการฉายรังสี สามารถทำให้เนื้อเยื่อร่างกายได้รับความเสียหายและบางครั้งอาจรวมถึงเส้นประสาทด้วย ทำให้คุณมีอาการปวดเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นสาเหตุทางกาย นอกจากนี้อารมณ์ของคุณยังส่งผลต่อระดับความปวดอีกด้วย ตัวอย่าเช่น หากรู้สึกวิตกกังวล หรือ ซึมเศร้า อาจทำให้อาการปวดแย่ลงได้ แรงกดดันทางสังคมหรือการทำงานอาจทำให้อาการปวดกำเริบขึ้นมาได้เช่นกัน

ถ้าคุณมีอาการปวด มีวิธีการรักษาที่สามารถบรรเทาอาการปวดให้ลดลงได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือเมื่อคุณมีอาการปวด ให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทราบทันที เพราะการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการปวดได้เร็วเท่าไร จะยิ่งทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ใครบ้างที่สามารถช่วยคุณจัดการกับอาการปวด

บุคลากรทางการแพทย์หลายสาขาวิชาชีพอาจช่วยคุณในการจัดการกับอาการปวด คุณอาจพบพวกเขาได้ที่โรงพยาบาลหรือที่บ้าน หรือที่ชุมชนใกล้บ้าน ได้แก่:

  • แพทย์: โดยแพทย์จะทำการติดตามอาการปวดและให้คำแนะนำในการรักษาให้กับคุณ
  • นักกายภาพบำบัด: สามารถให้คำแนะนำแก่คุณเกี่ยวกับวิธีทำให้เจ็บปวดน้อยลง
  • นักกิจกรรมบำบัด (occupational therapists): สามารถจัดเตรียมอุปกรณ์พิเศษเพื่อให้คุณรู้สึกสบายขึ้น
  • ผู้ให้คำปรึกษา หรือ นักจิตวิทยา: สามารถช่วยเหลือคุณด้านความวิตกกังวล หรืออารมณ์ ที่อาจทำให้อาการปวดแย่ลง
  • เภสัชกร: สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับยาแก้ปวดที่ต้องสั่งโดยแพทย์ และยาแก้ปวดที่มีขายทั่วไปตามร้านขายยา
  • ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลแบบประคับประคอง: เป็นกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการกับอาการปวด
  • วิสัญญีแพทย์: วิสัญญีแพทย์จำนวนหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบรรเทาปวดและสามารถรักษาอาการปวดด้วยเทคนิคพิเศษ
  • ทีมดูแลอาการปวด: เป็นทีมที่อยู่ตามโรงพยาบาล ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านอาการปวด

ความเจ็บปวดประเภทต่างๆ และวิธีในการอธิบายถึงอาการปวด

อาการปวดในผู้ป่วยแต่ละรายจะรู้สึกแตกต่างกัน หากคุณสามารถอธิบายถึงอาการปวดได้อย่างชัดเจนมากเพียงใด จะช่วยให้แพทย์หรือพยาบาลเลือกวิธีการรักษาให้กับคุณได้อย่างเหมาะสมที่สุด ให้พยายามอธิบายถึงตำแหน่งที่มีอาการปวด อาการปวดเป็นอย่างไร (เช่น ปวดแสบ ปวดตื้อ ปวดเจ็บแปลบ เป็นต้น) อาการปวดแย่มากแค่ไหน และเกิดขึ้นเมื่อใด คุณกำลังทำอะไรอยู่ในขณะที่มีอาการปวด นอกจากนี้จะยิ่งเป็นประโยชน์หากอธิบายได้ว่าอาการปวดเป็นอย่างไรเมื่อเวลาผ่านไป และอะไรทำให้อาการดีขึ้นหรือแย่ลง

การจดบันทึกอาการปวดไว้ในไดอารี่หรือสมุดบันทึกจะช่วยอธิบายถึงอาการปวดที่คุณเป็นให้กับแพทย์หรือพยาบาลทราบ ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดกับคุณได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อมีการใช้การรักษามะเร็งเพื่อควบคุมอาการปวด

การรักษามะเร็งสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดที่เกิดจากมะเร็งได้ ได้แก่ การผ่าตัด และการใช้ยา:

  • การผ่าตัด สามารถใช้เพื่อนำก้อนเนื้อมะเร็งทั้งหมดหรือบางส่วนออกจากร่างกาย อาการปวดจะลดลงเนื่องจากเมื่อนำก้อนมะเร็งออกแล้วจะลดแรงกดเบียดไปที่อวัยวะหรือเส้นประสาทข้างเคียงได้ ทำให้อาการปวดลดลง ในการผ่าตัดบางครั้งอาจมีการใส่ท่อกลวงเข้าไปในร่างกายด้วย หากมีการอุดตันเกิดขึ้นในอวัยวะรูปหลอด เช่น หลอดอาหาร ซึ่งจะช่วยบรรเทาการอุดตันและช่วยลดแรงกดที่เกิดขึ้น
  • รังสีรักษา (radiotherapy) ใช้เพื่อลดขนาดเนื้องอก รังสีรักษาชนิดพิเศษที่เรียกว่า ไอโซโทปรังสี (radioisotope therapy) สามารถใช้เพื่อควบคุมอาการปวดกระดูกได้
  • เคมีบำบัด (chemotherapy) และการรักษาแบบให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (targeted therapy) สามารถลดอาการปวดโดยยาจะไปลดขนาดก้อนมะเร็ง
  • ฮอร์โมนบำบัด (hormonal therapy) อาจใช้เพื่อรักษามะเร็งบางชนิดและช่วยในการบรรเทาอาการปวด
  • การยับยั้งการทำงานของเส้นประสารท โดยยับยั้งการส่งสัญญาณความปวดไปยังสมอง
  • การจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (radiofrequency ablation (RFA)) เป็นการใช้ความร้อนเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง บางครั้งใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดกระดูกที่เกิดจากมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่กระดูก

แพทย์หรือพยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็งจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีในการควบคุมอาการปวดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ

ยาแก้ปวดและวิธีใช้

ยาแก้ปวด (painkillers หรือ analgesics) คือยาที่ไว้ใช้สำหรับการจัดการกับอาการปวดที่เกิดขึ้น มียาแก้ปวดหลายชนิดในปัจจุบันและมีวิธีการใช้ยาหลายวิธี

โดยทั่วไปยาแก้ปวดจะรับประทานทางปากในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูล หากคุณกลืนยาลำบาก คุณอาจไดรับคำแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดชนิดน้ำ หรือชนิดเม็ดละลายในน้ำ

นอกจากนี้ยังมียาแก้ปวดแบบแผ่นแปะผิวหนัง, รูปแบบเจล, รูปแบบสเปรย์พ่นจมูก หรือรูปแบบยาเหน็บ อีกด้วย ยาแก้ปวดที่ละลายรวดเร็วในช่องปากหรือใต้ลิ้นจะออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้อาจมีการใช้ยาแก้ปวดชนิดฉีดหรือชนิดค่อยๆ หยดเข้าหลอดเลือดดำด้วย ถ้าคุณจำเป็นต้องได้รับยาแก้ปวดชนิดแรงในช่วงเวลาสั้นๆ คุณจะได้รับยาผ่านเครื่องปั๊มขนาดเล็ก ซึ่งจะปลดปล่อยขนาดยาแก้ปวดด้วยอัตราที่คงที่

ให้แจ้งแพทย์หรือพยาบาลทราบเสมอเมื่อมีอาการปวดหรืออาการปวดแย่ลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในการควบคุมอาการปวด

ยาบางชนิดแพทย์จะสั่งจ่ายพร้อมยาแก้ปวดเพื่อช่วยควบคุมอาการปวด ยาเหล่านี้จะออกฤทธิ์ด้วยกลไกที่แตกต่างกัน ตัวอย่างรายชื่อยาที่ใช้มีดังนี้:

  • Bisphosphonates เป็นยาที่ใช้เพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกที่ได้รับผลกระทบจากมะเร็งและช่วยบรรเทาอาการปวดกระดูก
  • ยาฉีด denosumab ช่วยลดอาการปวดกระดูกและความเสี่ยงของกระดูกหัก ในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูกแล้ว
  • ยาสเตียรอยด์ชนิดเม็ด ใช้เพื่อลดอาการบวมแลปวดที่มีสาเหตุมาจากก้อนมะเร็งไปกดเบียดส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
  • ยากันชัก และยาต้านซึมเศร้า ช่วยลดอาการปวดที่เกิดจากความเสียหายของเส้นประสาท
  • ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ช่วยบรรเทาอาการปวดในกรณีที่อาการปวดเกิดจากการติดเชื้อ
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อกระดูกและทำให้อาการปวดแย่ลง

คุณอาจได้รับยาอื่นสำหรับบรรเทาอาการปวดที่ไม่ได้กล่าวถึงไว้ข้างต้นก็ได้

อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่งเพื่อค้นหายาที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด แนะนำให้พูดคุยกับแพทย์หรือพยาบาลของคุณหากคุณยังมีอาการปวดอยู่ หรือมีผลข้างเคียงจากยาเกิดขึ้น

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/side-effects/pain


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The 10 most common chemotherapy side effects. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323485)
Side Effects of Cancer Treatment. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/cancer/survivors/patients/side-effects-of-treatment.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)