โรคหอบหืดนั้นถือเป็นภาวะทางการแพทย์รุนแรงเป็นอันดับหนึ่งในการก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อน และปัญหาในการตั้งครรภ์ การดูแลรักษา และควบคุมโรคอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อสุขภาพของคุณและลูกน้อย
รู้จักโรคหอบหืด
หอบหืดเป็นภาวะทางการแพทย์รุนแรงที่จะทำให้การตั้งครรภ์เกิดภาวะแทรกซ้อน และปัญหาได้มากมาย จากข้อมูลในปัจจุบัน โรคหอบหืดมีผลกระทบต่อประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงในปีแรกของการคลอดบุตร ผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ควบคุมโรคได้ดีนั้นจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สำคัญต่อมารดา หรือทารกในครรภ์ แต่ในทางกลับกัน โรคหอบหืดที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่อมารดาได้ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะโลหิตเป็นพิษ การคลอดก่อนกำหนด และไม่กี่กรณีที่จะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคหอบหืดที่ไม่สามารถควบคุมได้นั้นได้แก่ ความเสี่ยงต่อภาวะทารกตายคลอด (stillbirth) อาจมีการคลอดก่อนกำหนด การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้าลง น้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำ และทำให้คะแนนการประเมินสภาวะเด็กทารกแรกเกิด (APGAR score) มีค่าต่ำ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โรคหอบหืดสามารถควบคุมได้โดยการดูแลรักษาทางการแพทย์อย่างเหมาะสม มีวินัย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งกระตุ้นให้เกิดหอบหืดกำเริบ ดังนั้น โรคหอบหืดจึงไม่ใช่เหตุผลในการหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ การดูแลรักษาโรคหอบหืดส่วนใหญ่ที่ใช้ในการควบคุมโรคนั้นไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ที่กำลังเติบโต และไม่ได้มีหลักฐานใดๆว่าการดูแลรักษาเหล่านั้นทำให้เกิดการแท้งบุตร หรือการคลอดก่อนกำหนด
แม้ว่าเราจะไม่สามารถรับประกันผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ใด ๆ ได้อย่างชัดเจน แต่ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืด และโรคภูมิแพ้นั้นจะได้รับการดูแลรักษาทางการแพทย์อย่างเหมาะสมโดยแพทย์ที่ชำนาญกับอาการ และการเปลี่ยนแปลงต่างๆของร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์
อาการต่างๆของโรคหอบหืด
โรคหอบหืดเป็นภาวะที่มีการอุดตันในทางเดินหายใจของปอดซึ่งเกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยรอบ มีการสะสมของสารมูก และเกิดการบวมของผนังทางเดินหายใจเนื่องจากเซลล์อักเสบที่สะสมอยู่ในบริเวณรอบๆ ไม่เหมือนกับคนที่เป็นโรคถุงลมโป่งพองซึ่งมีการทำลายเซลล์ปอดอย่างถาวร แต่ร่างกายผู้ป่วยโรคหืดมักจะมีฟื้นฟูกลับมาได้ด้วยการรักษาที่เหมาะสม
ผู้ป่วยโรคหอบหืดมักอธิบายถึงสิ่งที่พวกเขารู้สึกว่า “แน่นหน้าอก” พวกเขายังอธิบายถึงการหายใจถี่, หายใจมีเสียงวี้ด, อาการเจ็บหน้าอก และไอบ่อย อาการของโรคหอบหืดสามารถถูกกระตุ้นโดยสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ ขนและรังแคสัตว์ เชื้อรา ไรฝุ่นและแมลงสาบ รวมถึง ปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ การออกกำลังกาย การติดเชื้อ และความเครียด
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรคหอบหืด
เมื่อผู้หญิงที่เป็นโรคหอบหืดตั้งครรภ์ หนึ่งในสามของผู้ป่วยอาการจะดีขึ้น หนึ่งในสามจะอาการเลวร้ายลง และอีกหนึ่งในสามอาการจะคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แม้ว่าผลการศึกษาจะแตกต่างกันไปแต่ละสถานที่ หลายๆการศึกษาได้รายงานถึงผลกระทบโดยรวมของการตั้งครรภ์เมื่อมีอาการหอบหืดไปในทิศทางเดียวกัน ดังนี้
- ผู้หญิงที่เป็นโรคหอบหืดรุนแรงอยู่แล้วนั้น มีแนวโน้มที่จะอาการรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ผู้ที่มีโรคหอบหืดเพียงเล็กน้อย มีแนวโน้มที่จะอาการจะดีขึ้น หรือยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
- การเปลี่ยนแปลงในโรคหอบหืดในสตรีแต่ละรายในระหว่างตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะเกิดแนวโน้มซ้ำที่คล้ายคลึงกันในการตั้งครรภ์ครั้งต่อๆไป
- อาการหอบหืดกำเริบมีแนวโน้มที่จะปรากฏในช่วงสัปดาห์ที่ 24 ถึง 36 ของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ป่วยบางส่วนไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์จะที่มีอาการกำเริบในระหว่างช่วงการคลอด
- การเปลี่ยนแปลงของโรคหอบหืดระหว่างตั้งครรภ์มักจะกลับสู่สภาวะปกติก่อนตั้งครรภ์ภายในสามเดือนหลังจากคลอดบุตร
การตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อผู้ป่วยโรคหืดได้หลาย ๆ ทาง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ อาจส่งผลต่อทั้งเนื้อเยื่อจมูก ไซนัส และปอด การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนจะช่วยเพิ่มความแน่นของเส้นเลือดฝอย ซึ่งเป็นเส้นเลือดเล็ก ๆ ในเยื่อบุจมูก และจะทำให้เกิดการคัดจมูกในระหว่างการตั้งครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่สาม นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้การหายใจต้องใช้แรงมากขึ้น ทำให้หายใจถี่มากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนนี้ เหตุการณ์เหล่านี้อาจสับสนกับโรคภูมิแพ้ หรือเกิดมาจากสิ่งกระตุ้นโรคภูมิแพ้ก็เป็นได้ เครื่อง Spirometry และเครื่องวัดสมรรถภาพปอด (peak flow) คือการตรวจวัดการอุดตันของการไหลของอากาศจากระบบทางเดินหายใจของคุณที่ช่วยให้แพทย์ของคุณตรวจสอบว่าโรคหอบหืดเป็นสาเหตุของการหายใจถี่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โรคหอบหืดเป็นโรคที่มีความรุนแรงของแตกต่างกันในแต่ละวัน แต่ละเดือน หรือแต่ละฤดูแม้ว่าจะไม่มีการตั้งครรภ์ก็ตาม ดังนั้น ควรเลือกแผนการรักษาที่เหมาะสมจากทั้งจากความรุนแรงของโรคหอบหืด และผลข้างเคียงของยาต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ โปรดจำไว้เสมอว่าการใช้ยานั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะสามารถสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองได้อย่างสบายใจเสมอไป เนื่องจากการหลีกเลี่ยงสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่ดีกว่า และอาจลดความต้องการในการใช้ยา และลดผลข้างเคียงจากยาได้
โดยทั่วไป ยาโรคหอบหืดที่ใช้ในช่วงตั้งครรภ์จะได้ถูกเลือกใช้ตามหลักการดังต่อไปนี้:
- ยาชนิดสูดดมจะถูกเลือกใช้เป็นประจำ เนื่องจากมีผลกระทบเฉพาะที่ และมีเพียงตัวยาเพียงจำนวนน้อยมากที่เข้าสู่กระแสเลือด
- เมื่อภาวะโรคเหมาะสม ยาที่เคยใช้มานานและผ่านการทดสอบแล้วนั้นจะถูกเลือกใช้ เนื่องจากผู้ป่วยมีประสบการณ์มากขึ้นในการใช้ยานี้มาก่อนแล้ว
- ใช้ยาในปริมาณน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากเมื่อตัวอ่อนกำลังก่อตัวเป็นทารกในครรภ์ ความบกพร่องของทารกซึ่งเกิดจากการใช้ยาเป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก ๆ ประมาณไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของความบกพร่องทารกแรกคลอดทั้งหมดนั้นเป็นผลมาจากยาที่ใช้รักษาโรคต่างๆ
- โดยทั่วไป ยาชนิดเดียวกันที่ใช้ในระหว่างตั้งครรภ์จะถูกในช่วงระหว่างการคลอด และการพยาบาลต่อจากนั้นด้วย
การดูแลรักษาโรคหอบหืดช่วงตั้งครรภ์ กลุ่มยาขยายหลอดลม (Bronchodilators)
กลุ่มยาพ่นหอบชนิดออกฤทธิ์เร็ว (short-acting inhaled beta2-agonists) ซึ่งมักเรียกว่า "ยาบรรเทาอาการ" หรือ "ยาพ่น" ใช้เพื่อควบคุมอาการเฉียบพลัน ยา Albuterol นั้นมักถูกใช้ในระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากมีหลักฐานข้อมูลความปลอดภัยของการใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์ของมนุษย์
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มยาพ่นหอบชนิดออกฤทธิ์นานอีก 2 ตัว คือ salmeterol และ formoterol ที่สามารถสั่งจ่ายโดยแพทย์เฉพาะทางได้ แม้ว่ายังไม่มีการศึกษาทดลองขนาดใหญ่ของยาเหล่านี้ในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่เนื่องจากเหตุผลหลายประการทั้งการได้รับด้วยการสูดดม โครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกับ albuterol และข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการออกฤทธิ์ของยา จึงมีการแนะนำให้ใช้กลุ่มยาพ่นหอบชนิดออกฤทธิ์นานในระหว่างตั้งครรภ์สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ด้วยยาสเตียรอยด์ชนิดสูดดมเพียงอย่างเดียว
ส่วนยา Theophylline นั้นถูกใช้มาอย่างยาวนาน โดยไม่มีหลักฐานว่าก่อให้เกิดภาวะผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญในมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ทารกแรกเกิดสามารถดูกระวนกระวาย มีการอาเจียน และชีพจรเต้นเร็วขึ้นได้หากระดับของยานี้ในเลือดของมารดามีค่าสูงเกินไป ดังนั้นผู้ป่วยที่ได้รับยา theophylline จึงจะได้รับการตรวจเลือดในระหว่างตั้งครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
Ipratropium ซึ่งเป็นยากลุ่มขยายหลอดลมชนิดหนึ่งที่รับการรายงานว่าไม่ก่อให้เกิดปัญหาในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเผยแพร่การศึกษาในมนุษย์ ซึ่งยา Ipratropium นั้นถูกดูดซึมน้อยกว่ายาที่คล้ายคลึงกันในกลุ่มยากลุ่มเดียวกันนี้ เช่น ยา atropine
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
กลุ่มยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory medication)
ยาต้านการอักเสบจัดเป็นยาป้องกันหรือ “ตัวควบคุมโรคหอบหืด" ซึ่งจะรวมไปถึง ยา cromolyn ยาสเตียรอยด์ และยา leukotriene เป็นต้น ในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยายาพ่นหอบบ่อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง หรือตรวจแล้วสมรรถภาพของปอดจากเครื่องศึกษาการทำงานของปอดมีค่าลดลงนั้นมักต้องใช้กลุ่มยาต้านอาการอักเสบด้วยทุกวัน กลุ่มยาโซเดียมโครเมียมชนิดสูดดมไม่มีผลข้างเคียง แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า corticosteroids ที่สูดดม
ยา Budesonide มักถูกแนะนำให้ใช้เป็นยาอันดับแรกจากกลุ่มยาสเตียรอยด์ชนิดสูดดมสำหรับการใช้งานในผู้ป่วยโรคหอบหืดที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากตัวยามีข้อมูลชัดเจนเรื่องความปลอดภัยระหว่างการตั้งครรภ์ของมนุษย์เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามการใช้กลุ่มยาสเตียรอยด์ชนิดสูดดมอื่น ๆ เช่น ยา beclomethasone, ยา fluticasone, ยา flunisolide, ยา mometasome และยา triamcinolone นั้นยังไม่มีหลักฐานที่มีนัยสำคัญว่าไม่ปลอดภัยสำหรับการใช้ระหว่างตั้งครรภ์ และสามารถจะใช้ได้ต่อเนื่องในผู้ป่วยที่ตอบสนองกับยาเป็นอย่างดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์
ในบางกรณี กลุ่มยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน หรือชนิดฉีด เช่น prednisolone หรือ methyprednisolone อาจจำเป็นต้องใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 2-3 วันสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดกำเริบรุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ หรือตลอดการตั้งครรภ์ในผู้ที่มีอาการหอบหืดอย่างรุนแรง มีบางการศึกษาแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของอุบัติการณ์ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะคลอดก่อนกำหนดหรือทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกับการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตาม กลุ่มยาสเตียรอยด์นี้จัดเป็นยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคหอบหืดรุนแรง และโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ ดังนั้น ความเสี่ยงที่มีโอกาสเล็กน้อยดังกล่าวจึงเทียบไม่ได้เลยกับคุณประโยชน์อันมหาศาลของกลุ่มยานี้
กลุ่มยา leukotriene สามตัว ได้แก่ ยา montelukast, ยา zafirlukast และยา zileuton ก็เป็นทางเลือกในการรักษาเช่นกัน ผลของการศึกษาจากสัตว์ทดลองช่วยสร้างความมั่นใจเรื่องการออกฤทธิ์ของยา montelukast และ ยา zafirlukast แต่มีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยากลุ่มนี้ระหว่างตั้งครรภ์ของมนุษย์ด้วยยาต้านการอักเสบชนิดใหม่นี้อยู่จำนวนน้อยมาก
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ (Fetal monitoring)
สำหรับสตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคหอบหืด ประเภทและความถี่ของการประเมินสภาวะทารกในครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของมารดา การทำอัลตราซาวด์สามารถทำได้ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หากมีความกังวลเกี่ยวกับความแม่นยำของวันครบกำหนดคลอดโดยประมาณ และสามารถทำอัลตราซาวด์ซ้ำได้ในภายหลังหากสงสัยว่าการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ช้ากว่าปกติ ส่วนการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบอิเล็กทรอนิกส์ และการตรวจอัลตราโซนิคในครรภ์ไตรมาสที่ 3 ก็สามารถใช้ในการประเมินทารกในครรภ์ได้เช่นกัน สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดที่มีอาการหอบหืดในช่วงไตรมาสที่ 3 นั้น ความถี่ในการประเมินทารกในครรภ์ควรเพิ่มขึ้นหากอาการเหล่านั้นอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อทารก ผู้ป่วยโรคหอบหืดควรบันทึกกิจกรรมของทารกในครรภ์หรือการเตะท้องของทารกทุกวันเพื่อช่วยในการตรวจสุขภาพของบุตรสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์
ในช่วงที่มีอาการหอบหืดกำเริบรุนแรง และอาการไม่ดีขึ้นในเวลาอันสั้นนั้นจะทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนของมารดา (maternal hypoxemia) ภาวะนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยอาจจำเป็นต้องทำการตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆกับการวัดการทำงานของปอดของมารดา
โชคดีที่ในระหว่างการคลอด ผู้ป่วยโรคหอบหืดส่วนใหญ่สามารถจะคลอดบุตรได้ปกติและทำได้ดี ไม่ต่างกับคนทั่วไป อย่างไรก็ตาม การตรวจครรภ์อย่างเหมาะสมก็ยังเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำนั่นคือโรคหอบหืดได้รับการควบคุมอย่างดี การประเมินทารกในครรภ์สามารถทำได้โดยการตรวจทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลา 20 นาที การตรวจเฝ้าระวังสุขภาพทารกในครรภ์อย่างละเอียด และเข้มข้นนั้นจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเตรียมคลอดที่มีอาการหอบหืดอย่างรุนแรง หรือผลการตรวจตรวจทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถแปลผลได้ หรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา
คำถามที่มักพบบ่อย
ยาทุกตัวที่ฉันใช้สำหรับรักษาโรคหอบหืดของฉันสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกน้อยของฉันหรือไม่?
ยาส่วนใหญ่ที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืดนั้นค่อนข้างมีความปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ได้รับยาดังกล่าวเป็นหลายปีและไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่การศึกษาที่จะพิสูจน์ความปลอดภัยของยาในสตรีที่มีครรภ์นั้นเป็นเรื่องยากมาก
การที่เราไม่สามารถพิสูจน์ความปลอดภัยของยาที่ใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น ฉันควรหยุดใช้ยาโรคหอบหืดของฉันทันทีที่ฉันค้นพบว่าฉันตั้งครรภ์หรือไม่?
ไม่เด็ดขาด อาการหอบหืดกำเริบในระดับปานกลางจนถึงอาการที่รุนแรงนั้นเป็นความเสี่ยงต่อทั้งสุขภาพคุณและสุขภาพลูกน้อยในครรภ์ ความเสี่ยงในการหยุดยาของคุณมากเกินกว่าความเสี่ยงใด ๆ ที่อาจเกิดกับลูกน้อยของคุณ ดังนั้นอย่าหยุดยาหอบหืดที่ใช้อยู่ประจำ ยกเว้นแต่แพทย์จะเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่น หรือสั่งให้หยุดใช้
มีตัวยาทางเลือกอื่นๆ ที่ใช้สำหรับโรคไข้ละอองฟาง หรืออาการแพ้อื่น ๆ หรือไม่?
อาจจะมีในผู้ป่วยบางราย อย่างไรก็ตาม บางการศึกษาได้รายงานถึงความสัมพันธ์ของความผิดปกติแต่กำเนิดเล็กน้อยของทารกบางชนิด กับการใช้ยาแก้แพ้ และยาบรรเทาอาการคัดจมูกบางตัว แต่ผลการศึกษาที่ได้จากหลาย ๆ การศึกษานั้นไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น คุณควรปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนที่จะทานยาแก้แพ้ หรือยาบรรเทาอาการคัดจมูกแม้ว่ายาเหล่านั้นจะมีขายตามร้านขายยาโดยทั่วไป
หากฉันเกิดหายใจติดขัด หรือหายใจไม่ออกขึ้นมา แพทย์จะทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยของฉันนั้นได้รับออกซิเจนเพียงพอหรือไม่?
มีการตรวจทดสอบหลายอย่างที่สามารถประเมินสภาวะการหายใจของมารดาได้อย่างแม่นยำ เช่น การตรวจสมรรถภาพปอด (spirometry) การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial Bleed Gas analysis; ABG) รวมไปถึงการวัดออกซิเจนในเลือดและชีพจร (Pulse oximetry) เครื่องตรวจสมรรถภาพปอดนั้นจะวัดการไหลของอากาศที่เข้าไปในปอด การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในหลอดเลือดแดงจะถูกทำในโรงพยาบาลเพื่อวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด ส่วนการวัดออกซิเจนในเลือดและชีพจรเป็นวิธีการประเมินปริมาณออกซิเจนในเลือดโดยไม่จะเป็นต้องเจาะเลือด การตรวจทดสอบทั้งสามแบบนั้นให้ผลตรวจไวมาก แทบจะในทันที
ยาใดบ้างที่ควรหลีกเลี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์?
หากคุณไม่ได้มีภาวะการเจ็บป่วยที่คุกคามถึงชีวิตที่ต้องการยาเฉพาะ ควรหลีกเลี่ยงยาต่อไปนี้ในระหว่างตลอดการตั้งครรภ์ หรือในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ หรือช่วงใกล้คลอด:
- กลุ่มยา Sulfonamides (ยาซัลฟา) มีความปลอดภัยในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ แต่การใช้ยาในช่วง 3 เดือนใกล้คลอดอาจส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมามีภาวะตัวเหลือง (jaundiced infant)
- กลุ่มยา Tetracyclines ซึ่งอาจทำให้เกิดความพิการ และความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกและฟัน
หอบหืดจะมีผลต่อการตั้งครรภ์และลูกน้อยหรือไม่?
หากไม่สามารถควบคุมโรคได้ดีเพียงพอ ภาวะหอบหืดกำเริบรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม หากโรคดังกล่าวได้รับการควบคุมอย่างดี ก็มักไม่ส่งผลเสียต่อคุณหรือลูกน้อยของคุณแต่อย่างใด
โรคหอบหืดที่รุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้นั้นมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไร?
ทารกในครรภ์จะเจริญเติบโต และพัฒนาได้ดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณออกซิเจนที่มารดาส่งมาให้เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและการอยู่รอด ออกซิเจนที่ละลายในเลือดของมารดาจะถูกถ่ายโอนผ่านรกไปยังทารกในครรภ์ โรคหอบหืดรุนแรงที่ไม่สามารถควบคุมได้นั้นจะลดปริมาณออกซิเจนของมารดา ส่งผลให้ไปลดปริมาณออกซิเจนที่ส่งต่อให้กับทารกในครรภ์ที่กำลังพัฒนา ซึ่งอาจส่งผลให้การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ลดลง และอาจมีผลลามไปถึงการอยู่รอดของทารกในครรภ์
ภาวะหอบหืดของฉันจะแย่ลงในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่? มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นระหว่างการคลอดหรือไม่?
อาการหอบหืดของคุณอาจแย่ลง คงที่ หรืออาจจะดีขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ก็ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำในการตั้งครรภ์ครั้งแรก แต่โรคหอบหืดก็มักเป็นไปตามแบบแผนนั้นในครรภ์ต่อๆมา เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นยังไม่มีทฤษฎีอธิบายได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม โรคหอบหืดมักจะดีขึ้นในระหว่างการคลอด ถึงแม้จะมีอาการหอบหืดกำเริบเกิดขึ้นระหว่างคลอดก็มีการจัดการทางการแพทย์ที่เหมาะสมเตรียมไว้ และภาวะแทรกซ้อนก็เกิดขึ้นได้ยาก
สามารถใช้ยารักษาโรคหอบหืดได้อย่างปลอดภัยในระหว่างตั้งครรภ์หรือไม่?
แม้ว่ายาทุกตัวที่ใช้ในการรักษาโรคหอบหืด ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าปลอดภัยอย่างแท้จริงหรือไม่สำหรับการใช้งานในระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์ของคุณจะสั่งใช้ยาอย่างระมัดระวังเพื่อควบคุมอาการหอบหืดของคุณ แผนการรักษาของคุณจะถูกปรับเปลี่ยนให้แตกต่างกันเป็นเฉพาะรายบุคคลไป เพื่อให้ได้รับประโยชน์ของยามากที่สุด และมีคุณค่ามากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากยาดังกล่าว หรืออาการหอบหืดที่ไม่สามารถควบคุมได้
ที่มา http://acaai.org/asthma/who-ha...