ความเจ็บปวด (Pain)

ความเจ็บปวด มักเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติในร่างกาย โดยทั่วไปสามารถรักษาด้วยตัวเองได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นแบบฉับพลันและรุนแรง อาจเกิดจากภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์บางชนิด
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความเจ็บปวด (Pain)

ความเจ็บปวด เป็นคำที่ใช้อธิบายถึงความรู้สึกไม่สบายในร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากการกระตุ้นของระบบประสาท ความเจ็บปวดอาจมีได้หลายระดับตั้งแต่ปวดตุบ ปวดจี๊ด ปวดแสบปวดร้อน หรือปวดบิดที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม สามารถเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นๆ หายๆ โดยบุคคลจะมีการตอบสนองต่อความเจ็บปวดต่างกัน บางคนมีความอดทนสูง บางคนมีความอดทนต่ำ ด้วยเหตุนี้ความเจ็บปวดจึงเป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคลอย่างมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แม้ความเจ็บปวดจะทำให้รู้สึกอึดอัดและทำให้รู้สึกไม่สบาย แต่ก็เป็นกลไกที่ดีอย่างหนึ่งของร่างกาย เพราะเป็นสัญญาณเตือนเมื่อมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นและบอกใบ้เกี่ยวกับสาเหตุความผิดปกติเหล่านั้น ความเจ็บปวดบางประเภทอาจง่ายต่อการวินิจฉัยและสามารถจัดการดูแลได้ด้วยตนเองที่บ้าน แต่ความเจ็บปวดบางประเภทก็อาจบ่งบอกถึงสภาวะที่ร้ายแรงที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน

สาเหตุของอาการปวด

สาเหตุของอาการปวดที่พบบ่อย ได้แก่

มีความผิดปกติทางการแพทย์หลายอย่าง เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome (IBS)) และปัญหาของระบบสืบพันธุ์บางชนิด ที่ทำให้เกิดอาการปวดขึ้น ซึ่งบางคนอาจมีอาการอื่นร่วมกับความเจ็บปวดด้วย เช่น

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

หากมีอาการเจ็บปวดดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • ความเจ็บปวดจากการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ และมีอาการเลือดออกอย่างหนัก ติดเชื้อ กระดูกหัก หรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะร่วมอยู่ด้วย
  • ความเจ็บปวดเกิดขึ้นฉับพลันและรุนแรง เช่น ไส้ติ่งแตก (Ruptured Appendix)
  • ความเจ็บปวดเกิดที่ขึ้นบริเวณหน้าอก อาการนี้อาจบ่งบอกถึงโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเนื่องจากขาดเลือด
  • ความเจ็บปวดรบกวนชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้นอนไม่หลับ หรือทำงานไม่ได้

การรักษาความเจ็บปวด

อาการปวดเฉียบพลัน จะหายไปเองเมื่อรักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวด แต่สำหรับความเจ็บปวดที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ อาจจะต้องรอจนกว่าเนื้อเยื่อซ่อมแซมตัวเองเกือบเสร็จ อาการปวดจึงจะค่อยๆ จางหายไป ซึ่งอาจต้องใช้การรักษาอื่นร่วมด้วย เช่น การรับประทานยา การผ่าตัด หรือการรักษาอื่นๆ ส่วนอาการปวดเรื้อรังจะรักษาได้ยากกว่า โดยเฉพาะหากไม่ทราบสาเหตุของอาการปวดที่ชัดเจน

ทางเลือกที่แพทย์นิยมใช้รักษาอาการปวด ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ยาแก้ปวดที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป เช่น แอสไพรินและไอบูโพรเฟน
  • ยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง
  • การทำกายภาพบำบัด
  • การผ่าตัด
  • การฝังเข็ม
  • การบีบนวด
  • โยคะ
  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
  • แผ่นความร้อนหรืออ่างความร้อน
  • การประคบเย็น
  • การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  • สมาธิบำบัด (Guided imaginary)
  • การฝึกไบโอฟีดแบ็ค (Biofeedback)

สำหรับความเจ็บปวดเล็กน้อยที่ไม่ต้องเข้าพบแพทย์ ให้ปฏิบัติตามหลักการสี่ประการของ RICE

  • R = Rest การพักผ่อน
  • I = Ice การประคบเย็น
  • C = Compression การบีบกด
  • E = Elevation การยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูง

ที่มาของข้อมูล

Amber Erickson Gabbey, What Causes Pain? (https://www.healthline.com/symptom/pain), August 26, 2013.


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)