เมนูอาหารสำหรับคุณแม่ที่ยังอยู่ในช่วงให้นมลูก

หลักการกินอาหารที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำนมที่มีคุณค่าแก่ลูกน้อย ทั้งสิ่งที่ควรกินและไม่ควร
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เมนูอาหารสำหรับคุณแม่ที่ยังอยู่ในช่วงให้นมลูก

อาหารที่คุณแม่ทานเข้าไปในช่วงเวลาที่ยังให้นมลูก เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มีปริมาณน้ำนมมากพอหรือไม่ที่จะเลี้ยงลูก ในขณะเดียวกันที่คุณภาพของน้ำนมก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพของตัวคุณแม่เองในขณะนั้นและการดูแลตัวเองในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นอาหารที่คุณแม่จะทานเข้าไปในแต่ละมื้อในแต่ละวันจึงควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

ช่วงให้นมลูกควรกินอาหารแบบไหน?

ความจริงแล้วคุณแม่ที่ให้นมลูกนั้นสามารถทานอาหารได้ตามที่ต้องการ แต่อาจจะต้องเลือกและจำกัดปริมาณอาหารบางชนิด รวมถึงยังมีอีกหลายเมนูที่ไม่ควรทาน (ขึ้นอยู่กับความเชื่อและขนบธรรมเนียมของแต่ละครอบครัว) เช่น คนจีนบางครอบครัวก็อาจจะมีความเชื่อว่า อาหารประเภทหน่อไม้, ปลาทู, แตงกวา, แตงล้าน (ผักหรือผลไม้ที่มียาง) เป็นต้น คุณแม่ที่ยังอยู่ในช่วงที่ต้องให้นมลูกไม่ควรทาน และหากต้องการให้มีน้ำนมเยอะ ให้เลือกทานปลาที่มีเกล็ดใหญ่ เป็นต้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและขนบธรรมเนียมของแต่ละครอบครัวกันไป ดังนั้นเราสามารถใช้หลักทั่วๆ ไปเพื่อดูว่าเมนูไหนควรจะทานในช่วงนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
แนะนำคุณแม่มือใหม่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 297 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ข้อแนะนำในการกินอาหารช่วงให้นมลูก

  • ควรเพิ่มปริมาณอาหารต่อวันมากขึ้น อย่างน้อยวันละ 500 แคลอรี่ ทั้งนี้อาจปรับเพิ่มได้ตามน้ำหนักตัว เพราะการให้น้ำนมกับลูกนั้น ร่างกายต้องเสียพลังงานไปพอสมควร เพื่อให้ร่างกายของแม่แข็งแรงพอจึงควรทานอาหารที่ให้พลังงานเพิ่มเติมกว่าปกติ
  • เน้นทานเมนูอาหารที่ให้แคลเซียม ควรจะได้รับแคลเซียมทุกมื้ออาหาร
  • เพิ่มโปรตีนต่อวันเป็น 12-14 ช้อนกินข้าวต่อวัน
  • ทานผลไม้ 5-6 ส่วนต่อวัน (1 ส่วนของผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า 1 ผล เงาะ 3-4 ผล มังคุด 3-4 ผล ฝรั่งกิมจู ½ ผล เป็นต้น) 
  • ดื่มน้ำให้ได้ 8 แก้วเป็นอย่างน้อย ลดการดื่มชา กาแฟ (ถ้างดได้จะดีมาก)
  • ทานขนมขบเคี้ยวได้บ้าง แต่ไม่ควรทานมากเกินไป
  • อาหารที่ช่วยเพิ่มน้ำนม ได้แก่

นอกจากนั้น การจะรับประทานยาหรือทายาใดๆ ก็ตาม ควรที่จะปรึกษาคุณหมอก่อน เพราะส่วนผสมบางอย่างในยาบางชนิดจะมีผลข้างเคียง และมีผลในน้ำนมแม่ที่ลูกดื่มได้


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ฝ่ายโภชนาการ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โภชนาการหญิงให้นมบุตร (http://www.si.mahidol.ac.th/si...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)