กรดไหลย้อน

เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน เป็นอาการที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการไหลย้อนของกรด เปปซิน (pepsin) และน้ำดีจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับมาที่หลอดอาหาร อาการเด่นของโรคคืออาการแสบร้อนยอดอก (heartburn) ผู้ป่วยอาจมีอาการกลืนลำบากร่วมด้วย ภาวะแทรกซ้อนของกรดไหลย้อน ได้แก่ หลอดอาหารตีบ การเกิดแผลบริเวณหลอดอาหาร กลไกที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกรดไหลย้อนนั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย ได้แก่ ปัญหาจากหูรูดกระเพาะอาหารส่วนบนที่ปิดไม่สนิท

อาการกรดไหลย้อน

ผู้ป่วยมักมีอาการแสบร้อนกลางอก เป็นอาการเด่น มีการเรอเปรี้ยว รู้สึกแน่น ไม่สบายท้องบริเวณท้องส่วนบน เจ็บบริเวณหน้าอก เสียงแหบ และมีอาการไอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาด้วยยา

ยาที่ใช้แนะนำให้ใช้ในการรักษาอันดับแรกสุดคือยากลุ่ม proton-pump inhibitor เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีสุด ยากลุ่มอื่น ได้แก่ ยาในกลุ่ม H2-receptor antagonist และการใช้ยาลดกรดใช้เป็นยาเสริมเพื่อบรรเทาอาการ

1. ยากลุ่ม Proton-pump inhibitor 

ตัวอย่างยา ได้แก่ โอมีพราโซล (Omeprazole)

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Desec, Duogas, Gaster, Gomec, Lomac, Losec MUPS, Mepracid, Miracid, Nocid, Ocid, Omeprazole GPO, Omeprazole March Pharma, Omezole, Omicap, Omlek, O-Sid, Prazole, Stomec, Ulpracid, Vescomecid, Zefxon

รูปแบบและส่วนประกอบของยา

โอมีพราโซล (omeprazole)เป็นยากลุ่ม ยายับยั้งการหลั่งกรด (gastric acid secretion inhibitor) ยาสำหรับรับประทานยาประกอบด้วยโอมีพราโซล 20 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เป็นโครงสร้างในกลุ่มเบนซิมิดาโซล (benzimidazole) ยับยั้งการหลั่งกรดที่รู้จักกันในชื่อกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม (proton pump inhibitor) ยาขัดขวางการหลั่งกรดในขั้นตอนสุดท้าย โดยเข้ายับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงกับเอนไซม์โปรตอน / โพแทสเซียม เอทีพีเอส (H+/K+ ATPase) ที่เป็นเอนไซม์อยู่บน parietal cell ในกระเพาะอาหาร

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษากรดไหลย้อน

ยาโอมีพราโซล ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาโรคกรดไหลย้อน (GERD) ในผู้ใหญ่ ขนาดรับประทาน 20 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และอาจรับประทานต่อเนื่องไปอีก 4 ถึง 8 สัปดาห์หากอาการยังไม่ดีขึ้น รักษาอาการหลอดอาหารอักเสบชนิดกลับมาเป็นซ้ำ ขนาดรับประทาน 40 มิลลิกรัมต่อวัน และตามด้วยขนาด 20 มิลลิกรัมต่อวันหลังจากรักษาอาการจนหายดีแล้ว รักษากรดไหลย้อน (acid reflux)  ขนาดรับประทาน 10 มิลลิกรัมต่อวัน ทุกขนาดยาต้องรับประทานวันละ 1 ครั้งก่อนอาหารเช้าเป็นเวลา 2 ถึง 4 สัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ต้องรับประทานยาทันทีก่อนอาหาร ยาในรูปแบบแคปซูล ที่มีการปลดปล่อยยาแบบ delayed-release ควรรับประทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง โดยห้ามเคี้ยวหรือบดยา  ในผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนให้ยาโอมีพราโซลโดยผสมกับน้ำที่เป็นกรด เช่น น้ำส้ม

2. ยากลุ่ม H2-receptor antagonist 

ตัวอย่างยา ได้แก่รานิทิดีน (Ranitidine)

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Acicare, Histac, Ranidine, Ratic, Ratica, Xanidine, Zantidon, Aciloc/Aciloc 300, Ranicid, Ranid, Ranin-25, Rantac 150, Rantodine, R-Loc

รูปแบบและส่วนประกอบของยา

รานิทิดีน (ranitidine)เป็นยากลุ่ม ยายับยั้งการหลั่งกรด (gastric acid secretion inhibitor) ยาสำหรับรับประทานยาประกอบด้วยรานิทิดีนขนาด 150 และ 300 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ รานิทิดีนเข้ายับยั้งการจับของฮีสตามีนที่ตัวรับ H2อย่างสมบูรณ์บริเวณ parietal cell ในกระเพาะอาหาร ซึ่งจะสามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ แต่ยาไม่มีผลต่อการหลั่งของเปปซิน การหลั่งของเพนตะแกสตริน-สติมูเลท อินทรินซิกแฟกเตอร์ (pentagastrin-stimulated intrinsic factor) และการหลั่งของแกสตริน (gastrin)

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษากรดไหลย้อน

ยารานิทิดีน ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาโรคกรดไหลย้อน (GERD) ในผู้ใหญ่ ขนาดรับประทาน 150 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง หรือขนาด 300 มิลลิกรัม ก่อนนอน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในผู้ป่วยกรดไหลย้อนรุนแรงอาจพิจารณาให้ยาขนาด 150 มิลลิกรัม วันละสี่ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไม่ควรสูบบุหรี่ในระหว่างใช้ยาเนื่องจากจะลดประสิทธิภาพของยา

3. ยากลุ่ม ยาลดกรด

ตัวอย่างยา ได้แก่ Aluminium hydroxide / Magnesium Hydroxide

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

Maalox Alum Milk SP ผลิตโดยบริษัท Sanofi-Aventis ผู้แทนจำหน่ายโดยบริษัท DKSH

รูปแบบและส่วนประกอบของยา

เป็นยากลุ่มยาลดกรด (anticid) ยาสำหรับรับประทานยาประกอบด้วยอะลูมิเนีย ไฮดรอกไซด์(aluminium hydroxide) 4.4 กรัมและแมกนีเซียม ไฮดรอกไซด์ (magnesium hydroxide) 2.4 กรัม

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ ยาเข้าสะเทินกับกรดในกระเพาะอาหาร ไม่เกี่ยวข้องกับการหลั่งกรดหรือยับยั้งการหลั่งกรด จึงใช้ยานี้เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น ไม่ใช้เป็นยาสำหรับรักษากรดไหลย้อน

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาอาการแสบร้อนกลางอก

ยามาลอกซ์ ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาอาการแสบร้อนกลางอกในผู้ใหญ่ ขนาดรับประทาน 1-2 ช้อนชา วันละสามถึงสี่ครั้ง


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
GERD (Acid Reflux): Symptoms, Causes, Treatment, Diet & More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/gerd)
Gastroesophageal reflux disease (GERD) - Symptoms and causes. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gerd/symptoms-causes/syc-20361940)
9 ways to relieve acid reflux without medication. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/digestive-health/9-ways-to-relieve-acid-reflux-without-medication)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป